Understanding Child Development ความเข้าใจพัฒนาการของเด็ก เป็นการรวบรวมชุดการเรียนการสอน การศึกษาทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ จากประสบการณ์หลายปี ของทีมผู้เขียนผู้จัดทำหนังสือในฐานะครูนักการศึกษาวอลดอร์ฟระดับอนุบาล ระดับประถม และหัวหน้าทีมของผู้สอนในคอร์สการอบรมสัมมนาครูวอลดอร์ฟ และด้วยการสนับสนุนงานวิจัยจากสมาคมอนุบาลวอลดอร์ฟในประเทศเยอรมัน และ มูลนิธิ Helmut von Kügelgen จึงทำให้หนังสือเล่มนี้สามารถออกเผยแพร่แก่นักอ่านได้ ทีมผู้เขียนผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ได้แก่ Dr.Wolfgang-M.Auer ครูผู้มีประสบการณ์ในโรงเรียนสไตเนอร์วอลดอร์ฟกว่า 30 ปี ปัจจุบันเดินทางบรรยายให้แก่ครู ผู้ปกครอง ผู้สนใจทั่วโลก โดยเน้นไปยังมานุษยวิทยา การศึกษา และ พัฒนาการของประสาทสัมผัส Dr.Angelika Wiehl ผู้ร่วมก่อตั้ง Wolfsburg Waldorf School ในประเทศเยอรมัน และ เป็นครูหลายปี ปัจจุบันเป็นอาจารย์ผู้บรรยายเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์การศึกษา และ การศึกษาวอลดอร์ฟที่ The Institue of Waldorf Education, Inckusion and Interculturality , Alanus University , Manheim, Germany ต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้ เป็นภาษาเยอรมัน และได้การการแปลเป็นภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกโดย Margot M.Saar ครูผู้สอนที่โรงเรียนวอลดอร์ฟในประเทศอังกฤษ มากว่า 20 ปี เธอได้แปลหนังสือหลายเล่ม และปัจจุบันได้ทำงานเป็นนักแปลและล่ามในการประชุมสัมมนาต่างๆอย่างเต็มตัว หัวใจของหนังศึกษาเล่มนี้ ประกอบไปด้วยสาระสำคัญหรือข้อความต้นฉบับที่นำมาจากงานเขียนและปาฐกถาของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ โดยส่วนมากของสิ่งที่สไตเนอร์ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการศึกษาวอลดอร์ฟได้ถูกบันทึกไว้ระหว่างการปาฐกถา ดังนั้นแม้จะไม่เอื้อต่อการวิพากษ์ ตีความตามตัวอักษร แต่ก็เหมาะแก่การนำมาเปรียบเทียบและลงลึกในความหมาย แม้หนังสือเล่มนี้จะมุ่งเน้นเป็นหลักเกี่ยวกับวัยเด็ก แต่ก็ได้รวมเอาส่วนที่เป็นสาระสำคัญจากข้อความต้นฉบับที่สะท้อนแก่นความความคิดต่อบางหัวโดยเฉพาะ และ เอื้ออำนวยให้เกิดการศึกษาต่อไปในหัวข้อเฉพาะเกี่ยวกับการศึกษาวอลดอร์ฟ นั่นคือวิถีทางที่ได้ถูกทดลองและนำไปใช้ในการศึกษาของครู อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันลึกซึ้งยิ่งขึ้นในบริบทที่สไตเนอร์ได้นำเสนอความคิดของเขาไว้เกี่ยวกับมานุษยวิทยาและการศึกษา จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้อ่านจะได้ไปศึกษาจากเนื้อหาฉบับเต็ม ข้อความต้นฉบับที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้จะถูกนำเสนอเป็นหัวเรื่องเฉพาะ ตามด้วยคำแนะนำสั้นๆ โดยมีข้อเขียนเกี่ยวกับมานุษยวิทยาและการศึกษาของเด็ก ซึ่งจะนำทางผู้อ่านไปยังผลงานวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ และ ความคิดเกี่ยวกับการศึกษาวอลดอร์ฟ
Introduction คำนำ โดย Wolfgang-M.Auer ,Angelika Wiehl ไม่เคยมีความพยายามมากมายเท่านี้มาก่อนและมีสถาบันมากมายที่มุ่งปกป้องวัยเด็กเหมือนในตอนต้นของศตวรรษที่ ๒๑ ถึงกระนั้น เด็กจำนวนมากในทุกวันนี้ต้องเผชิญกับสภาพความเป็นอยู่ที่อันตรายและขาดสุขภาวะที่ดี ขาดเวลา ความยากจน สงคราม การอพยพ การบริโภคสื่อ - มีเหตุผลมากมายว่าทำไมเด็ก ๆ จึงไม่เติบโตอย่างมีสุขภาวะที่ดีกว่าที่เป็นอยู่นี้ ในขณะที่วิถีชีวิตสมัยใหม่ สภาพสังคมและครอบครัว ความตระหนักรู้ของสาธารณชน และโรงเรียนต่างทำในสิ่งที่ทำได้เพื่อส่งเสริมวัยเด็กที่มีสุขภาวะดีและเบิกบาน เด็กๆ ยังคงบอบช้ำจากการถูกละเลยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ภาพที่ปรากฏไปทั่วโลกในปี 2015 เป็นภาพของร่างไร้ชีวิตของหนูน้อย Aylan Kurdi วัย 3 ขวบ ซึ่งจมน้ำตายในทะเลระหว่างซีเรียและกรีซ เป็นภาพที่น่าตกใจอย่างยิ่ง แต่เด็กๆ ทุกวันนี้ไม่เพียงแค่ตกอยู่ในอันตรายจากสงครามและการพลัดถิ่นเท่านั้น ในโลกตะวันตก เรามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ของสื่อดิจิทัล ระบบการศึกษาที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นตัวนำ และความพยายามหรือการปกป้องเกินจริงของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งหมดนี้เองทำให้เด็กๆถูกเหลือขอบเขตพื้นทเพียงเล็กน้อยสำหรับการพัฒนาปัจเจกภาพส่วนบุคคล (Individuality) ซึ่งนั่นนับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากโดย ทั่วไปแล้วเด็กจะพัฒนาตามช่วงอายุ (Phase) เริ่มตั้งแต่วัยทารกจนถึงกลางวัยเด็ก จากนั้นเข้าสู่วัยรุ่นและต่อมาเป็นผู้ใหญ่ การเรียนรู้สิงต่างๆด้วยตัวเองในฐานะปัจเจกบุคคลตามความสนใจใคร่รู้ของตน หรือ "กำลังภายใน (inner forces)" ตามที่วิลเฮล์ม ฟอน ฮุมโบลดต์* ได้แนะนำไว้ (ฮัมโบลดต์ 1792/2015) ) เพื่อที่จะพัฒนาตนเองด้วยความมีศักดิ์ศรี เด็กๆจึงต้องพึ่งพาความรักและการปกป้องของผู้ใหญ่เสมอ จนกระทั่งในวัยรุ่นเท่านั้นที่พวกเขาจะค่อยๆมีความสามารถในการรับผิดชอบในการกำหนดชีวิตของพวกเขาเอง (*Wilhelm von Humboldt, (1767-1835) นักภาษาศาสตร์ชาวเยอรมัน นักปรัชญา และนักปฏิรูปการศึกษา ) หากครอบครัวไม่สามารถจัดหาการศึกษาที่บ่มเพาะดูแล และ บ้านให้ลูกได้อีกต่อไป ญาติพี่น้อง เพื่อน หรือสถาบันการศึกษาจะต้องรับหน้าที่นี้และเข้ามารับผิดชอบ การสนับสนุนและการคุ้มครองเด็กแบบชุมชนพื้นเมืองหรือในชนบทที่ดูแลเล็ก "โดยใช้สัญชาตญาณ" ต้องถูกนำมาใช้ด้วยหนทางใหม่ในสังคมตะวันตกสมัยใหม่ เราจำเป็นต้องค้นหา(อีกครั้ง)ถึงความเข้าใจในสิ่งที่ทำให้เราเป็นมนุษย์ (We need to (re-)find an understanding of what makes us human) เพื่อให้แน่ใจว่า เด็กๆ จะไม่ถูกมองอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็น พรหรือภาระ (blessing or burden) คนที่มาทดแทนใคร (substitute partners) หรือแม้กระทั่งวัตถุอันทรงเกียรติ (prestigious objects) แต่ในฐานะบุคคลที่ได้รับเคารพนับถืออย่างเต็มที่โดยมีจุดมุ่งหมายในชีวิตและของตนเอง รวมถึงสิทธิของตนเองด้วย (as fully respected individuals with their owns aims in life and their own right) อย่างไรก็ตาม ในสังคมยังมีจำนวน ผู้ใหญ่ นักการศึกษา ครู แพทย์ หรือ สถาบันต่างๆ ไม่มากนักที่คอยปกป้องคุ้มครองเด็ก และจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น สังคมโดยรวมทั้งหมด จำเป็นต้องร่วมคิดใหม่เกี่ยวกับวัยเด็กและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก จากวัยแรกรุ่น กล่าวคือ นับตั้งแต่ช่วงเวลาที่คนหนุ่มสาวสามารถมีลูกได้ พวกเขาต้องเข้าใจว่าตนเองต้องมีความรับผิดชอบต่อมนุษยชาติด้วยเช่นกัน และ รู้ว่าคุณสมบัติต่างๆที่จะทำให้เราเป็นมนุษย์นั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลบ่มเพาะด้วยเช่นกัน วัยรุ่นและคนหนุ่มสาวต้องเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจนี้ในวันนี้ ไม่ว่าพวกเขาจะเริ่มต้นครอบครัวและมีลูกของตัวเองหรือไม่ หรือ จะมีเมื่อไหร่ก็ตาม สภาพความเป็นอยู่ในโลกตะวันตกมีทุกสิ่งที่จำเป็น : พ่อแม่สามารถเตรียมตัวก่อนมีลูกได้ และพวกเขาจะได้รับการสนับสนุนทางการแพทย์ สังคม และการศึกษาในการเลี้ยงดูลูก สิ่งที่จำเป็นในการส่งเสริมการพัฒนาเด็กมีอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับเราแต่ละคนที่จะตัดสินใจว่าจะใช้สิ่งนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร เราแต่ละคนล้วนมีความรับผิดชอบที่จะให้ความสนใจต่อวัยเด็กและใส่ใจในป้จเจกภาพของเด็กแต่ละคน การศึกษาวอลดอร์ฟ ของ Rudolf Steiner สามารถให้แนวทางที่มีคุณค่าสำหรับทัศนคติทางการศึกษา ซึ่งรับสัญญาณแรกจากชะตาชีวิตของเด็กแต่ละคน นับเป็นทัศนคติที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาโดยพ่อแม่และบุคคลากรวิชาชีพในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถาน รับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน และสถาบันการศึกษาอื่นๆ นับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา หนังสือเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาในโรงเรียนจำนวนมากได้รับการตีพิมพ์ โดยเน้นที่แง่มุมที่หลากหลายและสร้างแนวความคิดเฉพาะที่ได้มาจากแนวคิดทางมานุษยวิทยาและการศึกษาของ Steiner ในบรรดาผู้เขียนหนังสือเหล่านี้ Karl Königและ Bernhard Lievegoed สมควรได้รับการกล่าวถึงเป็นพิเศษสำหรับการอธิบายหลักมนุษยปรัชญาของการพัฒนาเด็กในด้านการศึกษาพิเศษและการแพทย์ หนังสือของพวกเขายังคงได้รับการตีพิมพ์ใหม่และกลายเป็นสื่อการเรียนรู้พื้นฐานในการฝึกอบรมครู Waldorf (König/Soldner 2017; Lievegoed 2016) พวกเขาสำรวจและพัฒนาความคิดทางมนุษยปรัชญาและการสอนของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ซึ่งช่วยให้เข้าถึงเชิงปฏิบัติของแหล่งการศึกษาของวอลดอร์ฟได้ ในปี ค.ศ. 1971 ชุดข้อความต้นฉบับชุดแรกเกี่ยวกับมานุษยวิทยาของการศึกษาวอลดอร์ฟ แก้ไขโดย Elisabeth Grunelius และ Helmut von Kügelgen ได้รับตีพิมพ์เป็นเอกสารประกอบการศึกษาโดย German Waldorf Kindergarten As-sociation (Das Wesen des kleinen Kindes) และโดย International Association of Waldorf Kindergarten (การเข้าใจเด็กเล็ก) บทสรุปนี้ยังคงเอกลักษณ์ในแง่ที่ว่า มันได้รวบรวมเอาถ้อยแถลงมากมายของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ที่กล่าวเกี่ยวกับวัยเด็ก โดยเฉพาะในช่วง 7 ปีแรกของชีวิต ซึ่งโดยทั่วไปมักจะกระจัดกระจายอยู่ตามปาฐกถาและงานเขียนต่างๆและทำให้เป็นไปได้ที่จะศึกษาเรื่องราวเฉพาะด้านในบริบท อย่างไรก็ตาม หนังสือนี้ไม่ได้ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในภาษาเยอรมัน และไม่ได้ถูกนำไปเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษอีกต่อไป เนื่องจากขาดการแนะนำและคำอธิบายของแนวคิดและเนื้อหา ที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับมนุษยปรัชญา ซึ่งคนต่างคาดหวังที่จะได้เห็นในบรรดาตำราเรียนดังกล่าวในปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาสมัยใหม่ในด้านจิตวิทยาพัฒนาการเผยให้เห็นว่าช่วงต่างๆของวัยเด็กและเยาวชนนั้นไม่สามารถแบ่งออกได้เป็นช่วงเจ็ดปีอย่างเข้มงวดตามที่งานเขียนเกี่ยวกับการศึกษาของวอลดอร์ฟมักจะบอกเป็นนัย มีข้อบ่งชี้ --เช่น ในการศึกษาระยะยาวที่ดำเนินการโดย Remo Largo (2017)—ว่าช่วงพัฒนามีความเฉพาะตัวมากขึ้นเรื่อยๆ และการแบ่งช่วงชีวิต ช่วงละ 7 ปีนั้น ควรถูกมองเป็นอุดมคติ ในขณะที่ Rudolf Steiner ได้อธิบายพัฒนาการของมนุษย์ว่าเป็นการเผยออกมาระหว่างช่วงเจ็ดปี เขายังได้กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่าน เช่น Rubicon เป็นต้น ซึ่งเด็กๆ มักจะมีประสบการณ์ในช่วงขวบปีที่ 9 หรือ 10 เมื่อพวกเขามีสติสัมปชัญญะมากขึ้นในการสัมพันธ์กับโลก (Föller-Mancini/Berger 2016) ครูวอลดอร์ฟ มองว่าช่วงเวลาสำคัญนี้เป็นตัวแทนของการสิ้นสุดของช่วงแรกของวัยเด็ก อันจะตามมาด้วยช่วงกลางของวัยเด็กและวัยแรกรุ่นตอนต้น ข้อความต้นฉบับจากงานของ Steiner ที่รวมไว้ที่นี่ (บทที่ 5) ได้รับการคัดเลือกโดยเฉพาะสำหรับความเกี่ยวข้องกับอายุถึงปีที่ 9 หรือ 1o ปี ประกอบกับเนื้อหาอื่นๆในหนังสือเล่มนี้ เพราะฉะนั้นจึงสัมพันธ์กับการศึกษาก่อนวัยเรียน (preschool) และการศึกษาปฐมวัย (early childhood) หนังสือ Understanding Child Development (การทำความเข้าใจพัฒนาการเด็ก) เล่มนี้ ได้รับการตีพิมพ์เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนพื้นฐานดังกล่าวเพื่อนำไปใช้ –นอกเหนือจากตำราดั้งเดิมของสไตเนอร์ ที่เกี่ยวกับ หลักมานุษยวิทยาและการศึกษา(วอลดอร์ฟ)-- ในการจัดสัมมนาการสอนและหลักสูตรการศึกษา ชุดที่คัดสรรของหัวข้อมานุษยวิทยาและการศึกษาที่นำเสนอมีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับวาทกรรมเกี่ยวกับการศึกษาเด็กในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นหัวข้อที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก ซึ่งอธิบายไว้ในกรอบของความเรียงที่มีข้อความต้นฉบับเหล่านี้ฝังอยู่ในนั้น ข้อความต้นฉบับเหล่านี้มีพื้นฐานมาจากมานุษยวิทยาของสไตเนอร์ (มุมมองของเขาที่มีต่อมนุษย์และการพัฒนาการมนุษย์) และจำเป็นต้องถูกมองเห็นในบริบทร่วมสมัยของพวกเขาด้วย บทที่ 2 ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ "มานุษยวิทยาในวัยเด็กจากมุมมองของการศึกษาวอลดอร์ฟ" ในการเตรียมตัวสำหรับการศึกษาข้อความต้นฉบับ (บทที่ 5) มีการนำเสนอหัวข้อหลักสามประการที่จำเป็นสำหรับความเข้าใจการศึกษาวอลดอร์ฟ ได้แก่ • แนวคิดหรือความรู้ของ "I (ตัวฉัน)" • แนวคิดเรื่องการกลับชาติมาเกิด • ทฤษฎีของสไตเนอร์เรื่อง องค์ประกอบสี่ส่วนของมนุษย์ หมวดที่ว่าด้วยองค์ประกอบร่างกายของเด็ก จะมองเห็นเด็กว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ทั้งทางกาย จิต และจิตวิญญาณ และรวมถึงประสบการณ์จากการฝึกสอนด้วย บทที่ 3 Wolfgang-M. Auer ให้เค้าโครงเรื่อง "การพัฒนาและการให้ศึกษาประสาทสัมผัส" บนพื้นฐานของแนวคิดของ Steiner เกี่ยวกับประสาทสัมผัสทั้ง 12 ซึ่งได้ศึกษาจากมุมมองต่างๆในอดีต แต่ได้มีการค้นคว้าใหม่โดย Auer (Auer 2007) การมองดูประสาทสัมผัสทั้งสิบสองในแง่มุมของมานุษยวิทยาไม่เพียงทำให้เห็นความเป็นไปได้ต่างๆในแง่มุมการวินิจฉัยเท่านั้น แต่ยังสร้างแรงบันดาลใจมากมายสำหรับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาในโรงเรียนด้วย การเรียนรู้และการเอาใจดูแลประสาทสัมผัสทั้งหลายนี้ อันเป็นสิ่งที่นักการศึกษาและครูต้องการการฝึกอบรมพิเศษ ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานทั้งหมดที่เด็กนจำเป็นต้องพัฒนา บทที่ 4 Angelika Wiehl นำเสนอภาพรวมของมานุษยวิทยาและการศึกษาการเลียนแบบของเด็ก Rudolf Steiner มองว่าการเลียนแบบเป็นนิสัยการเรียนรู้ที่โดดเด่นในช่วงเจ็ดปีแรกของวัยเด็ก โดยรวมทั้งการค้นพบความรู้ในสาขาต่างๆ เช่น สุนทรียศาสตร์ สังคมวิทยา และชีววิทยา สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการเลียนแบบเป็นวิชาที่มีความสำคัญไม่เพียงแต่ในวัยเด็กแต่ตลอดชีวิตเพราะทำให้เราครอบครองโลก พัฒนาและ เปลี่ยนตัวเองและสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องสร้างสภาพที่เหมาะสม ทั้งในสถาบันการศึกษาและที่บ้าน ที่เอื้อต่อการเรียนรู้แบบตัวต่อตัวเพื่อให้เด็กเลียนแบบอย่างเป็นธรรมชาติ บทที่ 5 ก่อร่างสร้างหัวใจของหนังสือเล่มนี้ โดยการนำเสนอข้อความต้นฉบับเกี่ยวกับมานุษยวิทยาและการศึกษากี่ยวกับเด็ก ที่นำมาจากช่วงวัยต่างๆ ในชีวิตการทำงานของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ข้อความหรือเนื้อหาสกัดออกมา แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของการศึกษาของวอลดอร์ฟในวัยเด็ก และนำเสนอในบทย่อยโดยแต่ละบทมีบทนำของหัวข้อนั้นๆ ทั้งบทมีสื่อการเรียนเพื่อใช้ในการฝึกอบรมครูและการพัฒนาวิชาชีพ ชุดของเนื้อหาที่รวบรวมมานี้ ได้รวมเอาแง่มุมต่างๆของวัยเด็กตามที่รูดอล์ฟ สไตเนอร์นำเสนอในงานของเขา ในขณะที่แง่มุมเหล่านี้ได้ถูกนำไปใช้จริงในการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติและถูกนำไปอ้างอิงถึงในข้อเขียนต่างๆที่เกี่ยวข้อง แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการจัดทำเป็นเอกสารการเรียนรู้ที่แยกออกมาต่างหาก บทที่ 6 ให้แนวคิดสำหรับการศึกษาและฝึกปฏิบัติ ของการศึกษาวอลดอร์ฟ บางส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาจากหนังสือและส่วนอื่นๆ กับการลงมือปฏิบัติจริง นอกเหนือจากพื้นฐานทางทฤษฎีแล้ว มานุษยวิทยาของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ยังรวมถึงแนวทางในการนำทฤษฎีนี้ไปปฏิบัติด้วย อย่างไรก็ตาม แทนที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการทำงาน สไตเนอร์ได้เสนอแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจเพื่อเป็นหนทางเฉพาะตนในการศึกษาของเด็ก บทที่ 7 David Martin และ Silke Schwarz มองอนาคตของวัยเด็กในศตวรรษที่ 21 จากการวิจัยและประสบการณ์ของตนเองในฐานะผู้ประกอบโรคศิลป์ทางการแพทย์ พวกเขาเรียกร้องความสนใจต่อปรากฏการณ์สมัยใหม่หลายอย่างที่อาจขัดขวางหรือส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีสุขภาวะดี แนวทางของพวกเขาในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กและสุขภาพเด็กในยุคดิจิทัลและการเร่งความเร็วนั้นมีรากฐานมาจากข้อมูลเชิงลึกของมานุษยวิทยาที่ได้รับการแนะนำในบทที่แล้วและถูก่าวกลไว้ในข้อความต้นฉบับ ด้วยเหตุผลด้านพื้นที่ บรรณานุกรมจึงจำกัดเฉพาะแหล่งข้อมูลที่ใช้และอ้างถึงในหนังสือเล่มนี้ ไม่ใช่รายการงานเขียนทั้งหมดที่มีในหัวข้อการศึกษาวอลดอร์ฟ งานของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ หากไม่ใช่ฉบับพิเศษ จะมีการอ้างถึงด้วยหมายเลข GA (หมายเลขที่กำหนดในแคตตาล็อกผลงานที่รวบรวมเป็นภาษาเยอรมัน) และอ้างอิงในข้อความว่า "Steiner GA" ตามด้วยหมายเลขที่เกี่ยวข้อง Preview Book (ตัวอย่างหนังสือ)Additional Information รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือFormat: paperback ปกอ่อน Size: 228 x 152 mm Publisher: WECAN (Waldorf Early Childhood Association of North America) Extent: 234 pages ISBN: 9781936849536 Publication date: 06 Aug 2020 Purchase Order สั่งซื้อหนังสือFacebook Inbox: https://m.me/mamata.family
Line OA: https://lin.ee/Ab6x3Az Shopee: https://shp.ee/v9k69tj (เก็บโค้ดส่งฟรี หรือ Coin Cash Back) Tel. 081-415-6364 (แม่ตา)
0 Comments
Leave a Reply. |
MaMa Ta
|