MAMATA_nurturing nature in your child
  • Home
  • Course
    • Waldorf-Inspired Parent & Child Playgroup
  • Store
  • About
    • MaMaTa Family Playgroup
    • MaMaTa Family Workshop
    • MaMaTa Family Trip
    • MaMaTa Family Store
    • MaMaTa Family Bookstore
    • MaMaTa Family Space
  • Contact
    • Map
  • Sharing / Articles
  • Photo Gallery
  • Publicity
  • ของเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กๆใน
  • Children Songs
  • Stockmar Modelling Beeswax
  • Children Drawing
  • Blog

การให้ลูกๆมีส่วนร่วมในงานบ้าน – การพัฒนาพลังเจตจำนงค์ ( Involving Children in Household Chores , Developing Will )

29/11/2021

0 Comments

 
             อะไรเอ่ย? ตอนลูกเป็นเด็กเล็กอยากทำ พ่อแม่ไม่ยอมให้ทำ พอโตขึ้น ลูกไม่อยากทำ แต่พ่อแม่กลับอยากให้ทำ พอลูกไม่ทำก็บ่นว่า หนักเข้ารำคาญเสียงตัวเอง ก็ลงมือทำแทนลูกเสียหมด (หรือไม่ก็ยกให้แม่บ้านทำ) พอโตเป็นวัยรุ่น จะเป็นเช่นไร คงไม่ต้องเดาให้ปวดร้าวหัวใจ

            ใช่แล้วค่ะ แม่ตากำลังพูดถึง "งานบ้าน" ของขมของหลายบ้าน เวลาพ่อแม่มาปรึกษาแม่ตาเกี่ยวกับความท้าทายของลูกวัยผลัดฟันน้ำนม สู่วัยฟันแท้ แม่ตามักจะมีคำถามห้อยท้ายว่า "งานบ้านหรืองานประจำของลูก คืออะไร?"
90% ตอบว่าไม่มี ที่บอกมี บางคนพอถามลึกลงไปพบว่าเป็นงานดูแลตัวเอง กินข้าวเสร็จ ล้างจานตัวเองเป็นต้น แม่ตาจะบอกว่า งานดูแลรับผิดชอบข้าวของตัวเองคือสิ่งที่เขาต้องทำได้ภายในราว 6 ขวบ แต่งานบ้านคืองานที่รับผิดชอบส่วนรวมที่อยู่ร่วมกัน และ ที่สำคัญต้องทำทุกวัน พ่อแม่อย่างเราช่วยได้คือ ช่วยจัดงานที่เหมาะสมกับวัย ช่วยจัดเวลาเคลียร์เรื่องอื่นออกไป ให้ลูกได้ทำงานประจำของเขาได้สำเร็จทุกวัน
               
      ตอนนี้ที่บ้านสำราญ แม่ตากับครอบครัวเพลย์กรุ๊ปกลุ่มหนึ่งที่ตั้งใจจัดการศึกษาให้ลูก เป็นครอบครัวบ้านเรียน หรือ โฮมสคูล กำลังช่วยกันบุกเบิก Hybrid Homeschool เด็กๆในวัย 6-7 ขวบมาทำกิจกรรมร่วมกัน สัปดาห์ละ 2 วัน เราตั้งชื่อกลุ่มเล็กๆของเราว่า #บ้านเรียนสำราญ เรากำลังเตรียมตัวพาเด็กๆของพวกเราขึ้นชั้นประถม 1 นอกจากเตรียมเด็กๆแล้ว พ่อแม่ก็เตรียมพร้อมเช่นกัน เรื่องงานบ้าน เป็นเรื่องที่แม่ตายกขึ้นมาเป็นเรื่องต้นๆ นำบทความภาษาอังกฤษ และ หนังสือ มาแปล เพื่อทำ Study Group ด้วยกัน
​
               แม่ตาได้แปลบทความเรื่อง Involving Children in Household Chores , Developing Will เขียนโดย Barbara Klocek คุณแม่และครูและนักศิลปะบำบัดชาวอเมริกัน และแบ่งปันให้คุณพ่อคุณแม่ในกลุ่ม บ้านเรียนสำราญ  ได้ศึกษากัน คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับพ่อแม่ท่านอื่นๆ จึงนำมาแบ่งปัน 



(บทแปลภาษาไทย โดย แม่ตา วรณัน โทณะวณิก จากบทความเรื่อง Involving Children in Household Chores , Developing Will เขียนโดย Barbara Klocek  ตีพิมพ์ในวารสาร Renewal, A Journal for Waldorf Education, Vol 11 #2, Fall/Winter 2002)
​
​          พ่อแม่มือใหม่ทั้งหลาย  ต่างได้รับความท้าทายให้ค้นหาความอดทนและความตั้งใจในการทำงานประจำวันที่กินเวลา ทั้งป้อนอาหารและดูแลเอาใจใส่ทารกน้อยที่เพิ่งเกิดใหม่  แม้ว่านี่เป็นโอกาสสำหรับการเปลี่ยนผ่านของดวงจิต ในขณะที่พ่อแม่เรียนรู้ที่จะให้โดยอิสระ ทั้งเวลาและพลังงานของพวกเขาเอง ที่สุดแล้วนั่นคือความรักที่พ่อแม่มอบให้แก่ลูกของตน ซึ่งนำมาทั้งความหมายและความเบิกบานต่องานทั้งหลายเหล่านี้ที่ต้องทำซ้ำๆและไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด
 
        อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เด็กๆเติบโตและมีความสามารถมากขึ้นที่จะดูแลตัวเองและสิ่งแวดล้อมของพวกเขาได้แล้ว  งานทั้งหลายที่พ่อแม่ยังคงทำอยู่ต่อเนื่อง ก็สามารถนำไปสู่ความคับข้องใจของพ่อแม่เองได้ สิ่งนี้เกิดขึ้นจริง หากพ่อแม่ทั้งหลายกำลังดูราวกับว่าจะต้องเป็นคนที่ทำงานทั้งหมด และลูกๆก็กำลังจะถูกทำให้เสียนิสัย มันเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กๆและสำหรับพ่อแม่ ซึ่งต่างก็โตมากพอที่จะทำงานร่วมกันในการดูแลเอาใจใส่บ้าน
Picture
     
              เมื่อลูกชายทั้งสามคนของฉันซึ่งมีอายุ 4 , 6 และ 8 ขวบ  ตอนนั้นฉันได้ออกเดินทางครั้งแรกซึ่งเป็นระยะทางไกลจากครอบครัวของฉัน ประสบการณ์ของการอยู่ห่างจากบ้านก็ทำให้ฉันตระหนักว่าฉันกำลังบริหารคันทรี่คลับ  สำหรับลูกๆของฉันโดยการพยายามที่จะทำงานบ้านทุกอย่างด้วยตัวของฉันเอง ฉันสัมผัสได้ว่ามีความขุ่นเคืองที่มันมากขึ้นๆเรื่อยๆในตัวฉันและมันจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลง
               
                 หนึ่งในงานหลักสำหรับเด็กผู้ชายที่คล่องแคล่วว่องไวและเต็มไปด้วยจินตนาการทั้งสามคนก็คือ การพยายามที่จะทำให้บ้านเรียบร้อย  ฉันต้องการให้พวกพวกเขาสนุกสนานกับการเล่น แต่ฉันก็ต้องการให้พวกเขามีส่วนร่วมในการทำความสะอาดสิ่งต่างๆด้วย อย่างไรก็ตามลูกๆได้ต่อต้านคำร้องขอของฉัน ที่จะให้เก็บข้าวของเหล่านั้น และถ้าฉันยืนยัน เริ่มที่จะจู้จี้ ในไม่ช้าอารมณ์ของทุกคนก็จะแปรปรวน การข่มขู่การตักเตือน บอกถึงผลกระทบที่จะตามมา ก็ดูเหมือนว่าจะให้ผลเพียงเล็กน้อยฉันต้องคิดหาหนทางสำหรับพวกเราที่จะต้องทำงานร่วมกันอย่างสมานสามัคคีและทำให้งานสำเร็จ
 
              ฉันมาค้นพบว่าบรรดาลูกชายทั้งหลายของฉันจำเป็นที่จะต้องมีจังหวะในงานบ้านของพวกเขา หลังจากมีบางความคิดเกิดขึ้น ฉันก็ตระหนักว่าถ้าเราทำความสะอาดอย่างดีที่สุดทีเดียวหลังจากมื้ออาหารเย็น ก่อนที่เด็กทั้งหลายจะเข้านอน บ้านก็จะยังคงเรียบร้อยและสะอาดสะอ้านไปอีกอย่างน้อย 12 ชั่วโมง สิ่งนี้ก็เป็นความก้าวหน้าอย่างมากแม้ว่าเราจะใช้เวลาช่วงนั้นไปกับการนอนหลับเป็นส่วนใหญ่ก็ตามที การตื่นขึ้นมาเพื่อที่จะทำความสะอาดห้องนั่งเล่นตามที่ได้สัญญากันไว้มันก็ได้รับพิสูจน์แล้วว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่วิเศษเหลือเกิน
 
             การทำงานบ้านหลังจากมื้ออาหารเย็น เป็นไปได้ด้วยดีเพราะว่าพวกเราจะสามารถทำงานร่วมกันได้ทุกคน มันยิ่งตีมากขึ้นอีกเมื่อสามีของฉันและฉันสามารถที่จะมีส่วนร่วมด้วยความกระตือรือร้น เด็กๆสามารถรับรู้สภาวะภายในของพ่อแม่ได้ง่าย เมื่อฉันสามารถที่จะนำความเบิกบานผ่านน้ำเสียงและท่าทีของฉัน ลูกๆของพวกเราก็จะได้รับบรรยากาศเชิงบวกและก็ทำงานร่วมกันเป็นทีม
 
            การทำงานบ้านหลังจากมื้ออาหารเย็นก็มีสิ่งอื่นๆที่ตามมาด้วย ถ้าเราทำงานบ้านไม่เสร็จตรงเวลา อาหารว่างก่อนนอนก็จะไม่มี ถ้างานบ้านไม่เสร็จจนถึงเวลานอนแล้ว นิทานก่อนนอนก็จะถูกงดไปสำหรับคืนนั้นไปด้วยเช่นกัน การมีสิ่งที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็มีส่วนช่วยผลักดันความรับผิดชอบของลูกๆ  มากกว่าจะเป็นความรับผิดชอบของพ่อแม่ ฉันพบว่าด้วยการปฏิบัติเช่นนี้ฉันสามารถอยู่ในความสงบและตั้งเป้าหมายหรือจุดประสงค์ในการสังเกตของฉัน “โอ้ ลูกรัก มันเกือบจะถึงเวลาอาหารว่างแล้วนะ แม่หวังว่าลูกจะเสร็จมันทันเวลา” วิธีนี้ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ ที่จะอนุญาตให้พวกเขาได้รับรู้ถึงผลที่จะตามมา การเจรจาต่อรองกับเด็กมีแนวโน้มที่จะย้อนกลับมาหาพ่อแม่ พวกเขามักตั้งใจและพากเพียรมากกว่าเราเสียอีก


      ในไม่ช้ากิจกรรมหลังอาหารเย็นก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจังหวะช่วงเย็นแล้วก็มีการต่อต้านเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้น ความท้าทายทายอย่างหนึ่งสำหรับสามีของฉันและฉันก็คือการที่จะเรียกพลังงานหลังจากอาหารเย็น  เพื่อที่จะนำการทำงานด้วยความกระตือรือร้น แต่มันก็เป็นการฝึกฝนที่วิเศษ พวกเราค้นพบด้วยตัวพวกเราเองว่า ตลอดเส้นทางชีวิตที่ผ่านมา เราจำต้องทำหลายสิ่งที่ไม่ได้อยากทำมันจริงๆ มันเป็นของขวัญสำหรับพวกเราและลูกๆของเราที่จะเรียนรู้ก้าวที่เบิกบาน ที่สามารถเอาชนะการต่อต้านภายใน และพบความมั่นคงภายในในอีกด้านหนึ่งและความพึงพอใจของงานที่ทำจนสำเร็จ เมื่อเวลาผ่านไปการฝึกปฏิบัตินี้ก็ได้สร้างความพากเพียร และความมั่นใจให้เกิดขึ้น
 
       การสร้างจังหวะในกิจกรรมเป็นเรื่องเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ได้เคยกล่าวไว้ว่าจังหวะแบบแผน สามารถสร้างความแข็งแรงและพลังเจตจำนงค์ หากเราทำสิ่งเดิมๆในเวลาเดิมของแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์  ในไม่ช้ามันก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ประทับอยู่ภายในชีวิตของเรา เราไม่จำเป็นจะต้องเรียกพลังงานให้มากเกินไป เพื่อจำเป็นที่จะเริ่มมันในแต่ละครั้ง  ในการทำงานบ้านจังหวะก็เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและมีมนต์วิเศษ ถ้าคนสามารถสร้างรูปแบบที่สม่ำเสมอและเฉพาะเจาะจงสำหรับการทำงานบ้าน ความการต่อต้านของเด็กๆ และการจู้จี้ของพ่อแม่ก็จะหายไป
 
      เมื่อเด็กๆเติบโตขึ้นเราก็จะมีงานบ้านช่วงเช้าเย็นและวันเสาร์ หลังจากมีการทดลองมากมายเราก็สร้างรูปแบบขึ้นมาในแต่ละเช้าลูกคนหนึ่งก็จะล้างจาน อีกคนก็จะให้อาหารสัตว์ และอีกคนก็จะนำผ้าไปตาก หลังจากมื้ออาหารเย็น ลูกคนนึงก็ล้างจาน อีกคนก็จัดเก็บโต๊ะและกวาดครัว อีกคนก็ดูดฝุ่น ในวันเสาร์ตอนเช้าฉันก็ทำรายการงานบ้านที่ต้องทำ และทุกๆคนก็ทำงานในระหว่าง 30 ถึง 45 นาที งานบ้านเหล่านี้ก็รวมถึงการทำความสะอาดห้องน้ำ เช็ดกระจก ตัดหญ้าและช่วยทำความสะอาดโรงรถและอื่นๆมากมาย
เมื่อบรรดาลูกชายของฉันก้าวไปสู่วัยรุ่นพวกเขาก็เริ่มทำอาหารสัปดาห์ละมื้อ  ในช่วงแรกๆพวกเขาก็ไม่ได้ใส่ความรักและความตั้งใจลงไปในการทำอาหารหรอก อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า พวกเขาก็ก็กลายเป็นพ่อครัวชั้นดีและหนึ่งในพวกเขาก็ทำพายไก่ให้พวกเราทานด้วย
    
Picture
​               บ้านไหนที่มีลูก 2 คนหรือมากกว่านั้น มันเป็นการดีที่จะมีการหมุนเวียนงานบ้านเพื่อที่จะลดความรู้สึกไม่ยุติธรรม งานบ้านและงานที่ได้รับมอบหมายก็สามารถที่จะนำมาพูดคุยในวงประชุมของครอบครัว ด้วยการฟังเสียงลูกๆแต่ละคน และเสียงของพ่อแม่ก็ถูกได้ยินเช่นกัน เด็กที่เล็กกว่าแน่นอนว่าก็จะได้รับงานที่ง่ายเพื่อที่เขาสามารถจัดการได้ หรือไม่ก็เขาก็สามารถทำงานที่ซับซ้อนร่วมกับพ่อแม่หรือพี่น้องที่แก่กว่าได้ อย่างเช่นการทำความสะอาดห้องของเขาเอง

               มันเป็นเรื่องสำคัญที่ลูกคนเดียวก็ควรที่จะต้องได้ทำงานบ้านด้วยเช่นกัน ฉันเห็นว่าลูกคนเดียวแม้จะอยู่ในวัยอนุบาลหรือเล็กกว่านั้น ยินดีที่จะมีส่วนร่วม  เรื่องนี้จะทวีความสำคัญมากขึ้นเมื่อเด็กๆโตขึ้น ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างถูกทำให้เสร็จสำหรับลูกคนเดียว ในไม่ช้าเด็กคนนั้นก็จะเข้าใจว่าเธอเป็นเจ้าหญิงหรือเจ้าชายของโลก  เมื่อก้าวออกไปสู่โลกภายนอก เจ้าหญิงหรือเจ้าชายก็จะคาดหวังการได้รับการดูแลราวกับราชาจากคนอื่น บทเรียนที่ยากลำบาก จะเกิดขึ้นเมื่อต้องออกไปเรียนรู้ดับเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนร่วมห้อง และกับคู่ครองซึ่งไม่ได้เป็นราชวงศ์ แต่เป็นเพียงคนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น

                การสร้างรูปแบบของการทำงานบ้านสร้างประโยชน์มากมายกับครอบครัว ความรู้สึกขุ่นข้องหมองใจของฉันก็หายไป ลูกชายของฉันทั้งหลายก็เรียนรู้ทักษะใหม่ๆมากมาย พวกเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเบิกบานของการทำงานที่มีความหมาย รวมถึงความพึงพอใจซึ่งมาจากการทำงานร่วมกัน ลูกชายของฉันปัจจุบันอยู่ในช่วงวัย20++ ต่างเป็นที่รับรู้จากคนทั่วไปถึงนิสัยการทำงานที่เข้มแข็ง และความสามารถที่จะทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้ 
Picture

​               ​จะมีคำถามที่เลี่ยงไม่ได้ตามมา นั่นคือ ลูกๆควรได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานไหม ฉันมั่นใจว่าการจ่ายเงินให้กับลูกๆเป็นการลดคุณค่าของประสบการณ์ของความเบิกบานและของการทำงานให้สำเร็จของพวกเขา มันจะริดรอนเอาความรู้สึกของการเป็นชุมชนคนที่อยู่ร่วมกันที่สามารถพัฒนาในครอบครัว เมื่อทุกๆคนต่างช่วยเหลือและทำงานอย่างอิสระเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทุกคน ในครอบครัวหนึ่งซึ่งมีการจ่ายเงินให้กับการทำงานบ้าน ลูกๆก็จะพัฒนาทัศนคติว่า ถ้าพวกเขาไม่ต้องการเงิน พวกเขาก็ไม่จำเป็นต้องทำงาน เพราะฉะนั้นพวกเขาก็ไม่ได้เรียนรู้ถึงความเบิกบานที่มาจากตัวกิจกรรมการงาน และมาจากการทำงานร่วมกัน

         ฉันคิดว่ามันง่ายกว่าที่จะแยกงานบ้านออกจากหน้าที่ได้รับค่าตอบแทน ในวันเสาร์ลูกๆของฉันได้รับรางวัลเป็นไอศครีมเมื่อพวกเขาทำงานบ้านเสร็จ เมื่อพวกเขาโตขึ้นและต้องการทำงานเพื่อหาเงิน บางครั้งฉันก็หางานที่ใหญ่กว่าอย่างเช่นการระบายสี ซึ่งฉันก็จะจ่ายค่าแรงให้เขาพวกเขา
 
        ยังมีประเด็นอื่นๆที่สำคัญและท้าทาย ในครอบครัว นั่นคือเรื่องของการให้เบี้ยเลี้ยงกับลูก พ่อแม่จะต้องรับมือกับคำถามมากมายได้แก่
  • รอถึงอายุเมื่อไหร่ลูกๆจึงจะควรได้รับเงินของตนเอง
  • พวกเขาควรได้รับเงินเท่าไหร่
  • ลูกๆต้องซื้อของใช้จำเป็นด้วยเงินของเขาเองไหม ?  ค่าของขวัญล่ะ?
  • หนทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะจัดการเงินของตัวเองคืออะไร
 
       เมื่อบรรดาลูกชายของฉันยังเป็นเด็กเล็กอยู่นั้น ฉันรู้สึกว่าพวกเขาไม่ต้องการความท้าทายในการนับเงิน ออมเงิน และใช้เงิน แต่เมื่อเริ่มต้นชั้นประถมปีที่ 1 พวกเขาได้รับเงินเบี้ยเลี้ยงครั้งแรกในแต่ละวันฉันให้ลูกชายของฉัน 10 เซนต์ และทุกๆปีที่ทุกๆอายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปีจนกระทั่งเขาอายุ 10 ขวบฉันไม่เคยให้เบี้ยเลี้ยงเขามากกว่า 1 ดอลลาร์ ต่อสัปดาห์

​
        ฉันไม่ได้หวังว่าลูกๆของฉันจะซื้อของขวัญด้วยเงินเหล่านี้มันเป็นเงินของพวกเขาที่จะใช้กับตัวของพวกเขาเอง ฉันตัดสินใจว่าพวกเขาควรจะใช้เงินของพวกเขาเมื่อพวกเขาไปที่ร้านขายของชำ มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจเมื่อได้สังเกตว่าแต่ละคนว่าจะมีทีท่าอย่างไร  หนึ่งในลูกชายของฉันได้ไปที่ร้านและจ้องมอง จากนั้นก็เก็บเงินของเขาจนกระทั่งมีเงินมากพอเพื่อที่จะซื้อของที่เขาต้องการ ส่วนลูกชายอีกคนของฉันก็ใช้เงินทั้งหมดของเขาในทันทีที่เขาได้รับมัน พวกเขาเรียนรู้มากจากกันและกันฉันก็วางข้อจำกัดกับสิ่งของที่เขาสามารถซื้อได้ และนี่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับฉันแต่มันก็เป็นข้อปฏิบัติที่ดีในการกำหนดขอบเขตในขณะที่ลูกๆโตขึ้น
Picture
 
​               หากลูกต้องการเงินพิเศษฉันก็จะกระตุ้นให้พวกเขาไปเลี้ยงเด็กหรือทำงานอื่นๆให้เพื่อนบ้านเป้าหมายของฉันก็คือพวกเขาจะไม่มองว่าพ่อแม่ของเขาจะเป็นคนที่คอยจัดหาสิ่งของที่เกินความจำเป็น แต่พ่อแม่จะเป็นคนที่คอยสนับสนุนให้ทำงานหาเงินตามที่พวกเขาต้องการ สิ่งเหล่านี้จะให้ผลเมื่อพวกเขาเติบโตเป็นวัยรุ่น ตั้งแต่พวกเขาเริ่มที่จะมองหางานตั้งแต่อายุน้อยๆ การได้รับความเครียดระหว่างสิ่งที่พวกเขาต้องการกับสิ่งที่พวกเขาสามารถซื้อหาได้ ก็เป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับพวกเขา ฉันรู้สึกขอบคุณที่ฉันไม่ได้ทำอะไรครึ่งๆกลางๆในเรื่องนี้ มันเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมมากสำหรับพวกเขาที่จะได้ทำงานให้กับผู้คนหลากหลาย  ผ่านการงานที่แตกต่างกันไป งานภาคฤดูร้อนของลูกชายของฉันคนหนึ่งก็คือการช่วยนักจัดสวน เขามาบอกฉันภายหลังว่าเขาตัดสินใจถ้าเขาไม่ตายซะก่อนระหว่างสัปดาห์แรกเขาจะเลิกทำงานนี้    ในตอนสิ้นสุดสัปดาห์แรกเขากลับสนุกสนานกับการทำงานและนิ้วก็เริ่มด้านขึ้น  ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่เขาภาคภูมิใจมาก ตลอดช่วงวัยรุ่นของพวกเขาลูกๆของฉันได้ทำงานมากมายหลายอย่าง จากการทำงานที่ ตั้งแต่การทำงานในร้านกาแฟ Starbucks ไปจนถึงงานเล็มต้นไม้ เขาเรียนรู้จากทุกประสบการณ์และเข้าไปใกล้มากขึ้น ผ่านประสบการณ์เพื่อที่จะหาสิ่งที่พวกเขาต้องการทำสำหรับชีวิตการทำงานจริงๆของพวกเขา
 
              ฉันพบหนทางหนึ่งในหลายๆหนทางที่ดีที่สุด เพื่อที่จะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะจัดการเงิน นั่นก็คือการให้เบี้ยเลี้ยงเกี่ยวกับเสื้อผ้าในระดับมัธยมปลาย ซึ่งเป็นช่วงวัยที่พวกเขาไม่ได้โตไวมาก และพวกเขาก็อยู่ในช่วงวัยที่ใส่ใจให้ความสำคัญเกี่ยวกับเสื้อผ้าที่สวมใส่ ฉันคอยบันทึกว่าฉันใช้จ่ายไปเท่าไหร่ในช่วง 6 เดือน  ต่อมาในเดือนสิงหาคมฉันก็ให้ลูกๆแต่ละคนในจำนวนที่ฉันจ่ายเงินให้พวกเขาในช่วงเวลา 3 เดือน เมื่อถึงช่วงเริ่มต้นของทุกๆเทศกาล ฉันจะจ่าย เบี้ยเลี้ยงค่าเสื้อผ้าให้ลูกๆ เด็กชายทั้งหลายก็ได้เรียนรู้ที่จะซื้อถุงเท้าที่ถูกมากๆ พอพอกับการใช้เงินทั้งหมดสำหรับเสื้อแจ็คเก็ตที่ถูกใจ  พวกเขาเรียนรู้ซื้อของจากแรงกระตุ้นภายใน และเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า และครั้งแล้วครั้งเล่า พวกเขาเรียนรู้ที่จะวางแผนล่วงหน้า ฉันต้องประหลาดใจว่าแต่ละคนเขาเลือกหนทางที่แตกต่างกันที่จะใช้เงินของพวกเขาอย่างไร และหลังจาก 4 ปีพวกเขาทั้งหมดก็มั่นใจเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องใช้จริงๆและจะหาของเหล่านั้นได้จากที่ไหน

            สำหรับค่าใช้จ่ายในระดับมหาวิทยาลัย ฉันก็ใช้ระบบเดิม ดูราวกับว่าควรจะมีความยุติธรรมเกี่ยวกับจำนวนของเงินที่แต่ละคนได้รับ ฉันชัดเจนเรื่องจำนวนเงิน ถ้าลูกชายคนนึงเลือกที่จะมีไลฟ์สไตล์ราคาแพง ซึ่งทำให้เงินขาดมือ ก็จำเป็นที่จะต้องทำงานเพื่อที่จะชดเชยส่วนต่าง ผลที่ตามมาคือพวกเขาก็จะต้องทำงานที่หลากหลายขึ้นในขณะที่อยู่ในรร. และบ่อยครั้งที่สิ่งเหล่านี้นำไปสู่โอกาสอื่นๆ  บรรดาลูกชายของฉันต่างก็รู้สึกสบายสบายเมื่อจะต้องออกไปสมัครงานและผ่านกระบวนการสัมภาษณ์งาน

        
Picture
​ การทำให้เกิดความยุติธรรมภายในครอบครัวเกี่ยวกับงานบ้านและเงิน นั้นคือประสบการณ์การเรียนรู้ที่เสมอต้นเสมอปลาย มันเป็นโอกาสสำหรับพ่อแม่ที่จะสอนให้พวกเขารู้เกี่ยวกับคุณค่า ที่พ่อแม่ยึดถือให้แก่ลูกๆของพวกเขา การจัดการประชุมครอบครัวอย่างเป็นจังหวะประจำสม่ำเสมอ ก็จะช่วยสร้างพื้นที่ ที่สามารถนำประเด็นทั้งหลายออกมาพูดคุย เพื่อสร้างความไว้วางใจและความยุติธรรมให้เกิดขึ้น มันเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะสร้างวงแห่งการพูดคุย ซึ่งพ่อแม่และลูกแต่ละคน มีโอกาสได้ใช้ในการแสดงเสียงของตัวเอง ในขณะที่พ่อแม่ก็ยังคงรักษาบทบาทของความเป็นผู้ใหญ่ไว้ได้  ในเวลานี้ก็สามารถใช้เป็นเวลาในการเล่นเกมด้วยกัน กินขนมด้วยกัน และวางแผน การเดินทางท่องเที่ยวของครอบครัวได้ด้วย  

​    ความท้าทายของการเป็นพ่อแม่นำมาซึ่งเติบโตและรางวัลที่มากมายรวมถึงบางอย่างในความสัมพันธ์ที่รุ่มรวยในชีวิตของคน 
 ต้นฉบับภาษาอังกฤษ เขียนโดย Barbara Klocek  ตีพิมพ์ในวารสาร Renewal, A Journal for Waldorf Education, Vol 11 #2, Fall/Winter 2002)
 
About the Author : Barbara Klocek เป็นทั้งศิลปิน ครูอนุบาล และ นักศิลปะบำบัดใน Fair Oak, California  เธอได้รับปริญญาโทรสาขาวิจิตรศิลป์จาก Temple University และได้ศึกษามนุษยปรัชญาและ การศึกษาวอลดอร์ฟ ที่ Rudolf Steiner College เธอออกเดินทางบ่อยครั้งและจัดเวิร์คช้อปร่วมกับสามีของเธอ Dennis Klocek  ลูกชายทั้ง 3 คนของเธอต่างจบจาก Sacramento Waldorf School ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เธอสอนด้วย)

#ครอบครัวบ้านเรียน #โฮมสคูล ที่บ้านอยู่ไม่ไกลจาก บ้านสำราญ แจ้งวัฒนะ 14  ​และสนใจแนวทางการศึกษา #วอลดอร์ฟ ต้องการชุมชนที่เอื้อเฟื้อแบ่งปัน ช่วยกันบ่มเพาะดูแลเด็กๆให้เติบโตอย่างมั่นคงไปพร้อมกับการเตรียมตัวพ่อแม่ให้เป็นเสาหลักอันมั่นคงให้ลูก ติดต่อสอบถาม ทำความรู้จักกันได้นะคะ

Inbox : https://m.me/mamata.family
Line OA : https://lin.ee/Ab6x3Az
โทร : 0814156364
0 Comments

Book Preview : Understanding Child Development

1/11/2021

0 Comments

 
Picture
Picture
​            Understanding Child Development ความเข้าใจพัฒนาการของเด็ก เป็นการรวบรวมชุดการเรียนการสอน การศึกษาทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ จากประสบการณ์หลายปี ของทีมผู้เขียนผู้จัดทำหนังสือในฐานะครูนักการศึกษาวอลดอร์ฟระดับอนุบาล ระดับประถม และหัวหน้าทีมของผู้สอนในคอร์สการอบรมสัมมนาครูวอลดอร์ฟ และด้วยการสนับสนุนงานวิจัยจากสมาคมอนุบาลวอลดอร์ฟในประเทศเยอรมัน และ มูลนิธิ Helmut von Kügelgen จึงทำให้หนังสือเล่มนี้สามารถออกเผยแพร่แก่นักอ่านได้ 
               ทีมผู้เขียนผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ได้แก่
           Dr.Wolfgang-M.Auer  ครูผู้มีประสบการณ์ในโรงเรียนสไตเนอร์วอลดอร์ฟกว่า 30 ปี ปัจจุบันเดินทางบรรยายให้แก่ครู ผู้ปกครอง ผู้สนใจทั่วโลก โดยเน้นไปยังมานุษยวิทยา การศึกษา และ พัฒนาการของประสาทสัมผัส 
              Dr.Angelika Wiehl ผู้ร่วมก่อตั้ง  Wolfsburg Waldorf School ในประเทศเยอรมัน และ เป็นครูหลายปี ปัจจุบันเป็นอาจารย์ผู้บรรยายเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์การศึกษา และ การศึกษาวอลดอร์ฟที่ The Institue of Waldorf Education, Inckusion and Interculturality , Alanus University , Manheim, Germany 

               ต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้ เป็นภาษาเยอรมัน และได้การการแปลเป็นภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกโดย  Margot M.Saar ครูผู้สอนที่โรงเรียนวอลดอร์ฟในประเทศอังกฤษ มากว่า 20 ปี เธอได้แปลหนังสือหลายเล่ม และปัจจุบันได้ทำงานเป็นนักแปลและล่ามในการประชุมสัมมนาต่างๆอย่างเต็มตัว 
              


          หัวใจของหนังศึกษาเล่มนี้ ประกอบไปด้วยสาระสำคัญหรือข้อความต้นฉบับที่นำมาจากงานเขียนและปาฐกถาของรูดอล์ฟ สไตเนอร์  โดยส่วนมากของสิ่งที่สไตเนอร์ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการศึกษาวอลดอร์ฟได้ถูกบันทึกไว้ระหว่างการปาฐกถา  ดังนั้นแม้จะไม่เอื้อต่อการวิพากษ์ ตีความตามตัวอักษร แต่ก็เหมาะแก่การนำมาเปรียบเทียบและลงลึกในความหมาย  แม้หนังสือเล่มนี้จะมุ่งเน้นเป็นหลักเกี่ยวกับวัยเด็ก แต่ก็ได้รวมเอาส่วนที่เป็นสาระสำคัญจากข้อความต้นฉบับที่สะท้อนแก่นความความคิดต่อบางหัวโดยเฉพาะ และ เอื้ออำนวยให้เกิดการศึกษาต่อไปในหัวข้อเฉพาะเกี่ยวกับการศึกษาวอลดอร์ฟ นั่นคือวิถีทางที่ได้ถูกทดลองและนำไปใช้ในการศึกษาของครู  อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันลึกซึ้งยิ่งขึ้นในบริบทที่สไตเนอร์ได้นำเสนอความคิดของเขาไว้เกี่ยวกับมานุษยวิทยาและการศึกษา  จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้อ่านจะได้ไปศึกษาจากเนื้อหาฉบับเต็ม  ข้อความต้นฉบับที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้จะถูกนำเสนอเป็นหัวเรื่องเฉพาะ ตามด้วยคำแนะนำสั้นๆ  โดยมีข้อเขียนเกี่ยวกับมานุษยวิทยาและการศึกษาของเด็ก ซึ่งจะนำทางผู้อ่านไปยังผลงานวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ และ ความคิดเกี่ยวกับการศึกษาวอลดอร์ฟ 

Content สารบัญ 

Picture
Picture
Picture
Picture

Introduction  คำนำ โดย Wolfgang-M.Auer ,Angelika Wiehl 

(แปลโดย แม่ตา วรณัน โทณะวณิก)


​

 ไม่เคยมีความพยายามมากมายเท่านี้มาก่อนและมีสถาบันมากมายที่มุ่งปกป้องวัยเด็กเหมือนในตอนต้นของศตวรรษที่ ๒๑   ถึงกระนั้น เด็กจำนวนมากในทุกวันนี้ต้องเผชิญกับสภาพความเป็นอยู่ที่อันตรายและขาดสุขภาวะที่ดี  ขาดเวลา ความยากจน สงคราม การอพยพ การบริโภคสื่อ - มีเหตุผลมากมายว่าทำไมเด็ก ๆ จึงไม่เติบโตอย่างมีสุขภาวะที่ดีกว่าที่เป็นอยู่นี้  ในขณะที่วิถีชีวิตสมัยใหม่ สภาพสังคมและครอบครัว ความตระหนักรู้ของสาธารณชน และโรงเรียนต่างทำในสิ่งที่ทำได้เพื่อส่งเสริมวัยเด็กที่มีสุขภาวะดีและเบิกบาน เด็กๆ ยังคงบอบช้ำจากการถูกละเลยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน  ภาพที่ปรากฏไปทั่วโลกในปี 2015 เป็นภาพของร่างไร้ชีวิตของหนูน้อย Aylan Kurdi วัย 3 ขวบ ซึ่งจมน้ำตายในทะเลระหว่างซีเรียและกรีซ เป็นภาพที่น่าตกใจอย่างยิ่ง  แต่เด็กๆ ทุกวันนี้ไม่เพียงแค่ตกอยู่ในอันตรายจากสงครามและการพลัดถิ่นเท่านั้น  ในโลกตะวันตก เรามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ของสื่อดิจิทัล ระบบการศึกษาที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นตัวนำ และความพยายามหรือการปกป้องเกินจริงของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งหมดนี้เองทำให้เด็กๆถูกเหลือขอบเขตพื้นทเพียงเล็กน้อยสำหรับการพัฒนาปัจเจกภาพส่วนบุคคล (Individuality) ซึ่งนั่นนับเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากโดย ทั่วไปแล้วเด็กจะพัฒนาตามช่วงอายุ (Phase) เริ่มตั้งแต่วัยทารกจนถึงกลางวัยเด็ก จากนั้นเข้าสู่วัยรุ่นและต่อมาเป็นผู้ใหญ่ การเรียนรู้สิงต่างๆด้วยตัวเองในฐานะปัจเจกบุคคลตามความสนใจใคร่รู้ของตน หรือ "กำลังภายใน (inner forces)" ตามที่วิลเฮล์ม ฟอน ฮุมโบลดต์* ได้แนะนำไว้ (ฮัมโบลดต์ 1792/2015)  )  เพื่อที่จะพัฒนาตนเองด้วยความมีศักดิ์ศรี เด็กๆจึงต้องพึ่งพาความรักและการปกป้องของผู้ใหญ่เสมอ จนกระทั่งในวัยรุ่นเท่านั้นที่พวกเขาจะค่อยๆมีความสามารถในการรับผิดชอบในการกำหนดชีวิตของพวกเขาเอง  
(*Wilhelm von Humboldt, (1767-1835) นักภาษาศาสตร์ชาวเยอรมัน นักปรัชญา และนักปฏิรูปการศึกษา ) 

    หากครอบครัวไม่สามารถจัดหาการศึกษาที่บ่มเพาะดูแล และ บ้านให้ลูกได้อีกต่อไป ญาติพี่น้อง เพื่อน หรือสถาบันการศึกษาจะต้องรับหน้าที่นี้และเข้ามารับผิดชอบ การสนับสนุนและการคุ้มครองเด็กแบบชุมชนพื้นเมืองหรือในชนบทที่ดูแลเล็ก "โดยใช้สัญชาตญาณ" ต้องถูกนำมาใช้ด้วยหนทางใหม่ในสังคมตะวันตกสมัยใหม่  เราจำเป็นต้องค้นหา(อีกครั้ง)ถึงความเข้าใจในสิ่งที่ทำให้เราเป็นมนุษย์  (We need to (re-)find an understanding of what makes us human) เพื่อให้แน่ใจว่า เด็กๆ จะไม่ถูกมองอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็น พรหรือภาระ (blessing or burden)  คนที่มาทดแทนใคร (substitute partners) หรือแม้กระทั่งวัตถุอันทรงเกียรติ (prestigious objects) แต่ในฐานะบุคคลที่ได้รับเคารพนับถืออย่างเต็มที่โดยมีจุดมุ่งหมายในชีวิตและของตนเอง รวมถึงสิทธิของตนเองด้วย (as fully respected individuals with their owns aims in life and their own right)   อย่างไรก็ตาม ในสังคมยังมีจำนวน ผู้ใหญ่ นักการศึกษา ครู แพทย์ หรือ สถาบันต่างๆ ไม่มากนักที่คอยปกป้องคุ้มครองเด็ก และจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น  สังคมโดยรวมทั้งหมด จำเป็นต้องร่วมคิดใหม่เกี่ยวกับวัยเด็กและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก  จากวัยแรกรุ่น กล่าวคือ นับตั้งแต่ช่วงเวลาที่คนหนุ่มสาวสามารถมีลูกได้ พวกเขาต้องเข้าใจว่าตนเองต้องมีความรับผิดชอบต่อมนุษยชาติด้วยเช่นกัน และ รู้ว่าคุณสมบัติต่างๆที่จะทำให้เราเป็นมนุษย์นั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลบ่มเพาะด้วยเช่นกัน   วัยรุ่นและคนหนุ่มสาวต้องเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจนี้ในวันนี้ ไม่ว่าพวกเขาจะเริ่มต้นครอบครัวและมีลูกของตัวเองหรือไม่ หรือ จะมีเมื่อไหร่ก็ตาม  สภาพความเป็นอยู่ในโลกตะวันตกมีทุกสิ่งที่จำเป็น : พ่อแม่สามารถเตรียมตัวก่อนมีลูกได้ และพวกเขาจะได้รับการสนับสนุนทางการแพทย์ สังคม และการศึกษาในการเลี้ยงดูลูก  สิ่งที่จำเป็นในการส่งเสริมการพัฒนาเด็กมีอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับเราแต่ละคนที่จะตัดสินใจว่าจะใช้สิ่งนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร  เราแต่ละคนล้วนมีความรับผิดชอบที่จะให้ความสนใจต่อวัยเด็กและใส่ใจในป้จเจกภาพของเด็กแต่ละคน  

          การศึกษาวอลดอร์ฟ  ของ Rudolf Steiner สามารถให้แนวทางที่มีคุณค่าสำหรับทัศนคติทางการศึกษา ซึ่งรับสัญญาณแรกจากชะตาชีวิตของเด็กแต่ละคน นับเป็นทัศนคติที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาโดยพ่อแม่และบุคคลากรวิชาชีพในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถาน รับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน และสถาบันการศึกษาอื่นๆ    
นับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา หนังสือเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาในโรงเรียนจำนวนมากได้รับการตีพิมพ์ โดยเน้นที่แง่มุมที่หลากหลายและสร้างแนวความคิดเฉพาะที่ได้มาจากแนวคิดทางมานุษยวิทยาและการศึกษาของ Steiner ในบรรดาผู้เขียนหนังสือเหล่านี้ Karl Königและ Bernhard Lievegoed สมควรได้รับการกล่าวถึงเป็นพิเศษสำหรับการอธิบายหลักมนุษยปรัชญาของการพัฒนาเด็กในด้านการศึกษาพิเศษและการแพทย์ หนังสือของพวกเขายังคงได้รับการตีพิมพ์ใหม่และกลายเป็นสื่อการเรียนรู้พื้นฐานในการฝึกอบรมครู Waldorf (König/Soldner 2017; Lievegoed 2016) พวกเขาสำรวจและพัฒนาความคิดทางมนุษยปรัชญาและการสอนของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ซึ่งช่วยให้เข้าถึงเชิงปฏิบัติของแหล่งการศึกษาของวอลดอร์ฟได้ 

      ในปี ค.ศ. 1971 ชุดข้อความต้นฉบับชุดแรกเกี่ยวกับมานุษยวิทยาของการศึกษาวอลดอร์ฟ แก้ไขโดย Elisabeth Grunelius และ Helmut von Kügelgen ได้รับตีพิมพ์เป็นเอกสารประกอบการศึกษาโดย German Waldorf Kindergarten As-sociation (Das Wesen des kleinen Kindes) และโดย International Association of Waldorf Kindergarten  (การเข้าใจเด็กเล็ก) บทสรุปนี้ยังคงเอกลักษณ์ในแง่ที่ว่า มันได้รวบรวมเอาถ้อยแถลงมากมายของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ที่กล่าวเกี่ยวกับวัยเด็ก โดยเฉพาะในช่วง 7 ปีแรกของชีวิต ซึ่งโดยทั่วไปมักจะกระจัดกระจายอยู่ตามปาฐกถาและงานเขียนต่างๆและทำให้เป็นไปได้ที่จะศึกษาเรื่องราวเฉพาะด้านในบริบท   อย่างไรก็ตาม หนังสือนี้ไม่ได้ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในภาษาเยอรมัน และไม่ได้ถูกนำไปเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษอีกต่อไป  เนื่องจากขาดการแนะนำและคำอธิบายของแนวคิดและเนื้อหา ที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับมนุษยปรัชญา ซึ่งคนต่างคาดหวังที่จะได้เห็นในบรรดาตำราเรียนดังกล่าวในปัจจุบัน  ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาสมัยใหม่ในด้านจิตวิทยาพัฒนาการเผยให้เห็นว่าช่วงต่างๆของวัยเด็กและเยาวชนนั้นไม่สามารถแบ่งออกได้เป็นช่วงเจ็ดปีอย่างเข้มงวดตามที่งานเขียนเกี่ยวกับการศึกษาของวอลดอร์ฟมักจะบอกเป็นนัย มีข้อบ่งชี้ --เช่น ในการศึกษาระยะยาวที่ดำเนินการโดย Remo Largo (2017)—ว่าช่วงพัฒนามีความเฉพาะตัวมากขึ้นเรื่อยๆ และการแบ่งช่วงชีวิต ช่วงละ 7 ปีนั้น ควรถูกมองเป็นอุดมคติ  ในขณะที่ Rudolf Steiner ได้อธิบายพัฒนาการของมนุษย์ว่าเป็นการเผยออกมาระหว่างช่วงเจ็ดปี เขายังได้กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่าน เช่น Rubicon เป็นต้น ซึ่งเด็กๆ มักจะมีประสบการณ์ในช่วงขวบปีที่ 9 หรือ 10  เมื่อพวกเขามีสติสัมปชัญญะมากขึ้นในการสัมพันธ์กับโลก (Föller-Mancini/Berger 2016) ครูวอลดอร์ฟ มองว่าช่วงเวลาสำคัญนี้เป็นตัวแทนของการสิ้นสุดของช่วงแรกของวัยเด็ก อันจะตามมาด้วยช่วงกลางของวัยเด็กและวัยแรกรุ่นตอนต้น ข้อความต้นฉบับจากงานของ Steiner ที่รวมไว้ที่นี่ (บทที่ 5) ได้รับการคัดเลือกโดยเฉพาะสำหรับความเกี่ยวข้องกับอายุถึงปีที่ 9 หรือ 1o ปี ประกอบกับเนื้อหาอื่นๆในหนังสือเล่มนี้ เพราะฉะนั้นจึงสัมพันธ์กับการศึกษาก่อนวัยเรียน (preschool) และการศึกษาปฐมวัย (early childhood) 

      หนังสือ  Understanding Child Development  (การทำความเข้าใจพัฒนาการเด็ก) เล่มนี้ ได้รับการตีพิมพ์เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนพื้นฐานดังกล่าวเพื่อนำไปใช้ –นอกเหนือจากตำราดั้งเดิมของสไตเนอร์  ที่เกี่ยวกับ หลักมานุษยวิทยาและการศึกษา(วอลดอร์ฟ)-- ในการจัดสัมมนาการสอนและหลักสูตรการศึกษา ชุดที่คัดสรรของหัวข้อมานุษยวิทยาและการศึกษาที่นำเสนอมีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับวาทกรรมเกี่ยวกับการศึกษาเด็กในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นหัวข้อที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก ซึ่งอธิบายไว้ในกรอบของความเรียงที่มีข้อความต้นฉบับเหล่านี้ฝังอยู่ในนั้น ข้อความต้นฉบับเหล่านี้มีพื้นฐานมาจากมานุษยวิทยาของสไตเนอร์ (มุมมองของเขาที่มีต่อมนุษย์และการพัฒนาการมนุษย์) และจำเป็นต้องถูกมองเห็นในบริบทร่วมสมัยของพวกเขาด้วย

     บทที่ 2 ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ "มานุษยวิทยาในวัยเด็กจากมุมมองของการศึกษาวอลดอร์ฟ" ในการเตรียมตัวสำหรับการศึกษาข้อความต้นฉบับ (บทที่ 5) มีการนำเสนอหัวข้อหลักสามประการที่จำเป็นสำหรับความเข้าใจการศึกษาวอลดอร์ฟ ได้แก่ 
•    แนวคิดหรือความรู้ของ "I (ตัวฉัน)" 
•    แนวคิดเรื่องการกลับชาติมาเกิด 
•    ทฤษฎีของสไตเนอร์เรื่อง องค์ประกอบสี่ส่วนของมนุษย์  

    หมวดที่ว่าด้วยองค์ประกอบร่างกายของเด็ก จะมองเห็นเด็กว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ทั้งทางกาย จิต และจิตวิญญาณ และรวมถึงประสบการณ์จากการฝึกสอนด้วย 

        บทที่ 3 Wolfgang-M. Auer ให้เค้าโครงเรื่อง "การพัฒนาและการให้ศึกษาประสาทสัมผัส" บนพื้นฐานของแนวคิดของ Steiner เกี่ยวกับประสาทสัมผัสทั้ง 12  ซึ่งได้ศึกษาจากมุมมองต่างๆในอดีต แต่ได้มีการค้นคว้าใหม่โดย Auer (Auer 2007)  การมองดูประสาทสัมผัสทั้งสิบสองในแง่มุมของมานุษยวิทยาไม่เพียงทำให้เห็นความเป็นไปได้ต่างๆในแง่มุมการวินิจฉัยเท่านั้น แต่ยังสร้างแรงบันดาลใจมากมายสำหรับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาในโรงเรียนด้วย  การเรียนรู้และการเอาใจดูแลประสาทสัมผัสทั้งหลายนี้ อันเป็นสิ่งที่นักการศึกษาและครูต้องการการฝึกอบรมพิเศษ ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานทั้งหมดที่เด็กนจำเป็นต้องพัฒนา

       บทที่ 4 Angelika Wiehl นำเสนอภาพรวมของมานุษยวิทยาและการศึกษาการเลียนแบบของเด็ก  Rudolf Steiner มองว่าการเลียนแบบเป็นนิสัยการเรียนรู้ที่โดดเด่นในช่วงเจ็ดปีแรกของวัยเด็ก  โดยรวมทั้งการค้นพบความรู้ในสาขาต่างๆ เช่น สุนทรียศาสตร์ สังคมวิทยา และชีววิทยา สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการเลียนแบบเป็นวิชาที่มีความสำคัญไม่เพียงแต่ในวัยเด็กแต่ตลอดชีวิตเพราะทำให้เราครอบครองโลก พัฒนาและ  เปลี่ยนตัวเองและสร้างสรรค์  ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องสร้างสภาพที่เหมาะสม ทั้งในสถาบันการศึกษาและที่บ้าน ที่เอื้อต่อการเรียนรู้แบบตัวต่อตัวเพื่อให้เด็กเลียนแบบอย่างเป็นธรรมชาติ  

       บทที่ 5 ก่อร่างสร้างหัวใจของหนังสือเล่มนี้    โดยการนำเสนอข้อความต้นฉบับเกี่ยวกับมานุษยวิทยาและการศึกษากี่ยวกับเด็ก ที่นำมาจากช่วงวัยต่างๆ ในชีวิตการทำงานของรูดอล์ฟ สไตเนอร์  ข้อความหรือเนื้อหาสกัดออกมา แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของการศึกษาของวอลดอร์ฟในวัยเด็ก และนำเสนอในบทย่อยโดยแต่ละบทมีบทนำของหัวข้อนั้นๆ ทั้งบทมีสื่อการเรียนเพื่อใช้ในการฝึกอบรมครูและการพัฒนาวิชาชีพ  ชุดของเนื้อหาที่รวบรวมมานี้ ได้รวมเอาแง่มุมต่างๆของวัยเด็กตามที่รูดอล์ฟ สไตเนอร์นำเสนอในงานของเขา  ในขณะที่แง่มุมเหล่านี้ได้ถูกนำไปใช้จริงในการเรียนการสอนเชิงปฏิบัติและถูกนำไปอ้างอิงถึงในข้อเขียนต่างๆที่เกี่ยวข้อง แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการจัดทำเป็นเอกสารการเรียนรู้ที่แยกออกมาต่างหาก 

       บทที่ 6 ให้แนวคิดสำหรับการศึกษาและฝึกปฏิบัติ ของการศึกษาวอลดอร์ฟ บางส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาจากหนังสือและส่วนอื่นๆ กับการลงมือปฏิบัติจริง  นอกเหนือจากพื้นฐานทางทฤษฎีแล้ว มานุษยวิทยาของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ยังรวมถึงแนวทางในการนำทฤษฎีนี้ไปปฏิบัติด้วย  อย่างไรก็ตาม แทนที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการทำงาน สไตเนอร์ได้เสนอแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจเพื่อเป็นหนทางเฉพาะตนในการศึกษาของเด็ก   

    บทที่ 7 David Martin และ Silke Schwarz มองอนาคตของวัยเด็กในศตวรรษที่ 21  จากการวิจัยและประสบการณ์ของตนเองในฐานะผู้ประกอบโรคศิลป์ทางการแพทย์   พวกเขาเรียกร้องความสนใจต่อปรากฏการณ์สมัยใหม่หลายอย่างที่อาจขัดขวางหรือส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีสุขภาวะดี  แนวทางของพวกเขาในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กและสุขภาพเด็กในยุคดิจิทัลและการเร่งความเร็วนั้นมีรากฐานมาจากข้อมูลเชิงลึกของมานุษยวิทยาที่ได้รับการแนะนำในบทที่แล้วและถูก่าวกลไว้ในข้อความต้นฉบับ

      ด้วยเหตุผลด้านพื้นที่ บรรณานุกรมจึงจำกัดเฉพาะแหล่งข้อมูลที่ใช้และอ้างถึงในหนังสือเล่มนี้ ไม่ใช่รายการงานเขียนทั้งหมดที่มีในหัวข้อการศึกษาวอลดอร์ฟ งานของรูดอล์ฟ สไตเนอร์ หากไม่ใช่ฉบับพิเศษ จะมีการอ้างถึงด้วยหมายเลข GA (หมายเลขที่กำหนดในแคตตาล็อกผลงานที่รวบรวมเป็นภาษาเยอรมัน) และอ้างอิงในข้อความว่า "Steiner GA" ตามด้วยหมายเลขที่เกี่ยวข้อง 

Preview Book (ตัวอย่างหนังสือ) 

Additional Information  รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือ 

Format: paperback ปกอ่อน
Size: 228 x 152 mm
Publisher: WECAN (Waldorf Early Childhood Association of North America)
​Extent: 234 pages
ISBN: 9781936849536
Publication date: 06 Aug 2020

Purchase Order   สั่งซื้อหนังสือ 

Facebook Inbox: https://m.me/mamata.family
Line OA:  https://lin.ee/Ab6x3Az 
Shopee:  https://shp.ee/v9k69tj   (เก็บโค้ดส่งฟรี หรือ Coin Cash Back)
Tel. 081-415-6364 (แม่ตา)
0 Comments
    Picture

    MaMa Ta
    วรณัน โทณะวณิก (แม่ตา)

    Founder of MaMaTa Baansamran 

    Archives

    November 2021
    June 2021
    October 2020
    August 2020
    December 2017
    November 2014

    Categories

    All

    RSS Feed

@2014 MaMaTa Co.,Ltd. , All Rights Reserved , Bangkok, Thailand
  • Home
  • Course
    • Waldorf-Inspired Parent & Child Playgroup
  • Store
  • About
    • MaMaTa Family Playgroup
    • MaMaTa Family Workshop
    • MaMaTa Family Trip
    • MaMaTa Family Store
    • MaMaTa Family Bookstore
    • MaMaTa Family Space
  • Contact
    • Map
  • Sharing / Articles
  • Photo Gallery
  • Publicity
  • ของเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กๆใน
  • Children Songs
  • Stockmar Modelling Beeswax
  • Children Drawing
  • Blog