“ของขวัญชิ้นนี้เหมาะกับลูกเราหรือเปล่า?”
“ลูกเราอายุเท่านี้ให้ทำกิจกรรมแบบไหนถึงจะเหมาะกับเขา?” เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านสงสัย ยิ่งช่วงเวลาเทศกาล ที่ต่างกำลังตระเตรียมของขวัญ หรือพาคุณลูกไปทำกิจกรรม แต่ไม่ว่าจะเป็นของขวัญ หรือ กิจกรรมที่เราตั้งใจมอบให้ เราควรเข้าใจในธรรมชาติการเรียนรู้และพัฒนาการของเขา มาดูกันครับว่าแต่ละช่วงวัยของเด็กๆ เขามีธรรมชาติการเรียนรู้และพัฒนาการ เป็นอย่างไรกันบ้าง อายุ 3-5ปี เป็นช่วงที่ “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ของเล่นที่ให้เขาควรเป็นของเล่นปลายเปิดง่ายๆ มีการใช้งานที่หลากหลาย กระตุ้นและเปิดให้เด็กๆได้ใช้จินตนาการ สร้างสรรค์ความสนุกด้วยตัวเองอย่างเช่น ตุ๊กตาสัตว์ที่ทำจากไม้หรือใยขนแกะ ยิ่งถ้าทำด้วยฝีมือของคุณพ่อคุณแม่ด้วยแล้วยิ่งดี อายุ 5-7ปี เป็นของเล่นที่เปิดให้เด็กๆสร้างสรรค์การใช้งานด้วยตนเอง อย่าง Rocking board, สีเทียนขี้ผึ้งทั้งแบบแท่งและแบบก้อน บ้านตุ๊กตาไม้ (Wooden dollhouse) ของเล่นที่ส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหว ของกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ ที่ประสานสัมพันธ์กับร่างกายและการจดจ่อ เช่น ลูกดิ่ง (Yo Yo), จักรยาน, การกระโดดเชือก, เครื่องดนตรีประเภทเคาะให้จังหวะ อายุ 7-8ปี ช่วงวัยนี้เด็กๆจดจ่อในขั้นตอน กระบวนการ และผลลัพธ์มากยิ่งขึ้น เริ่มรู้จักกฎ กติกา เกมส์ที่เล่นคนเดียวหรือเล่นร่วมกับผู้อื่น จึงเป็นของขวัญที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ เกมส์ที่ให้เด็กๆค้นหาตัวเลขและคำศัพท์ง่ายๆ เกมส์ตัวต่อ การ์ดเกมส์, การเล่นเชือก (Finger string) กิจกรรมปลูกพืชผัก, ปีนเชือกปีนบันได ทำขนมและอาหารง่ายๆ อายุ 9-10ปี เกมส์ที่เล่นร่วมกับผู้อื่น สามารถให้เด็กสร้างสรรค์ได้มากขึ้น ท้าทายความสามารถของเด็กๆ เกมส์ที่จะพาเด็กๆไปสำรวจโลกของตัวเลขและภาษา นอกจากนี้เด็กๆจะสังเกตสิ่งรอบตัวมากยิ่งขึ้น ตระหนักรู้ในเรื่องเวลา ตัวอย่างของเล่นเช่น กี่ทอผ้าสำหรับเด็ก, หมากรุก, การพับกระดาษ การสานตระกร้า, การทอผ้า, ชุดเครื่องมือช่าง, ฮูลาฮูป สมุดวาดรูปและสีไม้ อายุ 11-12ปี ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมเคลื่อนไหว เด็กๆสนใจการออกไปสำรวจโลกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดิน การเกษตร พืชพรรณ ของเล่นและกิจกรรมที่เหมาะกับเด็กๆเช่น สมุดจดบันทึกประจำวัน, จักรยานล้อเดียว, อุปกรณ์ตกปลา, แท่งถ่านชาโคล(Charcoal) และกระดาษวาดเขียน อุปกรณ์เย็บผ้า, กิจกรรมเดินป่า ปีนเขา, กิจกรรมทำอาหาร กิจกรรมศิลปะ อายุ 13ปีขึ้นไป เด็กๆค่อนข้างสนใจสิ่งรอบตัว และเริ่มสำรวจท้องฟ้า ดวงดาว ตัวอย่างของของขวัญหรือกิจกรรม เช่น โต๊ะปิงปอง, กล้องดูดาว, กล้องถ่ายรูป กล้องจุลทรรน์, อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ชุดอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ สิ่งสำคัญเราต้องไม่ลืมว่า ของเล่นอยู่ในตัวเด็กๆแล้ว ของขวัญหรือกิจกรรมที่เราเลือกให้ เป็นเพียงตัวกระตุ้นส่งเสริม
3 Comments
|
MaMa Ta
|