MAMATA_nurturing nature in your child
  • Home
  • Course
    • Waldorf-Inspired Parent & Child Playgroup
  • Store
  • About
    • MaMaTa Family Playgroup
    • MaMaTa Family Workshop
    • MaMaTa Family Trip
    • MaMaTa Family Store
    • MaMaTa Family Bookstore
    • MaMaTa Family Space
  • Contact
    • Map
  • Sharing / Articles
  • Photo Gallery
  • Publicity
  • ของเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กๆใน
  • Children Songs
  • Stockmar Modelling Beeswax
  • Children Drawing
  • Blog

การให้ลูกๆมีส่วนร่วมในงานบ้าน – การพัฒนาพลังเจตจำนงค์ ( Involving Children in Household Chores , Developing Will )

29/11/2021

0 Comments

 
             อะไรเอ่ย? ตอนลูกเป็นเด็กเล็กอยากทำ พ่อแม่ไม่ยอมให้ทำ พอโตขึ้น ลูกไม่อยากทำ แต่พ่อแม่กลับอยากให้ทำ พอลูกไม่ทำก็บ่นว่า หนักเข้ารำคาญเสียงตัวเอง ก็ลงมือทำแทนลูกเสียหมด (หรือไม่ก็ยกให้แม่บ้านทำ) พอโตเป็นวัยรุ่น จะเป็นเช่นไร คงไม่ต้องเดาให้ปวดร้าวหัวใจ

            ใช่แล้วค่ะ แม่ตากำลังพูดถึง "งานบ้าน" ของขมของหลายบ้าน เวลาพ่อแม่มาปรึกษาแม่ตาเกี่ยวกับความท้าทายของลูกวัยผลัดฟันน้ำนม สู่วัยฟันแท้ แม่ตามักจะมีคำถามห้อยท้ายว่า "งานบ้านหรืองานประจำของลูก คืออะไร?"
90% ตอบว่าไม่มี ที่บอกมี บางคนพอถามลึกลงไปพบว่าเป็นงานดูแลตัวเอง กินข้าวเสร็จ ล้างจานตัวเองเป็นต้น แม่ตาจะบอกว่า งานดูแลรับผิดชอบข้าวของตัวเองคือสิ่งที่เขาต้องทำได้ภายในราว 6 ขวบ แต่งานบ้านคืองานที่รับผิดชอบส่วนรวมที่อยู่ร่วมกัน และ ที่สำคัญต้องทำทุกวัน พ่อแม่อย่างเราช่วยได้คือ ช่วยจัดงานที่เหมาะสมกับวัย ช่วยจัดเวลาเคลียร์เรื่องอื่นออกไป ให้ลูกได้ทำงานประจำของเขาได้สำเร็จทุกวัน
               
      ตอนนี้ที่บ้านสำราญ แม่ตากับครอบครัวเพลย์กรุ๊ปกลุ่มหนึ่งที่ตั้งใจจัดการศึกษาให้ลูก เป็นครอบครัวบ้านเรียน หรือ โฮมสคูล กำลังช่วยกันบุกเบิก Hybrid Homeschool เด็กๆในวัย 6-7 ขวบมาทำกิจกรรมร่วมกัน สัปดาห์ละ 2 วัน เราตั้งชื่อกลุ่มเล็กๆของเราว่า #บ้านเรียนสำราญ เรากำลังเตรียมตัวพาเด็กๆของพวกเราขึ้นชั้นประถม 1 นอกจากเตรียมเด็กๆแล้ว พ่อแม่ก็เตรียมพร้อมเช่นกัน เรื่องงานบ้าน เป็นเรื่องที่แม่ตายกขึ้นมาเป็นเรื่องต้นๆ นำบทความภาษาอังกฤษ และ หนังสือ มาแปล เพื่อทำ Study Group ด้วยกัน
​
               แม่ตาได้แปลบทความเรื่อง Involving Children in Household Chores , Developing Will เขียนโดย Barbara Klocek คุณแม่และครูและนักศิลปะบำบัดชาวอเมริกัน และแบ่งปันให้คุณพ่อคุณแม่ในกลุ่ม บ้านเรียนสำราญ  ได้ศึกษากัน คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับพ่อแม่ท่านอื่นๆ จึงนำมาแบ่งปัน 



(บทแปลภาษาไทย โดย แม่ตา วรณัน โทณะวณิก จากบทความเรื่อง Involving Children in Household Chores , Developing Will เขียนโดย Barbara Klocek  ตีพิมพ์ในวารสาร Renewal, A Journal for Waldorf Education, Vol 11 #2, Fall/Winter 2002)
​
​          พ่อแม่มือใหม่ทั้งหลาย  ต่างได้รับความท้าทายให้ค้นหาความอดทนและความตั้งใจในการทำงานประจำวันที่กินเวลา ทั้งป้อนอาหารและดูแลเอาใจใส่ทารกน้อยที่เพิ่งเกิดใหม่  แม้ว่านี่เป็นโอกาสสำหรับการเปลี่ยนผ่านของดวงจิต ในขณะที่พ่อแม่เรียนรู้ที่จะให้โดยอิสระ ทั้งเวลาและพลังงานของพวกเขาเอง ที่สุดแล้วนั่นคือความรักที่พ่อแม่มอบให้แก่ลูกของตน ซึ่งนำมาทั้งความหมายและความเบิกบานต่องานทั้งหลายเหล่านี้ที่ต้องทำซ้ำๆและไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด
 
        อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เด็กๆเติบโตและมีความสามารถมากขึ้นที่จะดูแลตัวเองและสิ่งแวดล้อมของพวกเขาได้แล้ว  งานทั้งหลายที่พ่อแม่ยังคงทำอยู่ต่อเนื่อง ก็สามารถนำไปสู่ความคับข้องใจของพ่อแม่เองได้ สิ่งนี้เกิดขึ้นจริง หากพ่อแม่ทั้งหลายกำลังดูราวกับว่าจะต้องเป็นคนที่ทำงานทั้งหมด และลูกๆก็กำลังจะถูกทำให้เสียนิสัย มันเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กๆและสำหรับพ่อแม่ ซึ่งต่างก็โตมากพอที่จะทำงานร่วมกันในการดูแลเอาใจใส่บ้าน
Picture
     
              เมื่อลูกชายทั้งสามคนของฉันซึ่งมีอายุ 4 , 6 และ 8 ขวบ  ตอนนั้นฉันได้ออกเดินทางครั้งแรกซึ่งเป็นระยะทางไกลจากครอบครัวของฉัน ประสบการณ์ของการอยู่ห่างจากบ้านก็ทำให้ฉันตระหนักว่าฉันกำลังบริหารคันทรี่คลับ  สำหรับลูกๆของฉันโดยการพยายามที่จะทำงานบ้านทุกอย่างด้วยตัวของฉันเอง ฉันสัมผัสได้ว่ามีความขุ่นเคืองที่มันมากขึ้นๆเรื่อยๆในตัวฉันและมันจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลง
               
                 หนึ่งในงานหลักสำหรับเด็กผู้ชายที่คล่องแคล่วว่องไวและเต็มไปด้วยจินตนาการทั้งสามคนก็คือ การพยายามที่จะทำให้บ้านเรียบร้อย  ฉันต้องการให้พวกพวกเขาสนุกสนานกับการเล่น แต่ฉันก็ต้องการให้พวกเขามีส่วนร่วมในการทำความสะอาดสิ่งต่างๆด้วย อย่างไรก็ตามลูกๆได้ต่อต้านคำร้องขอของฉัน ที่จะให้เก็บข้าวของเหล่านั้น และถ้าฉันยืนยัน เริ่มที่จะจู้จี้ ในไม่ช้าอารมณ์ของทุกคนก็จะแปรปรวน การข่มขู่การตักเตือน บอกถึงผลกระทบที่จะตามมา ก็ดูเหมือนว่าจะให้ผลเพียงเล็กน้อยฉันต้องคิดหาหนทางสำหรับพวกเราที่จะต้องทำงานร่วมกันอย่างสมานสามัคคีและทำให้งานสำเร็จ
 
              ฉันมาค้นพบว่าบรรดาลูกชายทั้งหลายของฉันจำเป็นที่จะต้องมีจังหวะในงานบ้านของพวกเขา หลังจากมีบางความคิดเกิดขึ้น ฉันก็ตระหนักว่าถ้าเราทำความสะอาดอย่างดีที่สุดทีเดียวหลังจากมื้ออาหารเย็น ก่อนที่เด็กทั้งหลายจะเข้านอน บ้านก็จะยังคงเรียบร้อยและสะอาดสะอ้านไปอีกอย่างน้อย 12 ชั่วโมง สิ่งนี้ก็เป็นความก้าวหน้าอย่างมากแม้ว่าเราจะใช้เวลาช่วงนั้นไปกับการนอนหลับเป็นส่วนใหญ่ก็ตามที การตื่นขึ้นมาเพื่อที่จะทำความสะอาดห้องนั่งเล่นตามที่ได้สัญญากันไว้มันก็ได้รับพิสูจน์แล้วว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่วิเศษเหลือเกิน
 
             การทำงานบ้านหลังจากมื้ออาหารเย็น เป็นไปได้ด้วยดีเพราะว่าพวกเราจะสามารถทำงานร่วมกันได้ทุกคน มันยิ่งตีมากขึ้นอีกเมื่อสามีของฉันและฉันสามารถที่จะมีส่วนร่วมด้วยความกระตือรือร้น เด็กๆสามารถรับรู้สภาวะภายในของพ่อแม่ได้ง่าย เมื่อฉันสามารถที่จะนำความเบิกบานผ่านน้ำเสียงและท่าทีของฉัน ลูกๆของพวกเราก็จะได้รับบรรยากาศเชิงบวกและก็ทำงานร่วมกันเป็นทีม
 
            การทำงานบ้านหลังจากมื้ออาหารเย็นก็มีสิ่งอื่นๆที่ตามมาด้วย ถ้าเราทำงานบ้านไม่เสร็จตรงเวลา อาหารว่างก่อนนอนก็จะไม่มี ถ้างานบ้านไม่เสร็จจนถึงเวลานอนแล้ว นิทานก่อนนอนก็จะถูกงดไปสำหรับคืนนั้นไปด้วยเช่นกัน การมีสิ่งที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็มีส่วนช่วยผลักดันความรับผิดชอบของลูกๆ  มากกว่าจะเป็นความรับผิดชอบของพ่อแม่ ฉันพบว่าด้วยการปฏิบัติเช่นนี้ฉันสามารถอยู่ในความสงบและตั้งเป้าหมายหรือจุดประสงค์ในการสังเกตของฉัน “โอ้ ลูกรัก มันเกือบจะถึงเวลาอาหารว่างแล้วนะ แม่หวังว่าลูกจะเสร็จมันทันเวลา” วิธีนี้ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ ที่จะอนุญาตให้พวกเขาได้รับรู้ถึงผลที่จะตามมา การเจรจาต่อรองกับเด็กมีแนวโน้มที่จะย้อนกลับมาหาพ่อแม่ พวกเขามักตั้งใจและพากเพียรมากกว่าเราเสียอีก


      ในไม่ช้ากิจกรรมหลังอาหารเย็นก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจังหวะช่วงเย็นแล้วก็มีการต่อต้านเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้น ความท้าทายทายอย่างหนึ่งสำหรับสามีของฉันและฉันก็คือการที่จะเรียกพลังงานหลังจากอาหารเย็น  เพื่อที่จะนำการทำงานด้วยความกระตือรือร้น แต่มันก็เป็นการฝึกฝนที่วิเศษ พวกเราค้นพบด้วยตัวพวกเราเองว่า ตลอดเส้นทางชีวิตที่ผ่านมา เราจำต้องทำหลายสิ่งที่ไม่ได้อยากทำมันจริงๆ มันเป็นของขวัญสำหรับพวกเราและลูกๆของเราที่จะเรียนรู้ก้าวที่เบิกบาน ที่สามารถเอาชนะการต่อต้านภายใน และพบความมั่นคงภายในในอีกด้านหนึ่งและความพึงพอใจของงานที่ทำจนสำเร็จ เมื่อเวลาผ่านไปการฝึกปฏิบัตินี้ก็ได้สร้างความพากเพียร และความมั่นใจให้เกิดขึ้น
 
       การสร้างจังหวะในกิจกรรมเป็นเรื่องเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ได้เคยกล่าวไว้ว่าจังหวะแบบแผน สามารถสร้างความแข็งแรงและพลังเจตจำนงค์ หากเราทำสิ่งเดิมๆในเวลาเดิมของแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์  ในไม่ช้ามันก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ประทับอยู่ภายในชีวิตของเรา เราไม่จำเป็นจะต้องเรียกพลังงานให้มากเกินไป เพื่อจำเป็นที่จะเริ่มมันในแต่ละครั้ง  ในการทำงานบ้านจังหวะก็เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและมีมนต์วิเศษ ถ้าคนสามารถสร้างรูปแบบที่สม่ำเสมอและเฉพาะเจาะจงสำหรับการทำงานบ้าน ความการต่อต้านของเด็กๆ และการจู้จี้ของพ่อแม่ก็จะหายไป
 
      เมื่อเด็กๆเติบโตขึ้นเราก็จะมีงานบ้านช่วงเช้าเย็นและวันเสาร์ หลังจากมีการทดลองมากมายเราก็สร้างรูปแบบขึ้นมาในแต่ละเช้าลูกคนหนึ่งก็จะล้างจาน อีกคนก็จะให้อาหารสัตว์ และอีกคนก็จะนำผ้าไปตาก หลังจากมื้ออาหารเย็น ลูกคนนึงก็ล้างจาน อีกคนก็จัดเก็บโต๊ะและกวาดครัว อีกคนก็ดูดฝุ่น ในวันเสาร์ตอนเช้าฉันก็ทำรายการงานบ้านที่ต้องทำ และทุกๆคนก็ทำงานในระหว่าง 30 ถึง 45 นาที งานบ้านเหล่านี้ก็รวมถึงการทำความสะอาดห้องน้ำ เช็ดกระจก ตัดหญ้าและช่วยทำความสะอาดโรงรถและอื่นๆมากมาย
เมื่อบรรดาลูกชายของฉันก้าวไปสู่วัยรุ่นพวกเขาก็เริ่มทำอาหารสัปดาห์ละมื้อ  ในช่วงแรกๆพวกเขาก็ไม่ได้ใส่ความรักและความตั้งใจลงไปในการทำอาหารหรอก อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า พวกเขาก็ก็กลายเป็นพ่อครัวชั้นดีและหนึ่งในพวกเขาก็ทำพายไก่ให้พวกเราทานด้วย
    
Picture
​               บ้านไหนที่มีลูก 2 คนหรือมากกว่านั้น มันเป็นการดีที่จะมีการหมุนเวียนงานบ้านเพื่อที่จะลดความรู้สึกไม่ยุติธรรม งานบ้านและงานที่ได้รับมอบหมายก็สามารถที่จะนำมาพูดคุยในวงประชุมของครอบครัว ด้วยการฟังเสียงลูกๆแต่ละคน และเสียงของพ่อแม่ก็ถูกได้ยินเช่นกัน เด็กที่เล็กกว่าแน่นอนว่าก็จะได้รับงานที่ง่ายเพื่อที่เขาสามารถจัดการได้ หรือไม่ก็เขาก็สามารถทำงานที่ซับซ้อนร่วมกับพ่อแม่หรือพี่น้องที่แก่กว่าได้ อย่างเช่นการทำความสะอาดห้องของเขาเอง

               มันเป็นเรื่องสำคัญที่ลูกคนเดียวก็ควรที่จะต้องได้ทำงานบ้านด้วยเช่นกัน ฉันเห็นว่าลูกคนเดียวแม้จะอยู่ในวัยอนุบาลหรือเล็กกว่านั้น ยินดีที่จะมีส่วนร่วม  เรื่องนี้จะทวีความสำคัญมากขึ้นเมื่อเด็กๆโตขึ้น ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างถูกทำให้เสร็จสำหรับลูกคนเดียว ในไม่ช้าเด็กคนนั้นก็จะเข้าใจว่าเธอเป็นเจ้าหญิงหรือเจ้าชายของโลก  เมื่อก้าวออกไปสู่โลกภายนอก เจ้าหญิงหรือเจ้าชายก็จะคาดหวังการได้รับการดูแลราวกับราชาจากคนอื่น บทเรียนที่ยากลำบาก จะเกิดขึ้นเมื่อต้องออกไปเรียนรู้ดับเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนร่วมห้อง และกับคู่ครองซึ่งไม่ได้เป็นราชวงศ์ แต่เป็นเพียงคนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น

                การสร้างรูปแบบของการทำงานบ้านสร้างประโยชน์มากมายกับครอบครัว ความรู้สึกขุ่นข้องหมองใจของฉันก็หายไป ลูกชายของฉันทั้งหลายก็เรียนรู้ทักษะใหม่ๆมากมาย พวกเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเบิกบานของการทำงานที่มีความหมาย รวมถึงความพึงพอใจซึ่งมาจากการทำงานร่วมกัน ลูกชายของฉันปัจจุบันอยู่ในช่วงวัย20++ ต่างเป็นที่รับรู้จากคนทั่วไปถึงนิสัยการทำงานที่เข้มแข็ง และความสามารถที่จะทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้ 
Picture

​               ​จะมีคำถามที่เลี่ยงไม่ได้ตามมา นั่นคือ ลูกๆควรได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานไหม ฉันมั่นใจว่าการจ่ายเงินให้กับลูกๆเป็นการลดคุณค่าของประสบการณ์ของความเบิกบานและของการทำงานให้สำเร็จของพวกเขา มันจะริดรอนเอาความรู้สึกของการเป็นชุมชนคนที่อยู่ร่วมกันที่สามารถพัฒนาในครอบครัว เมื่อทุกๆคนต่างช่วยเหลือและทำงานอย่างอิสระเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทุกคน ในครอบครัวหนึ่งซึ่งมีการจ่ายเงินให้กับการทำงานบ้าน ลูกๆก็จะพัฒนาทัศนคติว่า ถ้าพวกเขาไม่ต้องการเงิน พวกเขาก็ไม่จำเป็นต้องทำงาน เพราะฉะนั้นพวกเขาก็ไม่ได้เรียนรู้ถึงความเบิกบานที่มาจากตัวกิจกรรมการงาน และมาจากการทำงานร่วมกัน

         ฉันคิดว่ามันง่ายกว่าที่จะแยกงานบ้านออกจากหน้าที่ได้รับค่าตอบแทน ในวันเสาร์ลูกๆของฉันได้รับรางวัลเป็นไอศครีมเมื่อพวกเขาทำงานบ้านเสร็จ เมื่อพวกเขาโตขึ้นและต้องการทำงานเพื่อหาเงิน บางครั้งฉันก็หางานที่ใหญ่กว่าอย่างเช่นการระบายสี ซึ่งฉันก็จะจ่ายค่าแรงให้เขาพวกเขา
 
        ยังมีประเด็นอื่นๆที่สำคัญและท้าทาย ในครอบครัว นั่นคือเรื่องของการให้เบี้ยเลี้ยงกับลูก พ่อแม่จะต้องรับมือกับคำถามมากมายได้แก่
  • รอถึงอายุเมื่อไหร่ลูกๆจึงจะควรได้รับเงินของตนเอง
  • พวกเขาควรได้รับเงินเท่าไหร่
  • ลูกๆต้องซื้อของใช้จำเป็นด้วยเงินของเขาเองไหม ?  ค่าของขวัญล่ะ?
  • หนทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะจัดการเงินของตัวเองคืออะไร
 
       เมื่อบรรดาลูกชายของฉันยังเป็นเด็กเล็กอยู่นั้น ฉันรู้สึกว่าพวกเขาไม่ต้องการความท้าทายในการนับเงิน ออมเงิน และใช้เงิน แต่เมื่อเริ่มต้นชั้นประถมปีที่ 1 พวกเขาได้รับเงินเบี้ยเลี้ยงครั้งแรกในแต่ละวันฉันให้ลูกชายของฉัน 10 เซนต์ และทุกๆปีที่ทุกๆอายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปีจนกระทั่งเขาอายุ 10 ขวบฉันไม่เคยให้เบี้ยเลี้ยงเขามากกว่า 1 ดอลลาร์ ต่อสัปดาห์

​
        ฉันไม่ได้หวังว่าลูกๆของฉันจะซื้อของขวัญด้วยเงินเหล่านี้มันเป็นเงินของพวกเขาที่จะใช้กับตัวของพวกเขาเอง ฉันตัดสินใจว่าพวกเขาควรจะใช้เงินของพวกเขาเมื่อพวกเขาไปที่ร้านขายของชำ มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจเมื่อได้สังเกตว่าแต่ละคนว่าจะมีทีท่าอย่างไร  หนึ่งในลูกชายของฉันได้ไปที่ร้านและจ้องมอง จากนั้นก็เก็บเงินของเขาจนกระทั่งมีเงินมากพอเพื่อที่จะซื้อของที่เขาต้องการ ส่วนลูกชายอีกคนของฉันก็ใช้เงินทั้งหมดของเขาในทันทีที่เขาได้รับมัน พวกเขาเรียนรู้มากจากกันและกันฉันก็วางข้อจำกัดกับสิ่งของที่เขาสามารถซื้อได้ และนี่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับฉันแต่มันก็เป็นข้อปฏิบัติที่ดีในการกำหนดขอบเขตในขณะที่ลูกๆโตขึ้น
Picture
 
​               หากลูกต้องการเงินพิเศษฉันก็จะกระตุ้นให้พวกเขาไปเลี้ยงเด็กหรือทำงานอื่นๆให้เพื่อนบ้านเป้าหมายของฉันก็คือพวกเขาจะไม่มองว่าพ่อแม่ของเขาจะเป็นคนที่คอยจัดหาสิ่งของที่เกินความจำเป็น แต่พ่อแม่จะเป็นคนที่คอยสนับสนุนให้ทำงานหาเงินตามที่พวกเขาต้องการ สิ่งเหล่านี้จะให้ผลเมื่อพวกเขาเติบโตเป็นวัยรุ่น ตั้งแต่พวกเขาเริ่มที่จะมองหางานตั้งแต่อายุน้อยๆ การได้รับความเครียดระหว่างสิ่งที่พวกเขาต้องการกับสิ่งที่พวกเขาสามารถซื้อหาได้ ก็เป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับพวกเขา ฉันรู้สึกขอบคุณที่ฉันไม่ได้ทำอะไรครึ่งๆกลางๆในเรื่องนี้ มันเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมมากสำหรับพวกเขาที่จะได้ทำงานให้กับผู้คนหลากหลาย  ผ่านการงานที่แตกต่างกันไป งานภาคฤดูร้อนของลูกชายของฉันคนหนึ่งก็คือการช่วยนักจัดสวน เขามาบอกฉันภายหลังว่าเขาตัดสินใจถ้าเขาไม่ตายซะก่อนระหว่างสัปดาห์แรกเขาจะเลิกทำงานนี้    ในตอนสิ้นสุดสัปดาห์แรกเขากลับสนุกสนานกับการทำงานและนิ้วก็เริ่มด้านขึ้น  ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่เขาภาคภูมิใจมาก ตลอดช่วงวัยรุ่นของพวกเขาลูกๆของฉันได้ทำงานมากมายหลายอย่าง จากการทำงานที่ ตั้งแต่การทำงานในร้านกาแฟ Starbucks ไปจนถึงงานเล็มต้นไม้ เขาเรียนรู้จากทุกประสบการณ์และเข้าไปใกล้มากขึ้น ผ่านประสบการณ์เพื่อที่จะหาสิ่งที่พวกเขาต้องการทำสำหรับชีวิตการทำงานจริงๆของพวกเขา
 
              ฉันพบหนทางหนึ่งในหลายๆหนทางที่ดีที่สุด เพื่อที่จะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะจัดการเงิน นั่นก็คือการให้เบี้ยเลี้ยงเกี่ยวกับเสื้อผ้าในระดับมัธยมปลาย ซึ่งเป็นช่วงวัยที่พวกเขาไม่ได้โตไวมาก และพวกเขาก็อยู่ในช่วงวัยที่ใส่ใจให้ความสำคัญเกี่ยวกับเสื้อผ้าที่สวมใส่ ฉันคอยบันทึกว่าฉันใช้จ่ายไปเท่าไหร่ในช่วง 6 เดือน  ต่อมาในเดือนสิงหาคมฉันก็ให้ลูกๆแต่ละคนในจำนวนที่ฉันจ่ายเงินให้พวกเขาในช่วงเวลา 3 เดือน เมื่อถึงช่วงเริ่มต้นของทุกๆเทศกาล ฉันจะจ่าย เบี้ยเลี้ยงค่าเสื้อผ้าให้ลูกๆ เด็กชายทั้งหลายก็ได้เรียนรู้ที่จะซื้อถุงเท้าที่ถูกมากๆ พอพอกับการใช้เงินทั้งหมดสำหรับเสื้อแจ็คเก็ตที่ถูกใจ  พวกเขาเรียนรู้ซื้อของจากแรงกระตุ้นภายใน และเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า และครั้งแล้วครั้งเล่า พวกเขาเรียนรู้ที่จะวางแผนล่วงหน้า ฉันต้องประหลาดใจว่าแต่ละคนเขาเลือกหนทางที่แตกต่างกันที่จะใช้เงินของพวกเขาอย่างไร และหลังจาก 4 ปีพวกเขาทั้งหมดก็มั่นใจเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องใช้จริงๆและจะหาของเหล่านั้นได้จากที่ไหน

            สำหรับค่าใช้จ่ายในระดับมหาวิทยาลัย ฉันก็ใช้ระบบเดิม ดูราวกับว่าควรจะมีความยุติธรรมเกี่ยวกับจำนวนของเงินที่แต่ละคนได้รับ ฉันชัดเจนเรื่องจำนวนเงิน ถ้าลูกชายคนนึงเลือกที่จะมีไลฟ์สไตล์ราคาแพง ซึ่งทำให้เงินขาดมือ ก็จำเป็นที่จะต้องทำงานเพื่อที่จะชดเชยส่วนต่าง ผลที่ตามมาคือพวกเขาก็จะต้องทำงานที่หลากหลายขึ้นในขณะที่อยู่ในรร. และบ่อยครั้งที่สิ่งเหล่านี้นำไปสู่โอกาสอื่นๆ  บรรดาลูกชายของฉันต่างก็รู้สึกสบายสบายเมื่อจะต้องออกไปสมัครงานและผ่านกระบวนการสัมภาษณ์งาน

        
Picture
​ การทำให้เกิดความยุติธรรมภายในครอบครัวเกี่ยวกับงานบ้านและเงิน นั้นคือประสบการณ์การเรียนรู้ที่เสมอต้นเสมอปลาย มันเป็นโอกาสสำหรับพ่อแม่ที่จะสอนให้พวกเขารู้เกี่ยวกับคุณค่า ที่พ่อแม่ยึดถือให้แก่ลูกๆของพวกเขา การจัดการประชุมครอบครัวอย่างเป็นจังหวะประจำสม่ำเสมอ ก็จะช่วยสร้างพื้นที่ ที่สามารถนำประเด็นทั้งหลายออกมาพูดคุย เพื่อสร้างความไว้วางใจและความยุติธรรมให้เกิดขึ้น มันเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะสร้างวงแห่งการพูดคุย ซึ่งพ่อแม่และลูกแต่ละคน มีโอกาสได้ใช้ในการแสดงเสียงของตัวเอง ในขณะที่พ่อแม่ก็ยังคงรักษาบทบาทของความเป็นผู้ใหญ่ไว้ได้  ในเวลานี้ก็สามารถใช้เป็นเวลาในการเล่นเกมด้วยกัน กินขนมด้วยกัน และวางแผน การเดินทางท่องเที่ยวของครอบครัวได้ด้วย  

​    ความท้าทายของการเป็นพ่อแม่นำมาซึ่งเติบโตและรางวัลที่มากมายรวมถึงบางอย่างในความสัมพันธ์ที่รุ่มรวยในชีวิตของคน 
 ต้นฉบับภาษาอังกฤษ เขียนโดย Barbara Klocek  ตีพิมพ์ในวารสาร Renewal, A Journal for Waldorf Education, Vol 11 #2, Fall/Winter 2002)
 
About the Author : Barbara Klocek เป็นทั้งศิลปิน ครูอนุบาล และ นักศิลปะบำบัดใน Fair Oak, California  เธอได้รับปริญญาโทรสาขาวิจิตรศิลป์จาก Temple University และได้ศึกษามนุษยปรัชญาและ การศึกษาวอลดอร์ฟ ที่ Rudolf Steiner College เธอออกเดินทางบ่อยครั้งและจัดเวิร์คช้อปร่วมกับสามีของเธอ Dennis Klocek  ลูกชายทั้ง 3 คนของเธอต่างจบจาก Sacramento Waldorf School ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เธอสอนด้วย)

#ครอบครัวบ้านเรียน #โฮมสคูล ที่บ้านอยู่ไม่ไกลจาก บ้านสำราญ แจ้งวัฒนะ 14  ​และสนใจแนวทางการศึกษา #วอลดอร์ฟ ต้องการชุมชนที่เอื้อเฟื้อแบ่งปัน ช่วยกันบ่มเพาะดูแลเด็กๆให้เติบโตอย่างมั่นคงไปพร้อมกับการเตรียมตัวพ่อแม่ให้เป็นเสาหลักอันมั่นคงให้ลูก ติดต่อสอบถาม ทำความรู้จักกันได้นะคะ

Inbox : https://m.me/mamata.family
Line OA : https://lin.ee/Ab6x3Az
โทร : 0814156364
0 Comments

Book Preview : Understanding Child Development

1/11/2021

0 Comments

 
Picture
Picture
​            Understanding Child Development ความเข้าใจพัฒนาการของเด็ก เป็นการรวบรวมชุดการเรียนการสอน การศึกษาทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ จากประสบการณ์หลายปี ของทีมผู้เขียนผู้จัดทำหนังสือในฐานะครูนักการศึกษาวอลดอร์ฟระดับอนุบาล ระดับประถม และหัวหน้าทีมของผู้สอนในคอร์สการอบรมสัมมนาครูวอลดอร์ฟ และด้วยการสนับสนุนงานวิจัยจากสมาคมอนุบาลวอลดอร์ฟในประเทศเยอรมัน และ มูลนิธิ Helmut von Kügelgen จึงทำให้หนังสือเล่มนี้สามารถออกเผยแพร่แก่นักอ่านได้ 
               ทีมผู้เขียนผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ได้แก่
           Dr.Wolfgang-M.Auer  ครูผู้มีประสบการณ์ในโรงเรียนสไตเนอร์วอลดอร์ฟกว่า 30 ปี ปัจจุบันเดินทางบรรยายให้แก่ครู ผู้ปกครอง ผู้สนใจทั่วโลก โดยเน้นไปยังมานุษยวิทยา การศึกษา และ พัฒนาการของประสาทสัมผัส 
              Dr.Angelika Wiehl ผู้ร่วมก่อตั้ง  Wolfsburg Waldorf School ในประเทศเยอรมัน และ เป็นครูหลายปี ปัจจุบันเป็นอาจารย์ผู้บรรยายเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์การศึกษา และ การศึกษาวอลดอร์ฟที่ The Institue of Waldorf Education, Inckusion and Interculturality , Alanus University , Manheim, Germany 

               ต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้ เป็นภาษาเยอรมัน และได้การการแปลเป็นภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกโดย  Margot M.Saar ครูผู้สอนที่โรงเรียนวอลดอร์ฟในประเทศอังกฤษ มากว่า 20 ปี เธอได้แปลหนังสือหลายเล่ม และปัจจุบันได้ทำงานเป็นนักแปลและล่ามในการประชุมสัมมนาต่างๆอย่างเต็มตัว 
              


          หัวใจของหนังศึกษาเล่มนี้ ประกอบไปด้วยสาระสำคัญหรือข้อความต้นฉบับที่นำมาจากงานเขียนและปาฐกถาของรูดอล์ฟ สไตเนอร์  โดยส่วนมากของสิ่งที่สไตเนอร์ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการศึกษาวอลดอร์ฟได้ถูกบันทึกไว้ระหว่างการปาฐกถา  ดังนั้นแม้จะไม่เอื้อต่อการวิพากษ์ ตีความตามตัวอักษร แต่ก็เหมาะแก่การนำมาเปรียบเทียบและลงลึกในความหมาย  แม้หนังสือเล่มนี้จะมุ่งเน้นเป็นหลักเกี่ยวกับวัยเด็ก แต่ก็ได้รวมเอาส่วนที่เป็นสาระสำคัญจากข้อความต้นฉบับที่สะท้อนแก่นความความคิดต่อบางหัวโดยเฉพาะ และ เอื้ออำนวยให้เกิดการศึกษาต่อไปในหัวข้อเฉพาะเกี่ยวกับการศึกษาวอลดอร์ฟ นั่นคือวิถีทางที่ได้ถูกทดลองและนำไปใช้ในการศึกษาของครู  อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันลึกซึ้งยิ่งขึ้นในบริบทที่สไตเนอร์ได้นำเสนอความคิดของเขาไว้เกี่ยวกับมานุษยวิทยาและการศึกษา  จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้อ่านจะได้ไปศึกษาจากเนื้อหาฉบับเต็ม  ข้อความต้นฉบับที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้จะถูกนำเสนอเป็นหัวเรื่องเฉพาะ ตามด้วยคำแนะนำสั้นๆ  โดยมีข้อเขียนเกี่ยวกับมานุษยวิทยาและการศึกษาของเด็ก ซึ่งจะนำทางผู้อ่านไปยังผลงานวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ และ ความคิดเกี่ยวกับการศึกษาวอลดอร์ฟ 

Content สารบัญ 

Picture
Picture
Picture
Picture

Introduction  คำนำ โดย Wolfgang-M.Auer ,Angelika Wiehl 

(แปลโดย แม่ตา วรณัน โทณะวณิก)


​

 ไม่เคยมีความพยายามมากมายเท่านี้มาก่อนและมีสถาบันมากมายที่มุ่งปกป้องวัยเด็กเหมือนในตอนต้นของศตวรรษที่ ๒๑   ถึงกระนั้น เด็กจำนวนมากในทุกวันนี้ต้องเผชิญกับสภาพความเป็นอยู่ที่อันตรายและขาดสุขภาวะที่ดี  ขาดเวลา ความยากจน สงคราม การอพยพ การบริโภคสื่อ - มีเหตุผลมากมายว่าทำไมเด็ก ๆ จึงไม่เติบโตอย่างมีสุขภาวะที่ดีกว่าที่เป็นอยู่นี้  ในขณะที่วิถีชีวิตสมัยใหม่ สภาพสังคมและครอบครัว ความตระหนักรู้ของสาธารณชน และโรงเรียนต่างทำในสิ่งที่ทำได้เพื่อส่งเสริมวัยเด็กที่มีสุขภาวะดีและเบิกบาน เด็กๆ ยังคงบอบช้ำจากการถูกละเลยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน  ภาพที่ปรากฏไปทั่วโลกในปี 2015 เป็นภาพของร่างไร้ชีวิตของหนูน้อย Aylan Kurdi วัย 3 ขวบ ซึ่งจมน้ำตายในทะเลระหว่างซีเรียและกรีซ เป็นภาพที่น่าตกใจอย่างยิ่ง  แต่เด็กๆ ทุกวันนี้ไม่เพียงแค่ตกอยู่ในอันตรายจากสงครามและการพลัดถิ่นเท่านั้น  ในโลกตะวันตก เรามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ของสื่อดิจิทัล ระบบการศึกษาที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นตัวนำ และความพยายามหรือการปกป้องเกินจริงของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งหมดนี้เองทำให้เด็กๆถูกเหลือขอบเขตพื้นทเพียงเล็กน้อยสำหรับการพัฒนาปัจเจกภาพส่วนบุคคล (Individuality) ซึ่งนั่นนับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากโดย ทั่วไปแล้วเด็กจะพัฒนาตามช่วงอายุ (Phase) เริ่มตั้งแต่วัยทารกจนถึงกลางวัยเด็ก จากนั้นเข้าสู่วัยรุ่นและต่อมาเป็นผู้ใหญ่ การเรียนรู้สิงต่างๆด้วยตัวเองในฐานะปัจเจกบุคคลตามความสนใจใคร่รู้ของตน หรือ "กำลังภายใน (inner forces)" ตามที่วิลเฮล์ม ฟอน ฮุมโบลดต์* ได้แนะนำไว้ (ฮัมโบลดต์ 1792/2015)  )  เพื่อที่จะพัฒนาตนเองด้วยความมีศักดิ์ศรี เด็กๆจึงต้องพึ่งพาความรักและการปกป้องของผู้ใหญ่เสมอ จนกระทั่งในวัยรุ่นเท่านั้นที่พวกเขาจะค่อยๆมีความสามารถในการรับผิดชอบในการกำหนดชีวิตของพวกเขาเอง  
(*Wilhelm von Humboldt, (1767-1835) นักภาษาศาสตร์ชาวเยอรมัน นักปรัชญา และนักปฏิรูปการศึกษา ) 

    หากครอบครัวไม่สามารถจัดหาการศึกษาที่บ่มเพาะดูแล และ บ้านให้ลูกได้อีกต่อไป ญาติพี่น้อง เพื่อน หรือสถาบันการศึกษาจะต้องรับหน้าที่นี้และเข้ามารับผิดชอบ การสนับสนุนและการคุ้มครองเด็กแบบชุมชนพื้นเมืองหรือในชนบทที่ดูแลเล็ก "โดยใช้สัญชาตญาณ" ต้องถูกนำมาใช้ด้วยหนทางใหม่ในสังคมตะวันตกสมัยใหม่  เราจำเป็นต้องค้นหา(อีกครั้ง)ถึงความเข้าใจในสิ่งที่ทำให้เราเป็นมนุษย์  (We need to (re-)find an understanding of what makes us human) เพื่อให้แน่ใจว่า เด็กๆ จะไม่ถูกมองอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็น พรหรือภาระ (blessing or burden)  คนที่มาทดแทนใคร (substitute partners) หรือแม้กระทั่งวัตถุอันทรงเกียรติ (prestigious objects) แต่ในฐานะบุคคลที่ได้รับเคารพนับถืออย่างเต็มที่โดยมีจุดมุ่งหมายในชีวิตและของตนเอง รวมถึงสิทธิของตนเองด้วย (as fully respected individuals with their owns aims in life and their own right)   อย่างไรก็ตาม ในสังคมยังมีจำนวน ผู้ใหญ่ นักการศึกษา ครู แพทย์ หรือ สถาบันต่างๆ ไม่มากนักที่คอยปกป้องคุ้มครองเด็ก และจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น  สังคมโดยรวมทั้งหมด จำเป็นต้องร่วมคิดใหม่เกี่ยวกับวัยเด็กและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก  จากวัยแรกรุ่น กล่าวคือ นับตั้งแต่ช่วงเวลาที่คนหนุ่มสาวสามารถมีลูกได้ พวกเขาต้องเข้าใจว่าตนเองต้องมีความรับผิดชอบต่อมนุษยชาติด้วยเช่นกัน และ รู้ว่าคุณสมบัติต่างๆที่จะทำให้เราเป็นมนุษย์นั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลบ่มเพาะด้วยเช่นกัน   วัยรุ่นและคนหนุ่มสาวต้องเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจนี้ในวันนี้ ไม่ว่าพวกเขาจะเริ่มต้นครอบครัวและมีลูกของตัวเองหรือไม่ หรือ จะมีเมื่อไหร่ก็ตาม  สภาพความเป็นอยู่ในโลกตะวันตกมีทุกสิ่งที่จำเป็น : พ่อแม่สามารถเตรียมตัวก่อนมีลูกได้ และพวกเขาจะได้รับการสนับสนุนทางการแพทย์ สังคม และการศึกษาในการเลี้ยงดูลูก  สิ่งที่จำเป็นในการส่งเสริมการพัฒนาเด็กมีอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับเราแต่ละคนที่จะตัดสินใจว่าจะใช้สิ่งนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร  เราแต่ละคนล้วนมีความรับผิดชอบที่จะให้ความสนใจต่อวัยเด็กและใส่ใจในป้จเจกภาพของเด็กแต่ละคน  

          การศึกษาวอลดอร์ฟ  ของ Rudolf Steiner สามารถให้แนวทางที่มีคุณค่าสำหรับทัศนคติทางการศึกษา ซึ่งรับสัญญาณแรกจากชะตาชีวิตของเด็กแต่ละคน นับเป็นทัศนคติที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาโดยพ่อแม่และบุคคลากรวิชาชีพในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถาน รับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน และสถาบันการศึกษาอื่นๆ    
นับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา หนังสือเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาในโรงเรียนจำนวนมากได้รับการตีพิมพ์ โดยเน้นที่แง่มุมที่หลากหลายและสร้างแนวความคิดเฉพาะที่ได้มาจากแนวคิดทางมานุษยวิทยาและการศึกษาของ Steiner ในบรรดาผู้เขียนหนังสือเหล่านี้ Karl Königและ Bernhard Lievegoed สมควรได้รับการกล่าวถึงเป็นพิเศษสำหรับการอธิบายหลักมนุษยปรัชญาของการพัฒนาเด็กในด้านการศึกษาพิเศษและการแพทย์ หนังสือของพวกเขายังคงได้รับการตีพิมพ์ใหม่และกลายเป็นสื่อการเรียนรู้พื้นฐานในการฝึกอบรมครู Waldorf (König/Soldner 2017; Lievegoed 2016) พวกเขาสำรวจและพัฒนาความคิดทางมนุษยปรัชญาและการสอนของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ซึ่งช่วยให้เข้าถึงเชิงปฏิบัติของแหล่งการศึกษาของวอลดอร์ฟได้ 

      ในปี ค.ศ. 1971 ชุดข้อความต้นฉบับชุดแรกเกี่ยวกับมานุษยวิทยาของการศึกษาวอลดอร์ฟ แก้ไขโดย Elisabeth Grunelius และ Helmut von Kügelgen ได้รับตีพิมพ์เป็นเอกสารประกอบการศึกษาโดย German Waldorf Kindergarten As-sociation (Das Wesen des kleinen Kindes) และโดย International Association of Waldorf Kindergarten  (การเข้าใจเด็กเล็ก) บทสรุปนี้ยังคงเอกลักษณ์ในแง่ที่ว่า มันได้รวบรวมเอาถ้อยแถลงมากมายของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ที่กล่าวเกี่ยวกับวัยเด็ก โดยเฉพาะในช่วง 7 ปีแรกของชีวิต ซึ่งโดยทั่วไปมักจะกระจัดกระจายอยู่ตามปาฐกถาและงานเขียนต่างๆและทำให้เป็นไปได้ที่จะศึกษาเรื่องราวเฉพาะด้านในบริบท   อย่างไรก็ตาม หนังสือนี้ไม่ได้ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในภาษาเยอรมัน และไม่ได้ถูกนำไปเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษอีกต่อไป  เนื่องจากขาดการแนะนำและคำอธิบายของแนวคิดและเนื้อหา ที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับมนุษยปรัชญา ซึ่งคนต่างคาดหวังที่จะได้เห็นในบรรดาตำราเรียนดังกล่าวในปัจจุบัน  ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาสมัยใหม่ในด้านจิตวิทยาพัฒนาการเผยให้เห็นว่าช่วงต่างๆของวัยเด็กและเยาวชนนั้นไม่สามารถแบ่งออกได้เป็นช่วงเจ็ดปีอย่างเข้มงวดตามที่งานเขียนเกี่ยวกับการศึกษาของวอลดอร์ฟมักจะบอกเป็นนัย มีข้อบ่งชี้ --เช่น ในการศึกษาระยะยาวที่ดำเนินการโดย Remo Largo (2017)—ว่าช่วงพัฒนามีความเฉพาะตัวมากขึ้นเรื่อยๆ และการแบ่งช่วงชีวิต ช่วงละ 7 ปีนั้น ควรถูกมองเป็นอุดมคติ  ในขณะที่ Rudolf Steiner ได้อธิบายพัฒนาการของมนุษย์ว่าเป็นการเผยออกมาระหว่างช่วงเจ็ดปี เขายังได้กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่าน เช่น Rubicon เป็นต้น ซึ่งเด็กๆ มักจะมีประสบการณ์ในช่วงขวบปีที่ 9 หรือ 10  เมื่อพวกเขามีสติสัมปชัญญะมากขึ้นในการสัมพันธ์กับโลก (Föller-Mancini/Berger 2016) ครูวอลดอร์ฟ มองว่าช่วงเวลาสำคัญนี้เป็นตัวแทนของการสิ้นสุดของช่วงแรกของวัยเด็ก อันจะตามมาด้วยช่วงกลางของวัยเด็กและวัยแรกรุ่นตอนต้น ข้อความต้นฉบับจากงานของ Steiner ที่รวมไว้ที่นี่ (บทที่ 5) ได้รับการคัดเลือกโดยเฉพาะสำหรับความเกี่ยวข้องกับอายุถึงปีที่ 9 หรือ 1o ปี ประกอบกับเนื้อหาอื่นๆในหนังสือเล่มนี้ เพราะฉะนั้นจึงสัมพันธ์กับการศึกษาก่อนวัยเรียน (preschool) และการศึกษาปฐมวัย (early childhood) 

      หนังสือ  Understanding Child Development  (การทำความเข้าใจพัฒนาการเด็ก) เล่มนี้ ได้รับการตีพิมพ์เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนพื้นฐานดังกล่าวเพื่อนำไปใช้ –นอกเหนือจากตำราดั้งเดิมของสไตเนอร์  ที่เกี่ยวกับ หลักมานุษยวิทยาและการศึกษา(วอลดอร์ฟ)-- ในการจัดสัมมนาการสอนและหลักสูตรการศึกษา ชุดที่คัดสรรของหัวข้อมานุษยวิทยาและการศึกษาที่นำเสนอมีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับวาทกรรมเกี่ยวกับการศึกษาเด็กในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นหัวข้อที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก ซึ่งอธิบายไว้ในกรอบของความเรียงที่มีข้อความต้นฉบับเหล่านี้ฝังอยู่ในนั้น ข้อความต้นฉบับเหล่านี้มีพื้นฐานมาจากมานุษยวิทยาของสไตเนอร์ (มุมมองของเขาที่มีต่อมนุษย์และการพัฒนาการมนุษย์) และจำเป็นต้องถูกมองเห็นในบริบทร่วมสมัยของพวกเขาด้วย

     บทที่ 2 ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ "มานุษยวิทยาในวัยเด็กจากมุมมองของการศึกษาวอลดอร์ฟ" ในการเตรียมตัวสำหรับการศึกษาข้อความต้นฉบับ (บทที่ 5) มีการนำเสนอหัวข้อหลักสามประการที่จำเป็นสำหรับความเข้าใจการศึกษาวอลดอร์ฟ ได้แก่ 
•    แนวคิดหรือความรู้ของ "I (ตัวฉัน)" 
•    แนวคิดเรื่องการกลับชาติมาเกิด 
•    ทฤษฎีของสไตเนอร์เรื่อง องค์ประกอบสี่ส่วนของมนุษย์  

    หมวดที่ว่าด้วยองค์ประกอบร่างกายของเด็ก จะมองเห็นเด็กว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ทั้งทางกาย จิต และจิตวิญญาณ และรวมถึงประสบการณ์จากการฝึกสอนด้วย 

        บทที่ 3 Wolfgang-M. Auer ให้เค้าโครงเรื่อง "การพัฒนาและการให้ศึกษาประสาทสัมผัส" บนพื้นฐานของแนวคิดของ Steiner เกี่ยวกับประสาทสัมผัสทั้ง 12  ซึ่งได้ศึกษาจากมุมมองต่างๆในอดีต แต่ได้มีการค้นคว้าใหม่โดย Auer (Auer 2007)  การมองดูประสาทสัมผัสทั้งสิบสองในแง่มุมของมานุษยวิทยาไม่เพียงทำให้เห็นความเป็นไปได้ต่างๆในแง่มุมการวินิจฉัยเท่านั้น แต่ยังสร้างแรงบันดาลใจมากมายสำหรับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาในโรงเรียนด้วย  การเรียนรู้และการเอาใจดูแลประสาทสัมผัสทั้งหลายนี้ อันเป็นสิ่งที่นักการศึกษาและครูต้องการการฝึกอบรมพิเศษ ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานทั้งหมดที่เด็กนจำเป็นต้องพัฒนา

       บทที่ 4 Angelika Wiehl นำเสนอภาพรวมของมานุษยวิทยาและการศึกษาการเลียนแบบของเด็ก  Rudolf Steiner มองว่าการเลียนแบบเป็นนิสัยการเรียนรู้ที่โดดเด่นในช่วงเจ็ดปีแรกของวัยเด็ก  โดยรวมทั้งการค้นพบความรู้ในสาขาต่างๆ เช่น สุนทรียศาสตร์ สังคมวิทยา และชีววิทยา สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการเลียนแบบเป็นวิชาที่มีความสำคัญไม่เพียงแต่ในวัยเด็กแต่ตลอดชีวิตเพราะทำให้เราครอบครองโลก พัฒนาและ  เปลี่ยนตัวเองและสร้างสรรค์  ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องสร้างสภาพที่เหมาะสม ทั้งในสถาบันการศึกษาและที่บ้าน ที่เอื้อต่อการเรียนรู้แบบตัวต่อตัวเพื่อให้เด็กเลียนแบบอย่างเป็นธรรมชาติ  

       บทที่ 5 ก่อร่างสร้างหัวใจของหนังสือเล่มนี้    โดยการนำเสนอข้อความต้นฉบับเกี่ยวกับมานุษยวิทยาและการศึกษากี่ยวกับเด็ก ที่นำมาจากช่วงวัยต่างๆ ในชีวิตการทำงานของรูดอล์ฟ สไตเนอร์  ข้อความหรือเนื้อหาสกัดออกมา แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของการศึกษาของวอลดอร์ฟในวัยเด็ก และนำเสนอในบทย่อยโดยแต่ละบทมีบทนำของหัวข้อนั้นๆ ทั้งบทมีสื่อการเรียนเพื่อใช้ในการฝึกอบรมครูและการพัฒนาวิชาชีพ  ชุดของเนื้อหาที่รวบรวมมานี้ ได้รวมเอาแง่มุมต่างๆของวัยเด็กตามที่รูดอล์ฟ สไตเนอร์นำเสนอในงานของเขา  ในขณะที่แง่มุมเหล่านี้ได้ถูกนำไปใช้จริงในการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติและถูกนำไปอ้างอิงถึงในข้อเขียนต่างๆที่เกี่ยวข้อง แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการจัดทำเป็นเอกสารการเรียนรู้ที่แยกออกมาต่างหาก 

       บทที่ 6 ให้แนวคิดสำหรับการศึกษาและฝึกปฏิบัติ ของการศึกษาวอลดอร์ฟ บางส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาจากหนังสือและส่วนอื่นๆ กับการลงมือปฏิบัติจริง  นอกเหนือจากพื้นฐานทางทฤษฎีแล้ว มานุษยวิทยาของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ยังรวมถึงแนวทางในการนำทฤษฎีนี้ไปปฏิบัติด้วย  อย่างไรก็ตาม แทนที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการทำงาน สไตเนอร์ได้เสนอแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจเพื่อเป็นหนทางเฉพาะตนในการศึกษาของเด็ก   

    บทที่ 7 David Martin และ Silke Schwarz มองอนาคตของวัยเด็กในศตวรรษที่ 21  จากการวิจัยและประสบการณ์ของตนเองในฐานะผู้ประกอบโรคศิลป์ทางการแพทย์   พวกเขาเรียกร้องความสนใจต่อปรากฏการณ์สมัยใหม่หลายอย่างที่อาจขัดขวางหรือส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีสุขภาวะดี  แนวทางของพวกเขาในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กและสุขภาพเด็กในยุคดิจิทัลและการเร่งความเร็วนั้นมีรากฐานมาจากข้อมูลเชิงลึกของมานุษยวิทยาที่ได้รับการแนะนำในบทที่แล้วและถูก่าวกลไว้ในข้อความต้นฉบับ

      ด้วยเหตุผลด้านพื้นที่ บรรณานุกรมจึงจำกัดเฉพาะแหล่งข้อมูลที่ใช้และอ้างถึงในหนังสือเล่มนี้ ไม่ใช่รายการงานเขียนทั้งหมดที่มีในหัวข้อการศึกษาวอลดอร์ฟ งานของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ หากไม่ใช่ฉบับพิเศษ จะมีการอ้างถึงด้วยหมายเลข GA (หมายเลขที่กำหนดในแคตตาล็อกผลงานที่รวบรวมเป็นภาษาเยอรมัน) และอ้างอิงในข้อความว่า "Steiner GA" ตามด้วยหมายเลขที่เกี่ยวข้อง 

Preview Book (ตัวอย่างหนังสือ) 

Additional Information  รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือ 

Format: paperback ปกอ่อน
Size: 228 x 152 mm
Publisher: WECAN (Waldorf Early Childhood Association of North America)
​Extent: 234 pages
ISBN: 9781936849536
Publication date: 06 Aug 2020

Purchase Order   สั่งซื้อหนังสือ 

Facebook Inbox: https://m.me/mamata.family
Line OA:  https://lin.ee/Ab6x3Az 
Shopee:  https://shp.ee/v9k69tj   (เก็บโค้ดส่งฟรี หรือ Coin Cash Back)
Tel. 081-415-6364 (แม่ตา)
0 Comments

นิทานต้อนรับน้องใหม่

21/6/2021

0 Comments

 
                 ทุกๆครั้งที่ได้รับข่าวดีจากคุณพ่อคุณแม่เกี่ยวกับการมาถึงของลูกน้อยอีกคน แม่ตาจะรู้สึกตื่นเต้นดีใจตามไปเสมอ เพราะเด็กน้อยที่กำลังมาเขานำพาสาส์นสำคัญจากโลกจิตวิญญาณมาอัพเดตกับพวกเราผู้ใหญ่ โดยเฉพาะกับพ่อแม่ของเขา ซึ่งเราต่างก็เคยมาจากที่เดียวกันเมื่อนานมาแล้ว และ โดยไม่ทันรู้ตัวพวกเราก็ลงหลักปักลึกในโลกแห่งกายภาพแห่งวัตถุ มุ่งตรงไปยังความคิดเชิงเหตุผลเสียเป็นส่วนใหญ่ ภารกิจสำคัญของเหล่าเทวดาน้อยนั้นมีอยู่ แต่งานแรกๆคือ เปิดดวงตาของผู้สังเกต (observation eyes) ของพ่อแม่และ ผู้ดูแลหลัก ( Primary Care Giver)
             และแน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงในครอบครัวย่อมเกิดขึ้น และที่พ่อแม่หลายคนมักมาขอคำปรึกษาคือ เราจะดูแลหัวใจของเด็กพี่ หรือ เทวดาองค์โตที่มาถึงก่อนหน้าได้อย่างไร

               นิทานเรื่องนี้ แม่ตาแปลและแบ่งปันให้แก่พ่อแม่สมาชิกบ้านสำราญมาหลายปี  จังหวะช่วงเวลานี้มีคุณแม่ในสมาชิกบ้านสำราญที่รักใคร่สนิทสนมมาบอกข่าวดีนี้ จึงคิดว่าควรนำมาแบ่งปันให้บ้านที่กำลังรอต้อนรับเทวดาน้อยองค์ใหม่ และดูแลหัวใจของเทวดาน้อยองค์โตไปพร้อมกัน
            The Water Child  เป็นนิทานต้อนรับน้องใหม่ แม่ตาแปลจาก หนังสือ Healing Stories for Challenging Behaviour. ของสนพ. Hawthorn Press เขียนโดย อาจารย์  Susan Perrow คุณครูผู้มีชื่อเสียงเรื่อง นิทานบำบัด
        เป็นนิทานที่แต่งขึ้นสำหรับเด็กชายอายุสี่ขวบคนหนึ่ง เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ของเขาได้บอกข่าวเกี่ยวกับน้องสาวคนใหม่ที่กำลังจะมาถึง  ธีมของน้ำที่ถูกหยิบยกมาใช้ในเรื่องนี้ เพื่อเชื่อมโยงกับการคลอดในน้ำที่คุณแม่วางแผนไว้สำหรับน้องใหม่ คุณพ่อคุณแม่อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม  
​

(ภาพประกอบ จาก Internet)​
Picture

             กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเด็กชายตัวน้อยๆคนหนึ่ง เขามีเพื่อนคนพิเศษคนหนึ่ง ซึ่งเพื่อนคนนี้ไม่เหมือนเพื่อนคนอื่นๆของเขา เพื่อนคนนี้อาศัยอยู่ในที่ไกลแสนไกล สูงขึ้นไปในสรวงสวรรค์ท่ามกลางมวลเมฆบนท้องฟ้า
         
          บางครั้งในขณะที่เด็กชายตัวน้อยกำลังเดินอยู่ในสวน เขาได้ยินเสียงเพื่อนคนพิเศษกระซิบแผ่วเบามาจากเบื้องบน บางครั้งในความฝันยามค่ำคืน เขาก็ได้ขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนคนพิเศษของเขาที่บ้านแห่งสรวงสวรรค์ท่ามกลางมวลเมฆ และเด็กทั้งสองก็ได้เล่นด้วยกันอย่างสนุกสนาน เขาทั้งคู่ม้วนตัวเกลือกกลิ้งไปมาบนปุยเมฆนุ่มขาว กระโดดจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังอีกก้อนหนึ่งอย่างมีความสุข

     และแล้ว วันหนึ่งเพื่อนคนพิเศษของเขาตัดสินใจว่า ถึงเวลาแล้วที่เขาต้องจากบ้านแห่งสรวงสวรรค์ท่ามกลางมวลเมฆของเขา ลงมาอาศัยอยู่บนโลกในครอบครัวเดียวกับเด็กชายตัวน้อย

              เพื่อนคนพิเศษกล่าวอำลาทุกๆคนที่บ้านแห่งสรวงสวรรค์ท่ามกลางมวลเมฆ และจากนั้นเทพีแห่งสายฝน ได้นำผ้าคลุมสีม่วงมาห่มคลุมตัวเธอไว้ แล้วอุ้มเธอลงมาพร้อมหยาดฝน เทพีแห่งสายฝนค่อยๆบรรจงวางเธอลงอย่างนุ่มนวลบนโลกเบื้องล่างในบึงน้ำใหญ่ที่เต็มไปด้วยน้ำใสเย็น

                 พ่อแม่ของเด็กชายตัวน้อยกำลังเฝ้ารอเธอ พวกเขาอุ้มเธอขึ้นมาจากบึงน้ำนั้นและเชื้อเชิญให้เด็กชายตัวน้อยๆได้พบกับเธอ

                "เด็กคนนี้คือน้องสาวคนใหม่ของลูกจ้ะ" พ่อกับแม่กล่าว
           "น้องชื่อ ไลลา* น้องมาที่นี่เพื่อจะอยู่กับพวกเรา น้องต้องการเวลาสักหน่อยเพื่อจะค่อยๆเติบโต และ ทำความคุ้นเคยกับโลกใบนี้ แต่ในไม่ช้า น้องก็จะพร้อมเล่นกับลูกจ้ะ"


                 มันช่างเป็นวันที่แสนสวยงาม และครอบครัวของเด็กชายตัวน้อยช่างแสนมีความสุขที่มีสมาชิกตัวน้อยคนใหม่มาอาศัยอยู่ร่วมกันในบ้านของพวกเขา

            เด็กชายตัวน้อยตั้งอกตั้งใจวาดภาพหลายภาพเพื่อนำไปประดับบนผนังห้องนอนของน้องใหม่ เขาค่อยๆเก็บรวบรวมใบไม้และดอกไม้สีสันสดสวยเพื่อมาทำโมบายล์แขวนไว้เหนือเตียงของน้อง บางครั้งเขาอุ้มน้องไว้ในอ้อมแขนของเขา กอดน้อง และร้องเพลงกล่อมให้น้องนอนหลับฝันดี

             ไม่นานนัก ไลลา* ก็เติบโตขึ้น และแข็งแรงพอที่จะคลานไปรอบๆบ้าน  เดิน และ วิ่งได้ในที่สุด

           และเมื่อถึงงานวันเกิดครบหนึ่งขวบของ ไลลา* เด็กชายตัวน้อยก็ได้ช่วยน้องเปิดกล่องของขวัญแรกของเธอ มันคือลูกบอลสีทอง เด็กชายตัวน้อยกลิ้งลูกบอลบนพื้นจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งของห้อง และน้องของเขาก็กลิ้งลูกบอลส่งกลับมาหาเขา


         เด็กชายตัวน้อยหัวเราะ น้องสาวของเขาก็หัวเราะ ทั้งคู่เล่นลูกบอลสีทองด้วยกันอย่างสนุกสนานเหมือนเมื่อครั้งที่ทั้งสองเคยเล่นกันที่บ้านแห่งสรวงสวรรค์ท่ามกลางมวลเมฆ

                                              ....................................................

Picture
สนใจหนังสือ Healing Stories เล่มนี้ ติดต่อ ​https://lin.ee/Ab6x3Az

RSS Feed

0 Comments

What is Waldorf Early Childhood Education? การศึกษาปฐมวัยวอลดอร์ฟคืออะไร

12/10/2020

0 Comments

 

แปลจาก บทแถลงการณ์ของ IASWECE – International Association for Steiner/Waldorf Early Childhood Education  เมื่อวันที่ April 2019  โดย  แม่ตา วรณัน โทณะวณิก (Translated by MaMaTa  - Woranun Donavanik )

Picture
  Essential Characteristics of Steiner/Waldorf Education for the Child from Birth to Seven
ลักษณะสำคัญของการศึกษาสไตเนอร์/วอลดอร์ฟ สำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงเจ็ดขวบ



The future development of each individual child and of humanity as a whole depends on health-giving experiences in the first seven years of life. An atmosphere of loving warmth and guidance that promotes joy, wonder, and reverence supports such healthy development. The most essential aspect of the work with the little child is the inner attitude of the educator, who provides the example for the child’s imitation. Therefore the work of the Waldorf educator demands an ongoing process of research and self-education including anthroposophical study, meditative practice, artistic and practical activity.
พัฒนาการในอนาคตของเด็กแต่ละคนและของมนุษยชาติโดยองค์รวมขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการมอบสุขภาวะที่ดีในช่วงเจ็ดปีแรกของชีวิต บรรยากาศแห่งความรักความอบอุ่นและการนำทางที่ส่งเสริมความเบิกบาน ความอัศจรรย์ใจ และความเคารพนบนอบ ล้วนมีส่วนช่วยสนับสนุนพัฒนาการที่มีสุขภาวะที่ดีของเด็กๆ  สิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำงานกับเด็กเล็กคือทัศนคติภายในของผู้ให้การศึกษา (พ่อ แม่ ครู และผู้ดูแลเด็ก : ผู้แปล) ซึ่งเป็นตัวอย่างให้เด็กๆได้ทำตาม  ดังนั้นการทำงานของนักการศึกษาวอลดอร์ฟ จึงต้องการกระบวนการค้นคว้า และการศึกษาด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการศึกษาแนวทางมนุษยปรัชญา การฝึกฝนภาวนา  กิจกรรมทางศิลปะและการฝึกฝน
 
In Waldorf nursery-kindergartens, home care programs, childcare centers, parent-child programs and other settings, foundations are laid for later learning and healthy development, including life-long physical, social, emotional, intellectual, and spiritual growth.
ในสถานรับเลี้ยงเด็ก และอนุบาลวอลดอร์ฟ โปรแกรมการดูแลที่บ้าน ศูนย์ดูแลเด็ก โปรแกรมพ่อแม่ลูก และรูปแบบอื่น ๆ มีการวางรากฐานสำหรับการเรียนรู้ในช่วงต่อมา และพัฒนาการที่เปี่ยมสุขภาวะ รวมถึงการเติบโตไปจนตลอดชีวิต ทั้งทางร่างกาย สังคม อารมณ์ สติปัญญา และจิตวิญญาณ
 
This education, based on an understanding of the development of human individuality, offers protection and respect for the dignity of childhood. It includes an understanding of the unfolding development of the child from pre-birth to seven, including the unique significance of the development of walking, speaking and thinking in the first three years of life.
การศึกษานี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในการพัฒนาความเป็นปัจเจกของมนุษย์ให้ความคุ้มครองและเคารพในศักดิ์ศรีของวัยเด็ก รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการที่เผยออกมาของเด็กตั้งแต่ก่อนคลอดจนถึงเจ็ดขวบ รวมถึงความสำคัญอันเป็นเอกลักษณ์ของพัฒนาการ การเดิน การพูด และการคิดในช่วงสามขวบปีแรกของชีวิต
 
Activities in Waldorf early childhood education take into consideration the age-specific developmental needs of young children, from a focus on will-oriented physical activity in the first three years, then on imaginative play in the middle years of early childhood, and later a more cognitive approach to learning after the child enters school.
กิจกรรมต่างๆในการศึกษาปฐมวัยวอลดอร์ฟจะคำนึงถึงความต้องการตามพัฒนาการเฉพาะวัยของเด็กเล็ก โดยเน้นที่กิจกรรมฐานกายที่ขับเคลื่อนโดยพลังเจตน์จำนงในตัวเด็กในระยะสามปีแรกจากนั้นการเล่นตามจินตนาการ ซึ่งจะปรากฏในช่วงกลางของเด็กปฐมวัย และ ในช่วงต่อมา  จะมีวิธีการทางการเรียนรู้มากมาย หลังเด็กเข้าสู่โรงเรียน(ประถม)



Picture
Educational Principles
หลักการศึกษา
 
     Waldorf based programs may differ according to geography, culture, group size, age-range, and individual teaching approach. Granting these differences, Waldorf programs share certain fundamental characteristics:
   โปรแกรมที่ใช้วอลดอร์ฟอาจแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ขนาดกลุ่ม ช่วงอายุ และแนวทางการสอนของแต่ละบุคคล แม้จะมีความแตกต่างหลากหลาย แต่โปรแกรมกิจกรรมตามแนววอลดอร์ฟจะยังคงมีลักษณะพื้นฐานร่วมกันบางอย่าง นั่นคือ :

  • Loving interest in and acceptance of each child
    การให้ความสนใจที่เต็มไปด้วยความรักและการยอมรับในตัวเด็กแต่ละคน
 
  • Opportunities for self-initiated play with simple play materials as the essential activity for young children.
    โอกาสของการเล่นที่เด็กๆริเริ่มด้วยตัวเอง ด้วยของเล่นที่เรียบง่าย เป็นกิจกรรมจำเป็นสำหรับเด็กเล็ก
 
  • This is the young child’s work and makes it possible for them to digest and understand their experiences.
    นี่คืองานของเด็กเล็ก และ ช่วยให้เขาได้ย่อยประสบการณ์และเข้าใจประสบการณ์ของเขาเอง
 
  • Awareness that young children learn through imitation, through the experience of diverse sensory impressions, and through movement. Their natural inclination is to actively explore their physical and social environment. The surroundings offer limits, structure and protection, as well as the possibility to take risks and meet challenges.
         การตระหนักว่าเด็กเล็กนั้นเรียนรู้ผ่านการทำตาม ผ่านประสบการณ์ที่รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสที่หลากหลาย           และผ่านการเคลื่อนไหว  แนวโน้มตามธรรมชาติของเด็กๆคือการสำรวจสภาพแวดล้อมทางกายภาพและ            สังคมอย่างกระตือรือร้น สภาพแวดล้อมนั้นมีข้อจำกัด โครงสร้าง และการปกป้อง ตลอดจนความเป็นไป              ได้ที่จะเสี่ยงและเผชิญความท้าทาย

  • A focus on real rather than virtual experiences to support the child in forming a healthy relationship to the world.
         ให้ความสำคัญกับประสบการณ์จริงมากกว่าประสบการณ์เสมือนจริง เพื่อสนับสนุนเด็กในการก่อร่างสร้าง              ความสัมพันธ์ที่ดีต่อโลก

  • Artistic activities such as storytelling, music, drawing and painting, rhythmic games, and modeling that foster the healthy development of imagination and creativity.
          กิจกรรมทางศิลปะต่างๆเช่น การเล่านิทาน ดนตรี การวาดภาพ และการระบายสี การละเล่นที่มีจังหวะ                  และ   การปั้น ซึ่งช่วยส่งเสริมการพัฒนาที่เปี่ยมสุขภาวะของ จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
 

  • Meaningful practical work such as cooking, baking, gardening, handwork and domestic activity that provide opportunities to develop unfolding human capacities. Here the emphasis is on the processes of life rather than on learning outcomes.
          งานที่ลงมือทำอย่างมีความหมาย เช่นการทำอาหาร การอบขนม การทำสวน งานฝีมือ และกิจกรรมงาน              ในบ้าน ซึ่งให้โอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์  เราเน้นที่กระบวนการของชีวิตมากกว่า                 ผลลัพธ์จากการเรียนรู้

  • Predictable rhythms through the day, week and year that provide security and a sense of the interrelationships and wholeness of life. Seasonal and other festivals are celebrated according to the cultural and geographical surroundings.
         จังหวะที่คาดเดาได้ตลอดทั้งวัน ทั้งสัปดาห์ และทั้งปี ซึ่งก่อให้เกิดให้ความมั่นคงปลอดภัยและความรับรู้           ได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน และ ความสัมพันธ์อย่างเป็นองค์รวมของชีวิต มีการเฉลิมฉลองตามฤดูกาล             และเทศกาลอื่น ๆ ตามสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและท้องถิ่น
 
      We recognize that healthy child development unfolds most fully in the context of a community           with healthy social relationships among parents, teachers and children. In our administrative,               financial practices, and leadership processes, we work collaboratively rather than hierarchically.         Steiner/Waldorf early childhood programs are typically not-for-profit, as an expression of the             free cultural life, and are not based on self-interest or personal gain. Waldorf educators strive to        create such conscious, collaborative communities around the children in their care and see their           activity as part of a worldwide cultural impulse.
    เราตระหนักดีว่าพัฒนาการของเด็กที่มีสุขภาวะดีนั้นเผยตัวได้อย่างเต็มที่ที่สุด  เมื่ออยู่ท่ามกลางชุมชนที่มี          ความสัมพันธ์เชิงสังคมที่เข้มแข็งระหว่าง พ่อแม่ ครู และเด็ก  ในการบริหารจัดการ  การปฏิบัติทางการเงิน           และกระบวนการผู้นำของเรา  เราทำงานร่วมมือกันมากกว่า จะเป็นการบริหารงานตามลำดับชั้น โดยทั่วไป          แล้ว   โปรแกรมกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยสไตเนอร์ วอลดอร์ฟ นั้น จะไม่แสวงหาผลกำไร เนื่องจากเป็นการ     แสดงออกถึงชีวิตทางวัฒนธรรมที่เสรี และไม่ได้ตั้งอยู่บนความสนใจในเรื่องของตัวเอง หรือ ผลประโยชน์         ส่วนตน นักการศึกษาของวอลดอร์ฟพยายามสร้างชุมชนที่มีจิตสำนึก และเป็นชุมชนที่ทำงานร่วมกันอยู่รอบ       ตัวเด็ก ๆด้วยความเอาใจใส่ ห่วงใย และมองว่ากิจกรรมของพวกเขานั้นเป็นส่วนหนึ่งของแรงกระตุ้นที่ก่อให้        เกิดการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมทั่วโลก
 
The IASWECE Council members (early childhood educators and trainers from 36 countries) prepared this statement describing what we consider to be the essential characteristics of a Waldorf kindergarten.  We hope that this document will be a helpful reference for those who are working to develop Waldorf early childhood programs around the world.
สมาชิกสภา IASWECE (นักการศึกษาปฐมวัยและผู้ฝึกสอนจาก 36 ประเทศ) ได้เตรียมแถลงการณ์นี้เพื่ออธิบายสิ่งที่เราพิจารณาเห็นว่าเป็นลักษณะสำคัญของอนุบาลวอลดอร์ฟ เราหวังว่าเอกสารนี้จะเป็นข้อมูลอ้างอิงที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังทำงานเพื่อพัฒนาโปรแกรมกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยของวอลดอร์ฟทั่วโลก
0 Comments

ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของเด็ก 6 ขวบ (The Six-Year Transformation)

15/8/2020

6 Comments

 
แปลจากบทความต้นฉบับ เขียนโดย มิเชลล์ ไบร์ตวอเทอร์
แปลโดย  แม่ออย   ร่วมปรับปรุงบทแปล โดย แม่ตา 
ลิงค์บทความและภาพประกอบจาก https://www.themagiconions.com/2015/10/the-six-year-transformation-discovering-waldorf.html   
      
                           
                 การเปลี่ยนผ่าน หรือการเปลี่ยนแปลงของเด็กหกขวบ คือช่วงเวลาที่ทั้งน่าอัศจรรย์และสับสนวุ่นวายต่อชีวิตลูกน้อยของคุณ (และคุณด้วย!) ต่อไปนี้เราจะเล่าให้ฟังอย่างกระจ่าง ว่าควรวางตัวอย่างไรในช่วงเวลานี้ ช่วงขวบปีดังกล่าว เราเรียกกันว่า “วัยแรกรุ่น” ถึงแม้จะเรียกกันว่าการเปลี่ยนแปลงในปีที่หก แต่ความจริงแล้วเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่ตอนอายุห้าขวบครึ่งจนถึงอายุเจ็ดปี การเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการนี้ไม่ใช่การพัฒนาเชิงเส้นกราฟ แต่เป็นการพัฒนาอย่างสมบูรณ์เพื่อที่จะเติบโตเป็นคนใหม่ที่ต่างออกไปซึ่งเปรียบเสมือนกับดักแด้ที่กลายเป็นผีเสื้อ สำหรับเด็กนั้นทุกอย่างเปลี่ยนไปทั้งสิ้น... ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์ ร่างกายของเขากำลังเปลี่ยน ความรู้สึกนึกคิดก็เปลี่ยน และการเชื่อมโยงระหว่างเขาที่มีต่อโลกก็กำลังจะเปลี่ยนไป

             พ่อแม่อย่างเราจึงควรเตรียมความพร้อมด้วยการทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนี้เสียก่อน เพื่อที่จะสามารถค้นพบหนทางที่จะเข้าหา จากนั้นจึงค่อยให้การสนับสนุนแก่เขา ในตอนที่หนอนน้อยต้วมเตี้ยมออกจากรังไหมแล้ว
Picture
           เริ่มด้วยภาวะทางกาย เด็ก ๆ กำลังเติบโต แขนขาจะยืดยาวขึ้น “ความอ้วนกลมแบบเด็กเล็ก” (Baby Fat) เริ่มหายไป รวมถึงรอยบุ๋มบนหลังมือด้วย ส่วนที่เป็นข้อมือ เอว และคอจะเห็นสัดส่วนชัดขึ้น เอวเป็นเอว คอเป็นคอ ซึ่งหมายความว่าเขาอาจกินเก่งขึ้น บางครั้งอาจมีอาการปวดจากการยืดตัวบ้าง เช่น ปวดขา ปวดเมื่อยตามข้อ และปวดท้อง
 
             ฟันน้ำนมจะหลุดออก ฟันแท้จะขึ้นมาแทนที่ มันเป็นกระบวนการที่ทั้งน่าตื่นเต้นและอึดอัดไปพร้อมกัน ในที่ประชุมฉันได้โชว์ภาพเอ๊กซเรย์ช่องปากของเด็กซึ่งเต็มไปด้วยฟันซี่ใหม่และฟันซี่เก่า ถ้าเห็นภาพนั้นแล้วอาจเรียกความน่าสงสารได้ทันที เพราะมันช่างแออัดยัดเยียด การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้แม้แต่จังหวะการเต้นของหัวใจก็เปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพทุกส่วนส่งผลให้เด็กรู้สึก “ประหลาด” ทั้งไม่สบายตัว หงุดหงิด บางครั้งก็เจ็บปวดด้วย แต่กระบวนการทั้งหมดถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงต่อพัฒนาการ ดังนั้น กรุณาโอบอุ้มลูกของคุณไว้ด้วยความอ่อนโยน เมตตา เลี้ยงดูเขาให้แข็งแรง บำรุงอาหาร และให้แน่ใจว่าได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ เพราะร่างกายเขากำลังทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว
 
              ภาวะทางอารมณ์และความคิด โลกใบใหม่ได้เปิดขึ้นแล้วในตัวเด็ก จนถึงตอนนี้พลังชีวิตทั้งหมดของเขามีไว้เพื่อใช้สำหรับการพัฒนาและการสร้างร่างกาย ในตอนแรกเกิดนั้นอวัยวะภายในไม่ได้สร้างตัวสมบูรณ์นัก ต้องใช้ระยะเวลาประมาณเจ็ดปีในการสร้างตัวนี้ ถ้ากระบวนการเริ่มต้นขึ้นแล้ว พลังชีวิตทั้งหมดจะถูกใช้ไปเพื่อพัฒนาอารมณ์และความคิด ทำให้มุมมองของเด็กที่มีต่อโลกเปลี่ยนไป มีความเข้าใจโลกมากขึ้น เขาจะเห็นว่าผู้ใหญ่นั้นสามารถทำผิดพลาดได้ และมักมีประเด็นคำถามมากมายเกี่ยวกับโลกใบนี้ ความเปลี่ยนแปลงทางความคิดนี้สร้างความเจ็บปวดให้แก่เขาพอสมควร เขาเริ่มรับรู้ว่ากำลังสูญเสียเวทมนตร์ในวัยเด็กไป จากที่เคยแหวกว่ายอยู่ในท้องทะเลแห่งจินตนาการที่มีตนเองเป็นศูนย์กลาง เขาจะเชื่อมโยงกับโลกและกับคุณได้ ตอนนี้เองที่เขาจะรับรู้ได้ถึงความรู้สึกใหม่ที่เกิดขึ้น รู้สึกแยกตัวเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง มันทั้งน่าตื่นเต้น เต็มไปด้วยพละกำลัง แต่ก็น่าหวาดหวั่นเช่นกัน คุณจะรู้สึกได้เมื่อถึงวันที่ลูกแยกจาก มันเป็นทั้งช่วงเวลาแห่งความสุขและเป็นทั้งช่วงเวลาแห่งความทุกข์ไปพร้อมกัน ทั้งที่ที่จริงแล้วเป็นเราเองที่คาดหวังว่าลูกจะเบ่งบาน เติบโต และออกโบยบินด้วยปีกของตนเอง แต่เมื่อถึงเวลานั้น โอ... มันช่างเป็นเรื่องยากเกินจะรับไหวสำหรับพ่อแม่อย่างเรา เช่นนั้นแล้ว จงเข้มแข็ง รวบรวมความกล้าให้มากพอที่จะปล่อยให้พวกเขาก้าวต่อไปข้างหน้า ให้เต็มเปี่ยมไปด้วยการมีชีวิตสมกับที่พวกเขาได้เกิดมา
 
Picture
               โลกทัศน์ใหม่นี้เป็นรากฐานสำหรับการทดสอบข้อจำกัดใหม่ ๆ ทุกอย่างแลดูไม่เหมือนเดิม ดังนั้นเขาจึงต้องหาขอบเขตอีกครั้ง ถ้าเขาพยายามทำอะไรที่ดูไม่เหมาะสมเอาเสียเลย อย่างเช่น คำพูดคำจา การโต้เถียง การปฏิเสธไม่ยอมรับ ไม่มีสัมมาคารวะ วุ่นวายไปทั่ว โกหกเดียงสา คุณไม่ต้องแปลกใจพราะมันจะมีมาอย่างไม่สิ้นสุด อีกครั้ง นี่คือช่วงเวลาที่พ่อแม่ต้องเข้มแข็ง อย่าตื่นตระหนก ตราบใดที่เรายังรักษาขอบเขตไว้ด้วยความรักและความเข้าใจ เขาจะค้นพบแกนของเขาอีกครั้ง เราจำเป็นต้องปฏิบัติต่อนักปฏิวัติวัยกระเตาะนี้ด้วยท่าทีที่แสดงให้เห็นว่าเรานั้นเห็นอกเห็นใจและเข้าใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เราจะโอบกอด ดูแลรับผิดชอบและรักเขาอย่างไม่มีเงื่อนไข ให้จำไว้ว่าลูกเราเขามีหัวใจที่วิเศษ เขาต้องพยายามหาทางไปต่อของเขาเอง เราเพียงแค่คอยเตือนให้เขาไปทางไหน และช่วยให้เขาไปยังจุดหมายปลายทาง
 
                ถึงแม้ว่าการพัฒนาด้านสติปัญญาเริ่มต้นแล้วก็ตาม แต่เด็กยังคงไม่พร้อมสำหรับเนื้อหาวิชาการเต็มรูปแบบหรือการอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผล ลูกรักของเรายังคงเชื่อมโยงโลกผ่านเรื่องเล่าและภาพที่ช่วยสร้างสรรค์ความคิด ดังนั้นจึงควรปล่อยให้เขาอยู่ในโลกเวทมนตร์และเรื่องราวมหัศจรรย์ของวัยเด็กที่ยังคงหลงเหลืออยู่นี้ไปก่อน เพราะอีกไม่นาน ชั้นประถมศึกษาปีแรกใกล้จะมาถึงแล้ว
 
              พัฒนาการด้านการเล่นที่เปลี่ยนไป จากที่เคยเป็นการเล่นจากแรงกระตุ้นจากภายนอก คือเด็กจะเห็นวัตถุก่อน แล้วค่อยบอกว่าสิ่งนั้นจะเป็นของเล่นอะไร เปลี่ยนเป็นการเล่นจากแรงกระตุ้นจากภายใน คือเขาจะจินตนาการถึงภาพที่เขาต้องการจะเล่นก่อน แล้วจึงค่อยสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา และอาจใช้เวลาไปในการกำหนดรูปแบบการเล่นมากกว่าลงมือเล่นจริงเสียอีก เมื่อการเล่นของเด็กย้ายมาเริ่มจากภายใน บางครั้งเมื่อเขาไม่สามารถคิดสร้างสรรค์ได้ คุณจะเริ่มได้ยิน “หนูเบื่อ” ก็ไม่เป็นไร ความจริงแล้วมันดีเสียอีก! นี่เพราะเป็นสัญญาณบ่งบอกที่สำคัญของความพร้อมในการเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา จงปล่อยให้เขานั่งขลุกอยู่กับความเบื่อเพื่อกระตุ้นให้พยายามหาแรงบันดาลใจดู หากเด็กเริ่มรู้สึกกระวนกระวายหรือเริ่มจะมีอาการหงุดหงิด ให้นำเขาเข้าสู่งานของคุณ เด็กในวัยนี้ต้องการงานที่จริงจัง มีความหมาย ทำให้ช่วยจัดการกับพลังงานและการเคลื่อนไหวของเขาได้ อาจให้พวกเขาช่วยหั่นผักสำหรับมื้อค่ำ จัดโต๊ะอาหาร ไปทิ้งขยะด้วยกัน ปัดกวาดเช็ดถู ขัดผนัง ถอนวัชพืช ตอกตะปู ซ่อมแซมสิ่งของ หรืออะไรก็ตามที่คุณกำลังทำอยู่ เพราะความกระตือรือร้น ความมุ่งมั่นตั้งใจ ความรู้ความสามารถ และพลังงานของพ่อแม่จะช่วยเป็นแนวทางและปูทางให้พวกเขาได้ หลังจากมาช่วยงานพ่อแม่เล็กน้อยแล้ว เขาจะหาทางกลับไปสู่การเล่นได้เองอย่างราบรื่น
 
             ก่อนหน้าวัยนี้ ลูกของคุณอยู่ในช่วงวัยแห่งการมีเจตจำนงตามธรรมชาติ ที่ช่วยให้เขาเรียนรู้ที่จะเดิน เรียนรู้ที่จะพูด เรียนรู้เพื่อจะเป็นลูกหลานในวัฒนธรรมอเมริกัน (เด็ก ๆ ที่เติบโตในสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้น ๆ : ผู้แปล) เป็นช่วงวัยที่มุ่งเน้นที่การกระทำ แล้วเมื่อเขาเปลี่ยนแปลงจากช่วงหกปีไปสู่เจ็ดปี ที่เป็นช่วงวัยแห่งความรู้สึก เขาจะเริ่มอ่อนไหวต่อคำพูดและการกระทำของผู้อื่นมากขึ้น เหมือนจู่ ๆ ก็เข้าใจและสังเกตถึงความรู้สึกนี้ได้ทั้งที่ก่อนหน้านี้เขาเองแทบจะไม่ได้สนใจมาก่อน แต่ตอนนี้กลับทำร้ายความรู้สึกเขาเหลือเกิน เด็กหลายคนอาจพูดอะไรทำนองว่า “ทุกคนใจร้ายกับหนู” หรือ “ไม่มีใครชอบหนูเลย” นี่ล่ะ ช่วงเวลาสะเทือนอารมณ์ของวัยแรกรุ่น เพราะเขากำลังพัฒนาความรู้สึก ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ ซึ่งอาจทำให้อ่อนไหวมาก พ่อแม่ควรจะฟังเขาด้วยความระมัดระวัง มีเมตตาต่อลูกที่คุณรัก แต่จำไว้ว่าสิ่งต่าง ๆ อาจไม่เลวร้ายอย่างที่พวกเขารู้สึกในช่วงเวลานั้น นี่คือช่วงเวลาสำคัญในการสื่อสารร่วมกับคุณครู วันใดวันหนึ่งอาจมีเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกราวกับแบกโลกไว้ทั้งใบ แต่ในถัดมาโลกก็กลับมาสวยงามอีกครั้ง นอกจากนี้ พยายามรักษาจังหวะไว้ให้ดีที่สุด แม้ว่าลูกของคุณจะบอกว่าเขาไม่ต้องการไปโรงเรียน ให้รู้ไว้ว่ามันจะผ่านไปเมื่อเขาเข้าห้องเรียนเรียบร้อย คุณสามารถแจ้งให้คุณครูทราบเมื่อลูกของคุณมีอาการช่วงเช้าเช่นนี้ แล้วฉันจะแจ้งให้คุณทราบว่าวันนั้นจะเป็นอย่างไร มันยากที่จะเริ่มต้นด้วยความรู้สึกใหม่ๆ เหล่านี้ แต่ถือว่าเป็นข้อดีที่เด็กจะได้เรียนรู้จัดการ แยกแยะ และสามารถเข้าใจอารมณ์ทั้งหลาย จังหวะที่มั่นคงของพ่อแม่จึงเป็นพื้นที่ที่สบายใจและยังช่วยยกระดับการเรียนรู้ของลูกได้อีกขั้นหนึ่ง
 
               จากการรับรู้ถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เขาจึงรู้ว่าการกระทำของเขาสามารถกระตุ้นอารมณ์ของผู้อื่นได้ เด็ก ๆ เรียนรู้ว่าพวกเขามีพลัง พวกเขาสามารถทำให้คนอื่นทำสิ่งที่ต้องการได้ สามารถทำให้ผู้อื่นหัวเราะหรือสนใจได้ด้วยคำพูดหรือการกระทำ เด็กอนุบาลช่วงวัยนี้อาจมีวิธีการต่าง ๆ ทั้งการชักจูง การกันเด็กอื่นออกไป ทำตลกเฮฮา หรือแม้แต่การกระทำที่ไม่เหมาะสม จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะช่วยนำทางและรักษาขอบเขตไว้ เราบอกให้เด็ก ๆ รู้ว่า “คำพูดเหล่านั้นมันทำร้ายความรู้สึกผู้อื่นได้” “เราทุกคนเล่นด้วยกันในชั้นเรียนนี้” “เรามาใช้คำอ่อนโยนแก่กัน” “คำดี ๆ” เป็นวิธีเชิงบวกที่ทำให้เด็กอยู่ในขอบเขต ฉันคิดว่าเด็กต้องการคำที่บ่งบอกถึงสิ่งที่เขารู้สึก เป็นคำง่าย ๆ และชัดเจน ว่าอารมณ์แบบไหนกันที่เหมาะสมและที่ถูกที่ควร เราต้องหาวิธีประนีประนอมพร้อมหาหนทางแก้ปัญหา บางครั้งมันยาก ลูกคุณอาจจะต้องรู้จักรอหรือต้องรู้จักแบ่งปัน แต่นี่เป็นบทเรียนที่สำคัญในการเรียนรู้เพื่อมีสังคมที่ดี นิทานคืออีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยจรรโลงจิตใจเด็กได้ เมื่อฉันเห็นพฤติกรรมบางอย่างเกิดขึ้น ฉันจะเล่านิทานหรือเรื่องเทพนิยายที่มีตัวละครที่มีพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับเด็ก รวมทั้งผลของการกระทำที่มีต่อความรู้สึกและการแสดงออกของคนรอบข้าง จากนั้นตัวละครจะดำเนินไปยังหนทางที่ถูกต้อง มีจิตใจงดงาม และกลับกลายเป็นคนดี (ซึ่งมักจะกลายเป็นพระราชา/พระราชินี) ย้ำอีกครั้ง ว่าเราไม่ควรตื่นตระหนกต่อวิธีการทดลองของเขาเราเพียงแค่ต้องนำเขาไปยังเส้นทางที่สดใสสว่าง และเตือนตัวเองไว้ว่าต้องอดทนให้มาก
Picture
 ​           นอกจากนั้น ช่วงนี้ยังเป็นช่วงของพัฒนาการทางเพศ ทุกฤดูใบไม้ผลิเรามักจะมีเด็กบางคนที่ “ตกหลุมรัก” มีงานแต่งงาน มีเจ้าชายผู้กำลังตามหาเจ้าหญิง มีอยู่ปีหนึ่งฉันเห็นเด็กชายคนหนึ่งมักหามงกุฎในช่วงเริ่มต้นการเล่นในแต่ละครั้ง เขาจะสร้างบ้าน จัดโต๊ะงานเลี้ยง พร้อมร้องเรียก “ผมต้องการราชินี” และเขาเองก็มีราชินีในใจแล้ว ในแต่ละวัน ซาร่าห์จะยินยอมที่เป็นพระราชินีของเขา เธอนั่งลงที่โต๊ะและเขาจะบริการเธอ พวกเขาช่างวิเศษ เรามักมีคำพูดที่ใช้บ่อย ๆ ว่า “เราจะเก็บจุมพิศของเราไว้ให้พ่อกับแม่กันนะ” พวกเด็ก ๆ นั้นเกิดมาเพื่อเติบโตมีคู่ก็จริง แต่เขาต้องการคำแนะนำถึงพฤติกรรมที่เหมาะสม เริ่มได้ตั้งแต่ตอนนี้เลย! และคำพูดอีกคำที่ได้ยินบ่อยในโรงเรียนอนุบาลทั่วโลกคือ “ดึงกางเกงขึ้นครับหนุ่มน้อย และ เอากระโปรงลงจ้ะสาวน้อย” และอีกครั้ง ไม่ต้องตกใจ เพียงแค่บอกลูกรักของคุณถึงแนวทางที่ถูกที่ควร ด้วยท่าทีที่เปิดกว้าง แต่หนักแน่น และเต็มไปด้วยความรักความปรารถนาดี
 
            ยิ่งกว่านั้น เด็กในวัยนี้อาจเริ่มพูดคุยเกี่ยวพระเจ้าและความไม่มีที่สิ้นสุด ลูกหลานของเราอาจหลงใหลในคอนเซปต์ของ “จำนวนมหาศาล” (Googolplex) พวกเขาอยากรู้จำนวนที่สูงที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และอยากรู้อีกว่าอะไรมากที่สุด! ช่างน่าเอ็นดูเสียจริง มีเด็กคนหนึ่งบอกว่า “อินฟินิตี้คือ 1063!” แต่เด็กอีกคนตอบว่า “ไม่ใช่ มันหมายความว่ามันนับไม่ถ้วน” พวกเขามีบทสนทนาทางปรัชญาและศาสนาที่น่าทึ่ง ย้ำอีกครั้ง โลกกำลังเปิดต้อนรับพวกเขา ความคิดของเขากำลังขยายอาณาเขตออกไป
 
            ในห้องเรียน ฉันจัดการกับผีเสื้อที่เกิดใหม่เหล่านี้ด้วยวิธีที่หลากหลาย อาทิ ฉันมีความรักที่มั่นคง ฉันสร้างสัมพันธ์ลึกซึ้งกับเด็กแต่ละคน พยายามเข้าใจทั้งหมดทั้งมวลที่เขาเป็นอย่างสุดความสามารถ ฉันรักษาขอบเขตพร้อมให้คำตักเตือนอย่างเป็นกลาง ด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบ เพียงแค่บอกกล่าวเท่านั้น ฉันทำตัวเองให้เป็นตัวอย่างทั้งคำพูดและท่าทาง ฉันเล่านิทาน ฉันเป็นต้นแบบของมารยาทที่ดี มีความสุขในการทำงาน เห็นอกเห็นใจทุกสิ่ง ขี้สงสัย และมีความคิดสร้างสรรค์ ฉันให้โอกาสเด็ก ๆ มีส่วนร่วมอย่างมากในงานที่มีความหมาย เราใช้เครื่องมือของจริงสำหรับตอกและเลื่อยเพื่อสร้างบ้านของเล่น และสร้างสิ่งของที่เป็นประโยชน์สำหรับห้องเรียนและชุมชนของเรา เราให้ความช่วยเหลือผู้อื่น ฉันจัดเตรียมกิจกรรมให้ทำในตอนเดินและในตอนกิจกรรมวงกลม เราสร้างสมดุล เราปีน กระโดดเชือก เล่นเกมปรบมือ วิ่งวิบาก เรามีงานที่พิเศษและสำคัญ เราให้บริการซึ่งกันและกัน เราฝึกฝนมารยาทและฝึกพูด “คำดีๆ” บางครั้งเราทำภาพบำบัดให้แก่กัน เรามอบอ้อมกอดและขอโทษกัน เราเฉลิมฉลองทุกอย่างที่สามารถทำได้ และเราให้ความขอบคุณ คุณอาจได้ยินเพลง “ขอบคุณ” ของเราที่ใช้เพื่อขอบคุณสำหรับของขวัญและความมีน้ำใจที่มอบให้แก่กัน โดยรวมแล้วเราแสวงหา “วิถีที่ดีงามบนโลก” เพื่อยืนยันสำหรับชั้นเรียนอนุบาลของเรา บางครั้งมันอาจเป็นเรื่องยาก แต่ทุกอย่างโอเคดี อย่างที่เราพูดกันในตอนท้ายของกิจกรรมวงกลมว่า “ฉันเต้นรำกับดอกไม้ ฉันร้องเพลงกับดวงอาทิตย์ ความอบอุ่นของฉันมีให้กับทุกคน”
 
      นี่คือช่วงเวลาที่สวยงามที่สุด เวลาของการพัฒนา การเติบโต ความสับสน ความอ่อนไหว และการเปลี่ยนแปลง วิธีที่ดีที่สุดที่จะนำเด็กผ่านทั้งหมดนี้คือเริ่มต้นการพูดคุยกันที่บ้าน ด้วยความเห็นอกเห็นใจ ด้วยความรักที่มั่นคง และจังหวะประจำวันที่สม่ำเสมอ ความรักและความเอาใจใส่จะช่วยให้เขาผ่านมันไปได้ ปล่อยให้เขาได้ลงมือทำงาน ได้ออกแสวงหาความท้าทายใหม่ ๆ และอยู่ที่นั่นเพื่อกอดเขาไว้ในอ้อมแขนของคุณเมื่อเขาต้องการ เขาอาจลังเลสองจิตสองใจระหว่างออกไปเผชิญโลกด้วยมุมมองใหม่อย่างกล้าหาญ กับถอยกลับมายังจุดตั้งมั่นและเริ่มรู้สึกไม่มั่นคง เขาแค่ต้องการอยู่ระหว่างการมีกรอบกับการมีเสรีภาพเหมือนเป็นวัยรุ่น อยากให้รู้ไว้ว่าคุณไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว พวกเราเหมือนคนในหมู่บ้านเดียวกัน เราดูแลกันและกันรวมทั้งเด็กทั้งหลายในชั้นเรียนทานตะวันของเราด้วย พวกเขาเปรียบเสมือนหลานชายและหลานสาว เสมือนครอบครัวเดียวกัน ช่างโชคดีจริง ๆ ที่เรามีกันและกัน

6 Comments

รังพัก . รัง(ฟูม)ฟัก . รังบ่มเพาะความรัก  ที่นี่...บ้านสำราญ

12/8/2020

0 Comments

 
Picture
        ใครที่ไปมาหาสู่ที่บ้านแม่ตา อาจจะพอสังเกตเห็นสิ่งก่อสร้างเล็กๆนี้ ที่หน้าประตูทางเข้าของเรือนสมเจตนา บ้านสำราญ ก็จะรู้ว่ามีครอบครัวของนกกินปลีอกเหลืองย้ายสำมะโนครัวมาพักอาศัยกับเราครอบครัวหนึ่ง
.
             ย้อนกลับไปในช่วงปลายฤดูร้อน ย่างเข้าสู่ฤดูฝน ราวต้นเดือนพค. ก่อนฝนจะมา เกิดลมพัดแรง ทำให้ โมบายล์ Felt Ball ใยขนแกะที่แม่ตาทำผูกไว้บนกิ่งไม้ และแขวนไว้หน้าประตู ตั้งแต่ช่วงปีใหม่ พันกันยุ่งเหยิง เดินเข้าออกก็เห็นอยู่ แต่ความที่ช่วงนั้นกำลังวุ่นวายกับงานการ จึงยังไม่ได้เข้าไปแก้ และคิดว่าน่าเอาออกไปเก็บเสียเลยน่าจะดีกว่า
.
             วันหนึ่งขณะที่นั่งทำงานในห้องบนเรือน เปิดประตูรับลมอยู่ ก็ได้ยินเสียงนกร้องอยู่หน้าประตู ร้องอยู่นานพอควร และ เห็นมีนกตัวเล็ก ซึ่งมองไปก็รู้ว่าเป็นนกกินปลีอกเหลือง นกประจำถิ่นแถวบ้านสำราญนี่ล่ะ บินคาบเศษใยต่างๆ (รวมทั้งเศษพลาสติกด้วย) มาค่อยๆสร้างรัง ความคิดที่จะรื้อไปเก็บก็พับลง มานั่งมองดูว่าครอบครัวนกนี้จะสร้างรังหน้าตาแบบไหนกัน ผ่านไปไม่ถึงสัปดาห์ ก็พบว่ารังนี้สร็จสมบูรณ์ สังเกตจากตอนกลางคืนจะมีนกตัวหนึ่ง (เข้าใจว่าเป็นแม่นก ) เข้ามานอนในรัง โผล่ออกมาเฉพาะส่วนหัวและจงอยปากสีดำโค้งยาวสวย
.
             จากนั้นทุกคืนพี่พุดลูกสาว จะคอยบอกแม่ตาว่า “นกมาเช็คอินเข้านอนให้อพาร์ทเม้นคุณป้าแล้วน้า” เวลาใครเปิดปิดประตูเร็วๆ เสียงดังโครมคราม แม่นกก็บินเตลิดจากรังไป พอแอบส่องเข้าไปเราก็พบไข่ใบเล็กๆ 1 ใบอยู่ในนั้น ก็รับรู้ด้วยความยินดีว่า ชีวิตใหม่กำลังจะถือกำเนิดขึ้นในรังน้อยนี้ในไม่ช้า
.
            ทุกๆครั้งที่นกบินออกไปด้วยความตกใจ ไอ้เราก็จะกังวลทุกทีไป ความรู้สึกคือ เราเป็นเจ้าของบ้านก็อยากจะดูแลให้แม่และลูกปลอดภัย มีอยู่ครั้งหนึ่งตอนกลางคืน กลับเข้าบ้านมา โดยที่ไม่ทันระวัง พี่พุดได้เปิดประตูไปชนรังที่แม่นกกำลังนอนกกไข่อยู่อย่างแรง แม่นกตกใจบินออกไปทันใด แล้วก็หายไป ไม่กลับเข้ารังจนล่วงเข้า เที่ยงคืน ตีหนึ่ง ตีสอง ก็ยังไม่กลับ ตอนนั้นคิดว่า นี่ถ้าแม่นกไม่กลับมา ไข่ที่รอการฟักจะเป็นอย่างไรหว่า แต่แล้วในคืนวันถัดมา เรากลับเข้าบ้าน ก็พบว่าแม่นกกลับมาแล้ว ตอนนั้นรู้สึกโล่งอก และ ดีใจเหลือเกิน
.
          ไม่นานในช่วงมิย. เราก็เริ่มเห็นพฤติกรรมใหม่ แม่นกคาบอาหารมาเกาะตรงทางเข้ารัง และใช้ปากส่งอาหารลงไปในรัง แต่เราไม่เห็นตัวลูกนก แต่เดาได้ไม่ยากว่า เจ้านกน้อยคงฟักออกจากไข่แล้วสินะ แน่นอนว่าเจ้าบ้านอย่างเราก็ปลื้มปริ่มมากทีเดียว
.
             ตอนแม่นกบินออกไปหาอาหาร แม่ตาพยายามมองเข้าไปในรังเห็นหัวกลมดำ ขยับไปมา แค่นั้นก็ยิ้มออกมาได้ละ จากนั้นอีกราว 1 – 2 สัปดาห์ เวลาที่แม่นกคาบอาหารมาให้ เรายืนมองผ่านกระจก ก็เห็นปากของลูกนก พอแม่บินไป เจ้าลูกนกก็อ้าค้างไว้ น่าจะรออาหารจากแม่ตามสัญชาตญาณ เป็นภาพที่น่ารัก และ ประทับใจ เฝ้าดูลูกนกโตขึ้นๆทุกวัน เราก็แอบลุ้น อยากเห็นช็อตสำคัญ นั่นคือตอนลูกนกบินออกจากรัง
.
               แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น วันนึงเรากลับบ้านมาพบกับรังอันว่างเปล่า นกแม่ นกลูก ที่เคยมาพักอาศัย บัดนี้หายไปหมด ตอนนั้นบอกเลยว่าแอบผิดหวัง เศร้าไปสองสามวัน
.
             ได้ยินเสียงความคิดนึงโผล่แว้บขึ้นมาว่า เวลามีใครมาพึ่งพาอาศัย ฉันรู้สึกดีใจ ฉันรู้สึกมีค่าขึ้นมาทันใด แต่พอหมดวาระและเขาเหล่านั้นจากไป ฉันรู้สึกเสียใจ รู้สึกไม่แน่ใจว่า เป็นเพราะฉันดูแลเธอไม่ดีใช่ไหม เธอจึงได้จากไป ฉันรู้สึกสูญเสียบางอย่าง บางอย่างที่ว่านั้นคืออะไรนะ การเป็นที่รัก การเป็นที่ยอมรับ การถูกให้คุณค่า ใช่หรือไม่ เป็นไปได้ไหมว่าฉันอาจจะชินกับการรีบสรุปว่า ถ้าเขาจากไป เท่ากับ ฉันต้องทำอะไรผิดแน่ๆ
.
              ตอนที่ฉันเห็นตัวตนคนที่เอ่ยเสียงนี้ในตัวฉันปรากฏขึ้น ฉันรู้สึกว่า ฉันตื่นจากความฝัน ฉันเห็นเด็กน้อยผู้เปราะบางในตัวเอง เขายังอยู่ เขายังรอคอยให้ฉันดูแลและโอบกอด โดยไม่ผลักใส

Picture
                 เมื่อได้เห็น เมื่อได้สื่อสาร เมื่อยอมรับ ก็ผ่อนคลายและกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ ส่วนรังนั้นก็ร้างผู้อาศัยไประยะหนึ่ง ในขณะที่กำลังคิดว่าควรจะรื้อรังทิ้งได้แล้ว เพื่อจะได้โมบายล์สวยๆกลับมาดังเดิม แต่แล้วในเวลาช่วงปลายเดือนกค. ก็พบว่ามีนกตัวนึงบินคาบเศษใย ไบไม้มาทำรัง (ไม่แน่ใจว่าใช่แม่นกตัวเดิมไหมนะ) แต่คราวนี้ใช้เวลาไม่นาน น่าจะเพราะรังยังมีสภาพสมบูรณ์พอสมควร พอต้นเดือนสค.เจ้านกตัวนั้นก็เข้ามา เช็คอิน เข้าพักที่ อพาร์ทเม้นคุณป้า เรียบร้อย
.
              วันจันทร์ที่ผ่านมาเกิดลมพัดแรง เชือกที่ผูกกิ่งไม้ขาด กิ่งและรังร่วงหล่นลงมากองที่พื้น เจ้านกกินปลีอกเหลือง เจ้าของรังปัจจุบัน ส่งเสียงร้อง และ กระพือปีก บินขึ้นลง อยู่บริเวณนั้น ตอนที่แม่ตาเดินออกมาพบ ก่อนที่จะช่วยแขวนกิ่งรังกลับที่เดิม ตกเย็นนกตัวนั้นก็บินเข้าไปนอนพัก โผล่เพียงหัว และจงอยสีดำ ออกมาเช่นเดิม ได้จ้องตากับเจ้านกในระยะประชิด ไม่รู้หรอกว่าแม่นกคิดอะไร จะขอบคุณเราหรือไม่ก็ไม่สำคัญ เราก็พอใจแล้วว่าเราได้ลงมือทำทำสิ่งที่ควรทำ
.
              อีกไม่นานลูกนกคงถูกฟักออกมาจากไข่ และหลังจากแม่นกคอยป้อนข้าวป้อนน้ำดูแลอย่างดี เจ้าลูกนกก็คงจะปีกกล้าและขาแข็ง พร้อมบินออกไปสู่โลกกว้างในไม่ช้าเหมือนนกตัวอื่นๆ
.
                ส่วนที่นี่...ที่บ้านสำราญ ก็คงจะมีนกตัวอื่น หรือ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ แวะเวียนเข้ามาพักพิง และ ฉันก็จะคงทำหน้าที่ผู้ดูแล ผู้สนับสนุน ผู้จัดเตรียมสิ่งแวดล้อมให้พร้อมสำหรับการเติบโต และ เข้าใจและยอมรับว่า เมื่อใดที่เขาแข็งแรงและพร้อมแล้ว เขาก็จะบินออกไป สร้างเรื่องราวชีวิตแบบของตัวเอง และหากวันข้างหน้าเขาจะบินกลับมาพัก หรือมาทักทาย ให้หายคิดถึงกัน....ก็คงเป็นเรื่องที่น่ายินดี
.
บันทึกโดย แม่ตา
12 สค.63 (วันแม่)
บ้านสำราญ แจ้งวัฒนะ 14 กรุงเทพฯ
0 Comments

ของเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กๆในแต่ละช่วงวัย

26/12/2017

3 Comments

 
“ของขวัญชิ้นนี้เหมาะกับลูกเราหรือเปล่า?”

“ลูกเราอายุเท่านี้ให้ทำกิจกรรมแบบไหนถึงจะเหมาะกับเขา?”


เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านสงสัย


ยิ่งช่วงเวลาเทศกาล
ที่ต่างกำลังตระเตรียมของขวัญ
หรือพาคุณลูกไปทำกิจกรรม
แต่ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ หรือ กิจกรรมที่เราตั้งใจมอบให้
เราควรเข้าใจในธรรมชาติการเรียนรู้และพัฒนาการของเขา



มาดูกันครับว่าแต่ละช่วงวัยของเด็กๆ
เขามีธรรมชาติการเรียนรู้และพัฒนาการ
เป็นอย่างไรกันบ้าง



อายุ 3-5ปี
เป็นช่วงที่ “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้”
ของเล่นที่ให้เขาควรเป็นของเล่นปลายเปิดง่ายๆ
มีการใช้งานที่หลากหลาย กระตุ้นและเปิดให้เด็กๆได้ใช้จินตนาการ
สร้างสรรค์ความสนุกด้วยตัวเองอย่างเช่น
ตุ๊กตาสัตว์ที่ทำจากไม้หรือใยขนแกะ

ยิ่งถ้าทำด้วยฝีมือของคุณพ่อคุณแม่ด้วยแล้วยิ่งดี



​อายุ 5-7ปี
​เป็นของเล่นที่เปิดให้เด็กๆสร้างสรรค์การใช้งานด้วยตนเอง
อย่าง Rocking board, สีเทียนขี้ผึ้งทั้งแบบแท่งและแบบก้อน
บ้านตุ๊กตาไม้ (Wooden dollhouse)
ของเล่นที่ส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหว
ของกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่
ที่ประสานสัมพันธ์กับร่างกายและการจดจ่อ
เช่น ลูกดิ่ง (Yo Yo), จักรยาน, การกระโดดเชือก,
เครื่องดนตรีประเภทเคาะให้จังหวะ


อายุ 7-8ปี
ช่วงวัยนี้เด็กๆจดจ่อในขั้นตอน กระบวนการ
และผลลัพธ์มากยิ่งขึ้น เริ่มรู้จักกฎ กติกา
เกมส์ที่เล่นคนเดียวหรือเล่นร่วมกับผู้อื่น
จึงเป็นของขวัญที่เหมาะกับเด็กวัยนี้
เกมส์ที่ให้เด็กๆค้นหาตัวเลขและคำศัพท์ง่ายๆ
เกมส์ตัวต่อ การ์ดเกมส์, การเล่นเชือก (Finger string)
กิจกรรมปลูกพืชผัก, ปีนเชือกปีนบันได
ทำขนมและอาหารง่ายๆ



อายุ 9-10ปี
เกมส์ที่เล่นร่วมกับผู้อื่น
สามารถให้เด็กสร้างสรรค์ได้มากขึ้น
ท้าทายความสามารถของเด็กๆ
เกมส์ที่จะพาเด็กๆไปสำรวจโลกของตัวเลขและภาษา
นอกจากนี้เด็กๆจะสังเกตสิ่งรอบตัวมากยิ่งขึ้น
ตระหนักรู้ในเรื่องเวลา ตัวอย่างของเล่นเช่น
กี่ทอผ้าสำหรับเด็ก, หมากรุก, การพับกระดาษ
การสานตระกร้า, การทอผ้า, ชุดเครื่องมือช่าง, ฮูลาฮูป
สมุดวาดรูปและสีไม้



อายุ 11-12ปี
ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมเคลื่อนไหว
เด็กๆสนใจการออกไปสำรวจโลกมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดิน การเกษตร พืชพรรณ
ของเล่นและกิจกรรมที่เหมาะกับเด็กๆเช่น
สมุดจดบันทึกประจำวัน, จักรยานล้อเดียว, อุปกรณ์ตกปลา,
แท่งถ่านชาโคล(Charcoal) และกระดาษวาดเขียน
อุปกรณ์เย็บผ้า, กิจกรรมเดินป่า ปีนเขา, กิจกรรมทำอาหาร กิจกรรมศิลปะ



อายุ 13ปีขึ้นไป
เด็กๆค่อนข้างสนใจสิ่งรอบตัว
และเริ่มสำรวจท้องฟ้า ดวงดาว
ตัวอย่างของของขวัญหรือกิจกรรม เช่น
โต๊ะปิงปอง, กล้องดูดาว, กล้องถ่ายรูป
กล้องจุลทรรน์, อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
ชุดอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์



สิ่งสำคัญเราต้องไม่ลืมว่า
ของเล่นอยู่ในตัวเด็กๆแล้ว
ของขวัญหรือกิจกรรมที่เราเลือกให้
เป็นเพียงตัวกระตุ้นส่งเสริม



3 Comments

แต้มสีสวยสู่หัวใจเด็ก

9/11/2014

0 Comments

 

"สะพานสายรุ้งเรืองรอง

ทาบทอ ท้องฟ้า อำไพ

แต้มสี เหลือง แดง  น้ำเงิน สดใส

สายรุ้ง ในใจ งดงาม"

   เนื้อเพลงไพเราะ เนิบช้า เปล่งออกมาพร้อมรอยยิ้มน้อยๆของแม่ และแววตาเป็นประกายที่จับจ้องไปยังปลายพู่กันที่อยู่ในมือ วาดโค้งรุ้งทอดยาวช้าๆไปบนอากาศ แล้วโค้งกลับลงมาสัมผัสฝ่ามืออย่างแผ่วเบา  เชื้อเชิญให้ลูกๆที่กำลังสนใจกับสีและอุปกรณ์ระบายสีต่างๆที่พวกเขามีส่วนช่วยในการจัดเตรียม และบัดนี้กำลังนั่งรออยู่ข้างหน้าพวกเขาแล้ว เด็กๆไม่รีรอที่จะหยิบพู่กันของตนเอง พร้อมทำท่าทางและร้องเพลงตามไป เมื่อสิ้นเสียงเพลง พวกเขาต่างรู้ว่าได้เวลาชักชวนเพื่อนสีไปโลดแล่นบนแผ่นกระดาษชื้นข้างหน้าแล้ว


   
การเริ่มกิจกรรมการระบายสีทุกๆครั้งผ่านบทเพลง หรือ บทกวีด้วยท่าทีสงบงามของผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ หรือ ครู ช่วยสร้างความพร้อมให้เด็กๆในการทำกิจกรรมระบายสีได้เป็นอย่างดี  และเช่นเดียวกับกิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวันของเด็ก หากเราตระหนักถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมการระบายสีให้เป็นจังหวะแบบแผน (Rhythm) ไม่ว่าจะเป็นช่วงจังหวะเวลาของวัน หรือของสัปดาห์ เช่น หลังช่วงเวลาเล่นอิสระช่วงเช้าวันอังคาร โดยมีแบบแผนลำดับการจัดเตรียม การจัดวาง ตำแหน่ง และ จัดเก็บอุปกรณ์ ที่เหมือนกันในทุกๆครั้ง     การจัดให้มีกิจกรรมระบายสีอย่างสม่ำเสมอ ซ้ำๆ (Repetition)ในทุกสัปดาห์   รวมไปถึงท่าทีที่เราปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆด้วยความเคารพนบนอบ (Reverence) ทั้งช่วงเริ่ม ระหว่าง หรือหลังกิจกรรมระบายสี เช่นการปัดแปรงพู่กันอย่างแผ่วเบา  ดังที่เราใช้ขนแปรงพู่กันสัมผัสฝ่ามือเบาๆขณะที่ร้องเพลงเริ่มกิจกรรม  การล้างพู่กันให้สะอาด และเช็ดให้แห้งหมาดก่อนจุ่มสีใหม่ทำให้สีในขวดคงสีสดใสดังเดิม การเก็บล้างทำความสะอาด เก็บในที่ที่เหมาะสมเป็นต้น  จะพบว่าเด็กๆจะให้ความร่วมมือ ไม่ต่อรองขอทำสิ่งอื่นๆ ยิ่งในเด็กวัย 3-4 ขวบขึ้นไป พวกเขาจะยินดีที่จะช่วยจัดเตรียมและจัดเก็บโดยที่เราไม่จำเป็นต้องร้องขอ 


   
จาก  Rhythm , Repetition , Reverence (3 RS)  ที่กล่าวมาข้างต้น   พ่อแม่และครูควรให้ความสำคัญในการเลือกสรรวัสดุ และ อุปกรณ์ที่มีคุณภาพด้วย โดย เลือกใช้สีน้ำแบบโปร่งแสง  ถ่ายทอดสีสันได้สวยงาม ถูกต้องตามหลักทฤษฎีสีที่เป็นสากล  ซึ่งมีส่วนผสมจากธรรมชาติ ปลอดภัยต่อสุขภาพของเด็กๆ ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับและใช้แพร่หลายทั่วโลก เพราะสีน้ำที่มีเนื้อสีเข้มข้น ใช้สีเพียงนิดเดียวละลายนำ้จะช่วยประหยัดสีได้มากกว่า  และเลือกใช้กระดาษที่มีคุณภาพสำหรับการระบายสีน้ำโดยเฉพาะ  สีของเด็กๆที่ระบายจะประกายสีสันที่แท้จริง  อีกทั้งคำนึงถึงพู่กันขนปลายแบน ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น หางม้า หางวัว ด้ามไม่ยาวเกินไป เพื่อให้เด็กจับกำถนัดมือ

   แล้วเราจะพบว่าเด็กๆจะเพลิดเพลินและเกิดความรู้สึกที่เต็มหัวใจกับการระบายสีของเขาอย่างแท้จริง 



Picture
Picture
Picture
Picture
0 Comments
    Picture

    MaMa Ta
    วรณัน โทณะวณิก (แม่ตา)

    Founder of MaMaTa Baansamran 

    Archives

    November 2021
    June 2021
    October 2020
    August 2020
    December 2017
    November 2014

    Categories

    All

    RSS Feed

@2014 MaMaTa Co.,Ltd. , All Rights Reserved , Bangkok, Thailand
  • Home
  • Course
    • Waldorf-Inspired Parent & Child Playgroup
  • Store
  • About
    • MaMaTa Family Playgroup
    • MaMaTa Family Workshop
    • MaMaTa Family Trip
    • MaMaTa Family Store
    • MaMaTa Family Bookstore
    • MaMaTa Family Space
  • Contact
    • Map
  • Sharing / Articles
  • Photo Gallery
  • Publicity
  • ของเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กๆใน
  • Children Songs
  • Stockmar Modelling Beeswax
  • Children Drawing
  • Blog