MAMATA_nurturing nature in your child
  • Home
  • Course
    • Waldorf-Inspired Parent & Child Playgroup
  • Store
  • About
    • MaMaTa Family Playgroup
    • MaMaTa Family Workshop
    • MaMaTa Family Trip
    • MaMaTa Family Store
    • MaMaTa Family Bookstore
    • MaMaTa Family Space
  • Contact
    • Map
  • Sharing / Articles
  • Photo Gallery
  • Publicity
  • ของเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กๆใน
  • Children Songs
  • Stockmar Modelling Beeswax
  • Children Drawing
  • Blog

การให้ลูกๆมีส่วนร่วมในงานบ้าน – การพัฒนาพลังเจตจำนงค์ ( Involving Children in Household Chores , Developing Will )

29/11/2021

0 Comments

 
             อะไรเอ่ย? ตอนลูกเป็นเด็กเล็กอยากทำ พ่อแม่ไม่ยอมให้ทำ พอโตขึ้น ลูกไม่อยากทำ แต่พ่อแม่กลับอยากให้ทำ พอลูกไม่ทำก็บ่นว่า หนักเข้ารำคาญเสียงตัวเอง ก็ลงมือทำแทนลูกเสียหมด (หรือไม่ก็ยกให้แม่บ้านทำ) พอโตเป็นวัยรุ่น จะเป็นเช่นไร คงไม่ต้องเดาให้ปวดร้าวหัวใจ

            ใช่แล้วค่ะ แม่ตากำลังพูดถึง "งานบ้าน" ของขมของหลายบ้าน เวลาพ่อแม่มาปรึกษาแม่ตาเกี่ยวกับความท้าทายของลูกวัยผลัดฟันน้ำนม สู่วัยฟันแท้ แม่ตามักจะมีคำถามห้อยท้ายว่า "งานบ้านหรืองานประจำของลูก คืออะไร?"
90% ตอบว่าไม่มี ที่บอกมี บางคนพอถามลึกลงไปพบว่าเป็นงานดูแลตัวเอง กินข้าวเสร็จ ล้างจานตัวเองเป็นต้น แม่ตาจะบอกว่า งานดูแลรับผิดชอบข้าวของตัวเองคือสิ่งที่เขาต้องทำได้ภายในราว 6 ขวบ แต่งานบ้านคืองานที่รับผิดชอบส่วนรวมที่อยู่ร่วมกัน และ ที่สำคัญต้องทำทุกวัน พ่อแม่อย่างเราช่วยได้คือ ช่วยจัดงานที่เหมาะสมกับวัย ช่วยจัดเวลาเคลียร์เรื่องอื่นออกไป ให้ลูกได้ทำงานประจำของเขาได้สำเร็จทุกวัน
               
      ตอนนี้ที่บ้านสำราญ แม่ตากับครอบครัวเพลย์กรุ๊ปกลุ่มหนึ่งที่ตั้งใจจัดการศึกษาให้ลูก เป็นครอบครัวบ้านเรียน หรือ โฮมสคูล กำลังช่วยกันบุกเบิก Hybrid Homeschool เด็กๆในวัย 6-7 ขวบมาทำกิจกรรมร่วมกัน สัปดาห์ละ 2 วัน เราตั้งชื่อกลุ่มเล็กๆของเราว่า #บ้านเรียนสำราญ เรากำลังเตรียมตัวพาเด็กๆของพวกเราขึ้นชั้นประถม 1 นอกจากเตรียมเด็กๆแล้ว พ่อแม่ก็เตรียมพร้อมเช่นกัน เรื่องงานบ้าน เป็นเรื่องที่แม่ตายกขึ้นมาเป็นเรื่องต้นๆ นำบทความภาษาอังกฤษ และ หนังสือ มาแปล เพื่อทำ Study Group ด้วยกัน
​
               แม่ตาได้แปลบทความเรื่อง Involving Children in Household Chores , Developing Will เขียนโดย Barbara Klocek คุณแม่และครูและนักศิลปะบำบัดชาวอเมริกัน และแบ่งปันให้คุณพ่อคุณแม่ในกลุ่ม บ้านเรียนสำราญ  ได้ศึกษากัน คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับพ่อแม่ท่านอื่นๆ จึงนำมาแบ่งปัน 



(บทแปลภาษาไทย โดย แม่ตา วรณัน โทณะวณิก จากบทความเรื่อง Involving Children in Household Chores , Developing Will เขียนโดย Barbara Klocek  ตีพิมพ์ในวารสาร Renewal, A Journal for Waldorf Education, Vol 11 #2, Fall/Winter 2002)
​
​          พ่อแม่มือใหม่ทั้งหลาย  ต่างได้รับความท้าทายให้ค้นหาความอดทนและความตั้งใจในการทำงานประจำวันที่กินเวลา ทั้งป้อนอาหารและดูแลเอาใจใส่ทารกน้อยที่เพิ่งเกิดใหม่  แม้ว่านี่เป็นโอกาสสำหรับการเปลี่ยนผ่านของดวงจิต ในขณะที่พ่อแม่เรียนรู้ที่จะให้โดยอิสระ ทั้งเวลาและพลังงานของพวกเขาเอง ที่สุดแล้วนั่นคือความรักที่พ่อแม่มอบให้แก่ลูกของตน ซึ่งนำมาทั้งความหมายและความเบิกบานต่องานทั้งหลายเหล่านี้ที่ต้องทำซ้ำๆและไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด
 
        อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เด็กๆเติบโตและมีความสามารถมากขึ้นที่จะดูแลตัวเองและสิ่งแวดล้อมของพวกเขาได้แล้ว  งานทั้งหลายที่พ่อแม่ยังคงทำอยู่ต่อเนื่อง ก็สามารถนำไปสู่ความคับข้องใจของพ่อแม่เองได้ สิ่งนี้เกิดขึ้นจริง หากพ่อแม่ทั้งหลายกำลังดูราวกับว่าจะต้องเป็นคนที่ทำงานทั้งหมด และลูกๆก็กำลังจะถูกทำให้เสียนิสัย มันเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กๆและสำหรับพ่อแม่ ซึ่งต่างก็โตมากพอที่จะทำงานร่วมกันในการดูแลเอาใจใส่บ้าน
Picture
     
              เมื่อลูกชายทั้งสามคนของฉันซึ่งมีอายุ 4 , 6 และ 8 ขวบ  ตอนนั้นฉันได้ออกเดินทางครั้งแรกซึ่งเป็นระยะทางไกลจากครอบครัวของฉัน ประสบการณ์ของการอยู่ห่างจากบ้านก็ทำให้ฉันตระหนักว่าฉันกำลังบริหารคันทรี่คลับ  สำหรับลูกๆของฉันโดยการพยายามที่จะทำงานบ้านทุกอย่างด้วยตัวของฉันเอง ฉันสัมผัสได้ว่ามีความขุ่นเคืองที่มันมากขึ้นๆเรื่อยๆในตัวฉันและมันจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลง
               
                 หนึ่งในงานหลักสำหรับเด็กผู้ชายที่คล่องแคล่วว่องไวและเต็มไปด้วยจินตนาการทั้งสามคนก็คือ การพยายามที่จะทำให้บ้านเรียบร้อย  ฉันต้องการให้พวกพวกเขาสนุกสนานกับการเล่น แต่ฉันก็ต้องการให้พวกเขามีส่วนร่วมในการทำความสะอาดสิ่งต่างๆด้วย อย่างไรก็ตามลูกๆได้ต่อต้านคำร้องขอของฉัน ที่จะให้เก็บข้าวของเหล่านั้น และถ้าฉันยืนยัน เริ่มที่จะจู้จี้ ในไม่ช้าอารมณ์ของทุกคนก็จะแปรปรวน การข่มขู่การตักเตือน บอกถึงผลกระทบที่จะตามมา ก็ดูเหมือนว่าจะให้ผลเพียงเล็กน้อยฉันต้องคิดหาหนทางสำหรับพวกเราที่จะต้องทำงานร่วมกันอย่างสมานสามัคคีและทำให้งานสำเร็จ
 
              ฉันมาค้นพบว่าบรรดาลูกชายทั้งหลายของฉันจำเป็นที่จะต้องมีจังหวะในงานบ้านของพวกเขา หลังจากมีบางความคิดเกิดขึ้น ฉันก็ตระหนักว่าถ้าเราทำความสะอาดอย่างดีที่สุดทีเดียวหลังจากมื้ออาหารเย็น ก่อนที่เด็กทั้งหลายจะเข้านอน บ้านก็จะยังคงเรียบร้อยและสะอาดสะอ้านไปอีกอย่างน้อย 12 ชั่วโมง สิ่งนี้ก็เป็นความก้าวหน้าอย่างมากแม้ว่าเราจะใช้เวลาช่วงนั้นไปกับการนอนหลับเป็นส่วนใหญ่ก็ตามที การตื่นขึ้นมาเพื่อที่จะทำความสะอาดห้องนั่งเล่นตามที่ได้สัญญากันไว้มันก็ได้รับพิสูจน์แล้วว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่วิเศษเหลือเกิน
 
             การทำงานบ้านหลังจากมื้ออาหารเย็น เป็นไปได้ด้วยดีเพราะว่าพวกเราจะสามารถทำงานร่วมกันได้ทุกคน มันยิ่งตีมากขึ้นอีกเมื่อสามีของฉันและฉันสามารถที่จะมีส่วนร่วมด้วยความกระตือรือร้น เด็กๆสามารถรับรู้สภาวะภายในของพ่อแม่ได้ง่าย เมื่อฉันสามารถที่จะนำความเบิกบานผ่านน้ำเสียงและท่าทีของฉัน ลูกๆของพวกเราก็จะได้รับบรรยากาศเชิงบวกและก็ทำงานร่วมกันเป็นทีม
 
            การทำงานบ้านหลังจากมื้ออาหารเย็นก็มีสิ่งอื่นๆที่ตามมาด้วย ถ้าเราทำงานบ้านไม่เสร็จตรงเวลา อาหารว่างก่อนนอนก็จะไม่มี ถ้างานบ้านไม่เสร็จจนถึงเวลานอนแล้ว นิทานก่อนนอนก็จะถูกงดไปสำหรับคืนนั้นไปด้วยเช่นกัน การมีสิ่งที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็มีส่วนช่วยผลักดันความรับผิดชอบของลูกๆ  มากกว่าจะเป็นความรับผิดชอบของพ่อแม่ ฉันพบว่าด้วยการปฏิบัติเช่นนี้ฉันสามารถอยู่ในความสงบและตั้งเป้าหมายหรือจุดประสงค์ในการสังเกตของฉัน “โอ้ ลูกรัก มันเกือบจะถึงเวลาอาหารว่างแล้วนะ แม่หวังว่าลูกจะเสร็จมันทันเวลา” วิธีนี้ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ ที่จะอนุญาตให้พวกเขาได้รับรู้ถึงผลที่จะตามมา การเจรจาต่อรองกับเด็กมีแนวโน้มที่จะย้อนกลับมาหาพ่อแม่ พวกเขามักตั้งใจและพากเพียรมากกว่าเราเสียอีก


      ในไม่ช้ากิจกรรมหลังอาหารเย็นก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจังหวะช่วงเย็นแล้วก็มีการต่อต้านเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้น ความท้าทายทายอย่างหนึ่งสำหรับสามีของฉันและฉันก็คือการที่จะเรียกพลังงานหลังจากอาหารเย็น  เพื่อที่จะนำการทำงานด้วยความกระตือรือร้น แต่มันก็เป็นการฝึกฝนที่วิเศษ พวกเราค้นพบด้วยตัวพวกเราเองว่า ตลอดเส้นทางชีวิตที่ผ่านมา เราจำต้องทำหลายสิ่งที่ไม่ได้อยากทำมันจริงๆ มันเป็นของขวัญสำหรับพวกเราและลูกๆของเราที่จะเรียนรู้ก้าวที่เบิกบาน ที่สามารถเอาชนะการต่อต้านภายใน และพบความมั่นคงภายในในอีกด้านหนึ่งและความพึงพอใจของงานที่ทำจนสำเร็จ เมื่อเวลาผ่านไปการฝึกปฏิบัตินี้ก็ได้สร้างความพากเพียร และความมั่นใจให้เกิดขึ้น
 
       การสร้างจังหวะในกิจกรรมเป็นเรื่องเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ได้เคยกล่าวไว้ว่าจังหวะแบบแผน สามารถสร้างความแข็งแรงและพลังเจตจำนงค์ หากเราทำสิ่งเดิมๆในเวลาเดิมของแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์  ในไม่ช้ามันก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ประทับอยู่ภายในชีวิตของเรา เราไม่จำเป็นจะต้องเรียกพลังงานให้มากเกินไป เพื่อจำเป็นที่จะเริ่มมันในแต่ละครั้ง  ในการทำงานบ้านจังหวะก็เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและมีมนต์วิเศษ ถ้าคนสามารถสร้างรูปแบบที่สม่ำเสมอและเฉพาะเจาะจงสำหรับการทำงานบ้าน ความการต่อต้านของเด็กๆ และการจู้จี้ของพ่อแม่ก็จะหายไป
 
      เมื่อเด็กๆเติบโตขึ้นเราก็จะมีงานบ้านช่วงเช้าเย็นและวันเสาร์ หลังจากมีการทดลองมากมายเราก็สร้างรูปแบบขึ้นมาในแต่ละเช้าลูกคนหนึ่งก็จะล้างจาน อีกคนก็จะให้อาหารสัตว์ และอีกคนก็จะนำผ้าไปตาก หลังจากมื้ออาหารเย็น ลูกคนนึงก็ล้างจาน อีกคนก็จัดเก็บโต๊ะและกวาดครัว อีกคนก็ดูดฝุ่น ในวันเสาร์ตอนเช้าฉันก็ทำรายการงานบ้านที่ต้องทำ และทุกๆคนก็ทำงานในระหว่าง 30 ถึง 45 นาที งานบ้านเหล่านี้ก็รวมถึงการทำความสะอาดห้องน้ำ เช็ดกระจก ตัดหญ้าและช่วยทำความสะอาดโรงรถและอื่นๆมากมาย
เมื่อบรรดาลูกชายของฉันก้าวไปสู่วัยรุ่นพวกเขาก็เริ่มทำอาหารสัปดาห์ละมื้อ  ในช่วงแรกๆพวกเขาก็ไม่ได้ใส่ความรักและความตั้งใจลงไปในการทำอาหารหรอก อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า พวกเขาก็ก็กลายเป็นพ่อครัวชั้นดีและหนึ่งในพวกเขาก็ทำพายไก่ให้พวกเราทานด้วย
    
Picture
​               บ้านไหนที่มีลูก 2 คนหรือมากกว่านั้น มันเป็นการดีที่จะมีการหมุนเวียนงานบ้านเพื่อที่จะลดความรู้สึกไม่ยุติธรรม งานบ้านและงานที่ได้รับมอบหมายก็สามารถที่จะนำมาพูดคุยในวงประชุมของครอบครัว ด้วยการฟังเสียงลูกๆแต่ละคน และเสียงของพ่อแม่ก็ถูกได้ยินเช่นกัน เด็กที่เล็กกว่าแน่นอนว่าก็จะได้รับงานที่ง่ายเพื่อที่เขาสามารถจัดการได้ หรือไม่ก็เขาก็สามารถทำงานที่ซับซ้อนร่วมกับพ่อแม่หรือพี่น้องที่แก่กว่าได้ อย่างเช่นการทำความสะอาดห้องของเขาเอง

               มันเป็นเรื่องสำคัญที่ลูกคนเดียวก็ควรที่จะต้องได้ทำงานบ้านด้วยเช่นกัน ฉันเห็นว่าลูกคนเดียวแม้จะอยู่ในวัยอนุบาลหรือเล็กกว่านั้น ยินดีที่จะมีส่วนร่วม  เรื่องนี้จะทวีความสำคัญมากขึ้นเมื่อเด็กๆโตขึ้น ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างถูกทำให้เสร็จสำหรับลูกคนเดียว ในไม่ช้าเด็กคนนั้นก็จะเข้าใจว่าเธอเป็นเจ้าหญิงหรือเจ้าชายของโลก  เมื่อก้าวออกไปสู่โลกภายนอก เจ้าหญิงหรือเจ้าชายก็จะคาดหวังการได้รับการดูแลราวกับราชาจากคนอื่น บทเรียนที่ยากลำบาก จะเกิดขึ้นเมื่อต้องออกไปเรียนรู้ดับเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนร่วมห้อง และกับคู่ครองซึ่งไม่ได้เป็นราชวงศ์ แต่เป็นเพียงคนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น

                การสร้างรูปแบบของการทำงานบ้านสร้างประโยชน์มากมายกับครอบครัว ความรู้สึกขุ่นข้องหมองใจของฉันก็หายไป ลูกชายของฉันทั้งหลายก็เรียนรู้ทักษะใหม่ๆมากมาย พวกเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเบิกบานของการทำงานที่มีความหมาย รวมถึงความพึงพอใจซึ่งมาจากการทำงานร่วมกัน ลูกชายของฉันปัจจุบันอยู่ในช่วงวัย20++ ต่างเป็นที่รับรู้จากคนทั่วไปถึงนิสัยการทำงานที่เข้มแข็ง และความสามารถที่จะทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้ 
Picture

​               ​จะมีคำถามที่เลี่ยงไม่ได้ตามมา นั่นคือ ลูกๆควรได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานไหม ฉันมั่นใจว่าการจ่ายเงินให้กับลูกๆเป็นการลดคุณค่าของประสบการณ์ของความเบิกบานและของการทำงานให้สำเร็จของพวกเขา มันจะริดรอนเอาความรู้สึกของการเป็นชุมชนคนที่อยู่ร่วมกันที่สามารถพัฒนาในครอบครัว เมื่อทุกๆคนต่างช่วยเหลือและทำงานอย่างอิสระเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทุกคน ในครอบครัวหนึ่งซึ่งมีการจ่ายเงินให้กับการทำงานบ้าน ลูกๆก็จะพัฒนาทัศนคติว่า ถ้าพวกเขาไม่ต้องการเงิน พวกเขาก็ไม่จำเป็นต้องทำงาน เพราะฉะนั้นพวกเขาก็ไม่ได้เรียนรู้ถึงความเบิกบานที่มาจากตัวกิจกรรมการงาน และมาจากการทำงานร่วมกัน

         ฉันคิดว่ามันง่ายกว่าที่จะแยกงานบ้านออกจากหน้าที่ได้รับค่าตอบแทน ในวันเสาร์ลูกๆของฉันได้รับรางวัลเป็นไอศครีมเมื่อพวกเขาทำงานบ้านเสร็จ เมื่อพวกเขาโตขึ้นและต้องการทำงานเพื่อหาเงิน บางครั้งฉันก็หางานที่ใหญ่กว่าอย่างเช่นการระบายสี ซึ่งฉันก็จะจ่ายค่าแรงให้เขาพวกเขา
 
        ยังมีประเด็นอื่นๆที่สำคัญและท้าทาย ในครอบครัว นั่นคือเรื่องของการให้เบี้ยเลี้ยงกับลูก พ่อแม่จะต้องรับมือกับคำถามมากมายได้แก่
  • รอถึงอายุเมื่อไหร่ลูกๆจึงจะควรได้รับเงินของตนเอง
  • พวกเขาควรได้รับเงินเท่าไหร่
  • ลูกๆต้องซื้อของใช้จำเป็นด้วยเงินของเขาเองไหม ?  ค่าของขวัญล่ะ?
  • หนทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะจัดการเงินของตัวเองคืออะไร
 
       เมื่อบรรดาลูกชายของฉันยังเป็นเด็กเล็กอยู่นั้น ฉันรู้สึกว่าพวกเขาไม่ต้องการความท้าทายในการนับเงิน ออมเงิน และใช้เงิน แต่เมื่อเริ่มต้นชั้นประถมปีที่ 1 พวกเขาได้รับเงินเบี้ยเลี้ยงครั้งแรกในแต่ละวันฉันให้ลูกชายของฉัน 10 เซนต์ และทุกๆปีที่ทุกๆอายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปีจนกระทั่งเขาอายุ 10 ขวบฉันไม่เคยให้เบี้ยเลี้ยงเขามากกว่า 1 ดอลลาร์ ต่อสัปดาห์

​
        ฉันไม่ได้หวังว่าลูกๆของฉันจะซื้อของขวัญด้วยเงินเหล่านี้มันเป็นเงินของพวกเขาที่จะใช้กับตัวของพวกเขาเอง ฉันตัดสินใจว่าพวกเขาควรจะใช้เงินของพวกเขาเมื่อพวกเขาไปที่ร้านขายของชำ มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจเมื่อได้สังเกตว่าแต่ละคนว่าจะมีทีท่าอย่างไร  หนึ่งในลูกชายของฉันได้ไปที่ร้านและจ้องมอง จากนั้นก็เก็บเงินของเขาจนกระทั่งมีเงินมากพอเพื่อที่จะซื้อของที่เขาต้องการ ส่วนลูกชายอีกคนของฉันก็ใช้เงินทั้งหมดของเขาในทันทีที่เขาได้รับมัน พวกเขาเรียนรู้มากจากกันและกันฉันก็วางข้อจำกัดกับสิ่งของที่เขาสามารถซื้อได้ และนี่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับฉันแต่มันก็เป็นข้อปฏิบัติที่ดีในการกำหนดขอบเขตในขณะที่ลูกๆโตขึ้น
Picture
 
​               หากลูกต้องการเงินพิเศษฉันก็จะกระตุ้นให้พวกเขาไปเลี้ยงเด็กหรือทำงานอื่นๆให้เพื่อนบ้านเป้าหมายของฉันก็คือพวกเขาจะไม่มองว่าพ่อแม่ของเขาจะเป็นคนที่คอยจัดหาสิ่งของที่เกินความจำเป็น แต่พ่อแม่จะเป็นคนที่คอยสนับสนุนให้ทำงานหาเงินตามที่พวกเขาต้องการ สิ่งเหล่านี้จะให้ผลเมื่อพวกเขาเติบโตเป็นวัยรุ่น ตั้งแต่พวกเขาเริ่มที่จะมองหางานตั้งแต่อายุน้อยๆ การได้รับความเครียดระหว่างสิ่งที่พวกเขาต้องการกับสิ่งที่พวกเขาสามารถซื้อหาได้ ก็เป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับพวกเขา ฉันรู้สึกขอบคุณที่ฉันไม่ได้ทำอะไรครึ่งๆกลางๆในเรื่องนี้ มันเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมมากสำหรับพวกเขาที่จะได้ทำงานให้กับผู้คนหลากหลาย  ผ่านการงานที่แตกต่างกันไป งานภาคฤดูร้อนของลูกชายของฉันคนหนึ่งก็คือการช่วยนักจัดสวน เขามาบอกฉันภายหลังว่าเขาตัดสินใจถ้าเขาไม่ตายซะก่อนระหว่างสัปดาห์แรกเขาจะเลิกทำงานนี้    ในตอนสิ้นสุดสัปดาห์แรกเขากลับสนุกสนานกับการทำงานและนิ้วก็เริ่มด้านขึ้น  ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่เขาภาคภูมิใจมาก ตลอดช่วงวัยรุ่นของพวกเขาลูกๆของฉันได้ทำงานมากมายหลายอย่าง จากการทำงานที่ ตั้งแต่การทำงานในร้านกาแฟ Starbucks ไปจนถึงงานเล็มต้นไม้ เขาเรียนรู้จากทุกประสบการณ์และเข้าไปใกล้มากขึ้น ผ่านประสบการณ์เพื่อที่จะหาสิ่งที่พวกเขาต้องการทำสำหรับชีวิตการทำงานจริงๆของพวกเขา
 
              ฉันพบหนทางหนึ่งในหลายๆหนทางที่ดีที่สุด เพื่อที่จะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะจัดการเงิน นั่นก็คือการให้เบี้ยเลี้ยงเกี่ยวกับเสื้อผ้าในระดับมัธยมปลาย ซึ่งเป็นช่วงวัยที่พวกเขาไม่ได้โตไวมาก และพวกเขาก็อยู่ในช่วงวัยที่ใส่ใจให้ความสำคัญเกี่ยวกับเสื้อผ้าที่สวมใส่ ฉันคอยบันทึกว่าฉันใช้จ่ายไปเท่าไหร่ในช่วง 6 เดือน  ต่อมาในเดือนสิงหาคมฉันก็ให้ลูกๆแต่ละคนในจำนวนที่ฉันจ่ายเงินให้พวกเขาในช่วงเวลา 3 เดือน เมื่อถึงช่วงเริ่มต้นของทุกๆเทศกาล ฉันจะจ่าย เบี้ยเลี้ยงค่าเสื้อผ้าให้ลูกๆ เด็กชายทั้งหลายก็ได้เรียนรู้ที่จะซื้อถุงเท้าที่ถูกมากๆ พอพอกับการใช้เงินทั้งหมดสำหรับเสื้อแจ็คเก็ตที่ถูกใจ  พวกเขาเรียนรู้ซื้อของจากแรงกระตุ้นภายใน และเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า และครั้งแล้วครั้งเล่า พวกเขาเรียนรู้ที่จะวางแผนล่วงหน้า ฉันต้องประหลาดใจว่าแต่ละคนเขาเลือกหนทางที่แตกต่างกันที่จะใช้เงินของพวกเขาอย่างไร และหลังจาก 4 ปีพวกเขาทั้งหมดก็มั่นใจเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องใช้จริงๆและจะหาของเหล่านั้นได้จากที่ไหน

            สำหรับค่าใช้จ่ายในระดับมหาวิทยาลัย ฉันก็ใช้ระบบเดิม ดูราวกับว่าควรจะมีความยุติธรรมเกี่ยวกับจำนวนของเงินที่แต่ละคนได้รับ ฉันชัดเจนเรื่องจำนวนเงิน ถ้าลูกชายคนนึงเลือกที่จะมีไลฟ์สไตล์ราคาแพง ซึ่งทำให้เงินขาดมือ ก็จำเป็นที่จะต้องทำงานเพื่อที่จะชดเชยส่วนต่าง ผลที่ตามมาคือพวกเขาก็จะต้องทำงานที่หลากหลายขึ้นในขณะที่อยู่ในรร. และบ่อยครั้งที่สิ่งเหล่านี้นำไปสู่โอกาสอื่นๆ  บรรดาลูกชายของฉันต่างก็รู้สึกสบายสบายเมื่อจะต้องออกไปสมัครงานและผ่านกระบวนการสัมภาษณ์งาน

        
Picture
​ การทำให้เกิดความยุติธรรมภายในครอบครัวเกี่ยวกับงานบ้านและเงิน นั้นคือประสบการณ์การเรียนรู้ที่เสมอต้นเสมอปลาย มันเป็นโอกาสสำหรับพ่อแม่ที่จะสอนให้พวกเขารู้เกี่ยวกับคุณค่า ที่พ่อแม่ยึดถือให้แก่ลูกๆของพวกเขา การจัดการประชุมครอบครัวอย่างเป็นจังหวะประจำสม่ำเสมอ ก็จะช่วยสร้างพื้นที่ ที่สามารถนำประเด็นทั้งหลายออกมาพูดคุย เพื่อสร้างความไว้วางใจและความยุติธรรมให้เกิดขึ้น มันเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะสร้างวงแห่งการพูดคุย ซึ่งพ่อแม่และลูกแต่ละคน มีโอกาสได้ใช้ในการแสดงเสียงของตัวเอง ในขณะที่พ่อแม่ก็ยังคงรักษาบทบาทของความเป็นผู้ใหญ่ไว้ได้  ในเวลานี้ก็สามารถใช้เป็นเวลาในการเล่นเกมด้วยกัน กินขนมด้วยกัน และวางแผน การเดินทางท่องเที่ยวของครอบครัวได้ด้วย  

​    ความท้าทายของการเป็นพ่อแม่นำมาซึ่งเติบโตและรางวัลที่มากมายรวมถึงบางอย่างในความสัมพันธ์ที่รุ่มรวยในชีวิตของคน 
 ต้นฉบับภาษาอังกฤษ เขียนโดย Barbara Klocek  ตีพิมพ์ในวารสาร Renewal, A Journal for Waldorf Education, Vol 11 #2, Fall/Winter 2002)
 
About the Author : Barbara Klocek เป็นทั้งศิลปิน ครูอนุบาล และ นักศิลปะบำบัดใน Fair Oak, California  เธอได้รับปริญญาโทรสาขาวิจิตรศิลป์จาก Temple University และได้ศึกษามนุษยปรัชญาและ การศึกษาวอลดอร์ฟ ที่ Rudolf Steiner College เธอออกเดินทางบ่อยครั้งและจัดเวิร์คช้อปร่วมกับสามีของเธอ Dennis Klocek  ลูกชายทั้ง 3 คนของเธอต่างจบจาก Sacramento Waldorf School ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เธอสอนด้วย)

#ครอบครัวบ้านเรียน #โฮมสคูล ที่บ้านอยู่ไม่ไกลจาก บ้านสำราญ แจ้งวัฒนะ 14  ​และสนใจแนวทางการศึกษา #วอลดอร์ฟ ต้องการชุมชนที่เอื้อเฟื้อแบ่งปัน ช่วยกันบ่มเพาะดูแลเด็กๆให้เติบโตอย่างมั่นคงไปพร้อมกับการเตรียมตัวพ่อแม่ให้เป็นเสาหลักอันมั่นคงให้ลูก ติดต่อสอบถาม ทำความรู้จักกันได้นะคะ

Inbox : https://m.me/mamata.family
Line OA : https://lin.ee/Ab6x3Az
โทร : 0814156364
0 Comments



Leave a Reply.

    Picture

    MaMa Ta
    วรณัน โทณะวณิก (แม่ตา)

    Founder of MaMaTa Baansamran 

    Archives

    November 2021
    June 2021
    October 2020
    August 2020
    December 2017
    November 2014

    Categories

    All

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.
  • Home
  • Course
    • Waldorf-Inspired Parent & Child Playgroup
  • Store
  • About
    • MaMaTa Family Playgroup
    • MaMaTa Family Workshop
    • MaMaTa Family Trip
    • MaMaTa Family Store
    • MaMaTa Family Bookstore
    • MaMaTa Family Space
  • Contact
    • Map
  • Sharing / Articles
  • Photo Gallery
  • Publicity
  • ของเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กๆใน
  • Children Songs
  • Stockmar Modelling Beeswax
  • Children Drawing
  • Blog